การเมืองประเทศไทย ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ควรเป็นตัวแบบแห่งยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งประชาธิปไตยเป็นโลกาภิวัตน์ เป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะเป็นการเชื่อมโยงจิตวิญญาณแห่งโลกเก่ากับโลกใหม่ เป็นการบูรณาการกรอบแนวคิดตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517 กับ 2540 การแผนแบบนี้ ถ้าออกมาดีก็ทำให้เดินหน้าประเทศ หากไม่ดีเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตประเทศ
บูรณาการแนวคิดทางการเมือง ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะตามกรอบแนวคิด จากการบูรณาการปัจจัยทฤษฏีด้านรัฐศาสตร์ กับปัจจัยพื้นฐานของสังคมไทย โดยสรุปดังนี้
1.รัฐสภา รูปแบบ 2 สภา คือ
1.รัฐสภา รูปแบบ 2 สภา คือ
1.1 วุฒิสภา มาจากการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ให้เป็นอำนาจแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์
1.2 สภาผู้แทนราษฏร แบ่งเป็นแบบแบ่งเขตกับปาร์ตี้ลิสต์ มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน
2.นายกรัฐมนตรี ควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
1.2 สภาผู้แทนราษฏร แบ่งเป็นแบบแบ่งเขตกับปาร์ตี้ลิสต์ มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน
2.นายกรัฐมนตรี ควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
3.การมีสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองของประชาชน บนหลักการสิทธิ เสรีภาพ และ เสมอภาคตามหลักการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
4.การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการควรตั้งอยู่บนหลักการทฤษฏีแบ่งแยกอำนาจและสร้างธรรมาภิบาลการเมือง การบริหารและการยุติธรรมตามหลักการในระบอบประชาธิปไตย
5.ยุบเลิกองค์กรอิสระ ที่ผ่านมาพฤิตกรรมมีปัญหาเกี่ยวกับปัญหาความชอบธรรม ตามหลักนิติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมาย โดยที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าข้าราชการทั่วไป ทั้งๆที่มิได้สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจใด แต่จากข้อเท๊จจริงกลับมีส่วนสนับสนุนให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศ เป็นการปฏิบัติงานที่ไม่คุ้มค่าและสิ้นเปลืองงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชน
การออกแบบโครงสร้างการเมืองประเทศ ควรมุ่งเน้นเสร้างธรรมาภิบาลทางการเมือง การบริหาร และการยุติธรรม ตลอดจนเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ซึ่งสังคมไทยจำเป็นต้องแบ่งพื้นที่การเมืองให้แก่กลุ่มการเมืองตามปัจจัยพื้นฐานในสังคม ได้แก่ กลุ่มกองทัพ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนักการเมือง และประชาชน โดยจัดสรรให้เกิดความสมดุลแห่งอำนาจทางการเมือง อันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศ บนหลักการสิทธิเสรีภาพเสมอภาคตามหลักพื้นฐานสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ตามหลักการเมืองระบอบประชาธิปไตย
การปฏิรูปประเทศไทยในด้านการเมือง จำเป็นต้องจัดให้ม่ีความสมดุลแห่งอำนาจในทางการเมือง ให้แก่กลุ่มการเมืองต่างๆตามปัจจัยพื้นฐานในสังคมไทย ต่างได้มีพื้นที่ยืนในสังคมการเมือง ซึ่งจะก่อให้เกิดบรรยากาศความปรองดองสมานฉันท์ของประชาชนในประเทศ อันจะนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองของประเทศให้แก่่ชนรุ่นหลังสืืบต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น