+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

น้ำ การเมืองกับประชาชน


การเมืองการน้ำกับประชาชน ในสัปดาห์ผ่านมา 14 พฤศจิกายน 2555 น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ และเป็นแขกรับเชิญของสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธพระราชินีแห่งอังกฤษ ในฐานะนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประชาชนไทย นับว่าเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย

การเมืองการบริหารจัดการน้ำ รายงานข่าวแจ้งว่าในระหว่างนั้น นายกรัฐมนตรีได้ไปเยี่ยมชมแนวป้องกันน้ำท่วมแม่น้ำเทมส์ เพื่อดูแผนการบริหารจัดการน้ำ และแนวป้องกันน้ำท่วมของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมชนิดเคลื่อนที่ได้ขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ด้วยเงินลงทุนกว่า25,000ล้านบาท และความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ที่ร่วมกันเสนอแนะและความคิดเห็น เมื่อ30ปีก่อน โดยสามารถป้องกันกรุงลอนดอนจากน้ำท่วมอันมีสาเหตุจากน้ำทะเลหนุนสูงและยาม เกิดพายุนอกชายฝั่งทะเล ซึ่งจะสามารถนำแผนป้องกันน้ำท่วมและเทคโนโลยี่ที่ครบวงจรเช่นของอังกฤษมาปรับใช้กับประเทศไทย เนื่องจากมหานครลอนดอนมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมืองสภาพภูมิประเทศคล้ายๆกับกรุงเทพมหานคร

การน้ำไม่ใช่การเมืองผู้เขียนมีข้อเสนอแนะให้ประชาชนและทุกภาคส่วนร่วมมือกับรัฐบาล ในการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร แม้กรุงเทพมหาครและปริมณฑล จะมีแผนป้องกันน้ำท่วมด้านตะวันออกและตะวันดกและดำเนินการไปแล้ว หลังน้ำท่วมครั้งใหญ่ปี2526ตามแนวทางพระราชดำริฯร.9ใช้งบประมาณนับพันล้านบาท ปีที่แล้วน้ำท่วมหนักในประเทศไทยรวมทั้งกรุงเทพมหานคร แต่ปีนี้น้ำไม่ท่วมกรุงเทพมหานครแต่มีประชาชนประสบภาวะน้ำท่วมในบางจังหวัดบางภาคของไทย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและบรรเทาทุกข์ของประชาชน มิใช่เป็นการแข่งขันทางการเมือง ซึ่งในขณะนี้สภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศเปลี่ยนไปจะต้องเริ่มวางแผนใหม่ และดำเนินการป้องกันน้ำท่วม และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างบูรณาการในประเทศไทย

รัฐบาลมีหน้าที่ป้องกันและบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือประชาชนตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และประชาชนควรมีความรู้แนวคิดอย่างเป็นระบบเพื่อบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนในการเตรียมการป้องแก้ไขปัญหาน้ำท่วมก่อนเข้าฤดูฝน ในทุกๆปี สรุปโดยสังเขปได้ ดังนี้

1.สำรวจพื้นที่จุดอ่อน ที่เป็นที่ลุ่มต่ำ ทางน้ำไหลผ่าน แม่น้ำ ลำคลอง แหล่งรับน้ำธรรมชาติและอื่นๆ ตื้นเขินหรือไม่ แนวป้องกันน้ำท่วม ประตูระบายน้ำ ฝายน้ำล้น ชำรุดหรือไม่ และบำรุงรักษาซ่อมแซมให้สภาพดี

2.ตรวจสอบระดับและระบายน้ำในเขื่อนต่างๆและติดดามสภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยเพื่อเตรียมการรับสถานการณ์และแจ้งแก่ประชาชนตลอดจนเตรียมการป้องกันและบรรเทาทุกข์สงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชน

3.แบ่งพื้นที่ปิดล้อม สร้างและซ่อมเขื่อน แนวป้องกันน้ำท่วม และประตูระบายน้ำ ฝายน้ำล้น พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องดันน้ำขนาดใหญ่ ให้พร้อมในการปฏิบัติงานในภาวะน้ำท่วม

4.เปิดทางน้ำไหล ขุดลอกคลองลัด คลองเชื่อม คลองแยก คลองซอย คูน้ำ และท่อระบายน้ำ ตลอดจนกำจัดวัชชพืชและสิ่งต่างๆที่กีดขวางทางน้ำไหลเพื่อให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำออกทะเล

5.พึ่งพาตนเอง จัดเตรียมยกระดับพื้น คันกันน้ำ กระสอบ ทราย อุปกรณ์อื่นๆ เครื่องสูบน้ำ เสบียงอาหาร การเคลื่อนย้ายอพยพ และอื่นๆไว้ให้พร้อม เตรียมรับสภาวะน้ำท่วมอย่างไม่ตื่นตระหนกใดๆ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อและรัฐบาล

ทั้ง5ประการ นี้ ข้อ1-4เป็นการบูรณาการภารกิจของหน่วยงานราชการ ข้อ5เป็นเรื่องของประชาชนซึ่งควรดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝนของทุกปี แม้น้ำให้พลังแห่งชีวิตแก่สรรพสัตว์ในโลก แต่มีพลังแห่งการทำลายล้างอย่างมหาศาล











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น