โครงสร้างการเมืองประเทศไทย มีรัฐธรรมนูญ คือแผนแบบโครงสร้างการเมืองการปกครองประเทศ มาแล้ว 19 ฉบับ และรัฐประหารโดยเฉลี่ยทุก 6 ปี ในขณะนี้กำลังอยู่ในสถานการณ์ปฏิรูปการเมืองภายหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการยกร่างรัฐรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในการปกครองประเทศ
รูปแบบการเมือง ที่อำนาจอธิปไตยของประชาชนที่เป็นรูปธรรม คือการไปเลือกตั้งตามหลักการสิทธิเสรีภาพเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตย ส่วนรูปแบบอำนาจเบ็ดเสร็จที่เป็นรูปธรรม คือการรัฐประหารโดยกองทัพควบคุมอำนาจอธิปไตยของประชาชน กล่าวโดยสรุป
1.รัฐธรรมนูญ 2540 ฉบับประชาชน มีที่มาและเนื้อหาเป็นประชาธิปไตย แต่มีจุดอ่อนคือไปจำกัดพื้นที่การเมืองกลุ่มชนชั้นนำซึ่งกุมอำนาจที่แท้จริงในด้านการเมืองการบริหาร ของประเทศ
2.รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับเผด็จการ มีที่มาและเนื้อหาให้องค์กรอิสระเป็นร่างทรงของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แต่มีจุดอ่อนคือไปจำกัดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
แนวคิดทางการเมือง ทฤษฎีหลักการประชาธิปไตยที่เป็นสากลในเชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อธิบายได้ตามคำกล่าวของอับราฮัม ลินคอล์น ว่า"ประชาธิปไตยได้แก่รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ซึ่งสังคมไทย ควรมีเป้าหมายให้ประชาชนมีสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพในการเมืองระบอบประชาธิปไตย โดยสรุป ดังนี้
1.สิทธิควบคู่กับหน้าที่ มีสิทธิต้องรู้จักหน้าที่ต่อสาธารณะ
2.เสรีภาพควบคู่กับเสมอภาค มีเสรีภาพต้องมีความเสมอภาคยุติธรรมเท่าเทียมกันคามกฏหมาย
3.ภราดรภาพ มีความเป็นพี่น้องกัน ไม่แบ่งแยกชนชั้น ปรองดองสมานฉันท์ในชาติ ยึดถือกฏกติกาตามหลักการประชาธิปไตย
ทั้ง 3 ข้อ 5 อย่าง สอดคล้องกับวิถีปัจเจกชนของคนไทย สังคมไทยจะขาดประการหนึ่งประการใดไม่ได้ ต้องมีควบคู่กันไป เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองในประเทศ
ปฏิรูปการเมือง ร่างรัฐธรรนนูญฉบับปฏิรูป"อย่าให้เสียของ" ควรยึดถือตามหลักการเมืองระบอบประชาธิปไตยในประเทศทีเป็นสากล การออกแบบโครงสร้างการเมืองการปกครองประเทศ จึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับเพื่อสร้างธรรมาภิบาลทางการเมือง การบริหาร และการยุติธรรม และเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติประเทศ
การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือการออกแบบโครงสร้างการเมืองการปกครองประเทศไทย เป็นกรอบพื้นฐานการปฏิรูปประเทศ ในการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น