+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พันธกรณีว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ความรู้การเมืองประชาธิปไตย



พันธกรณีว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นความรู้ในหลักการประชาธิปไตย ประเทศไทยในฐานะสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ที่ประเทศมหาอำนาจในโลกได้ประชุม และมีข้อตกลงเป็นมติร่วมกันจัดระเบียบโลกใหม่ จัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่2 ให้ทุกประเทศในโลกอยู่ภายใต้กฏกติกาเดียวกันเพื่อให้เกิดสันติภาพทั่วโลก จึ่งต่างมีพันธกรณีทางการเมืองเช่นประเทศสมาชิกอื่นๆในโลก ที่ต้องปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาติ(United Nation) อันถือปฏิบัติเป็นกฏหมาย กฏกติการะหว่างประเทศซึ่งเป็นพลานุภาพของความรู้สำหรับประชาชนในการเมืองระบอบประชาธิปไตย

พันธกรณีทางการเมืองประชาธิไตย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นพันธกรณีที่ รัฐบาลไทย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไทย จำเป็นต้องปฏิบัติตาม มิอาจปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงได้ ในบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะยกร่างขึ้นมาใหม่แทนฉบับเก่าที่ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 นั้น หลักการและเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ จะต้องสอดคล้องกับ หลักการและเนื้อหาในหลักการประชาธิปไตย ตามบทบัญญัติปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(The Universal Declaration of Human Rights,1948) ที่ประกาศ และเริ่มใช้ ค.ศ.๑๙๔๘ หรือพ.ศ.๒๔๙๑ ราว ๖๖ ปี หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งของศตวรรษ เป็น หลักกฎหมายระหว่างประเทศ ที่มีผลบังคับอย่างกฎหมายในแบบ หรือประเภทที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า " The Customary Rules of International Law" หรือ ประเพณีการปฏิบัติระหว่างประเทศ 

สนธิสัญญาสองฉบับที่เรียกว่า "สนธิสัญญาพี่น้องฝาแฝด" เป็นความรู้เกี่ยวกับหลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพเสมอภาคของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาคมทั่วทั้งโลก โดยดุษฎี  กล่าวคือ 

๑.กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และสิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖ (The International Covenant on Civil and Political Rights,1966) 
๒.กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖ (The International Covenant on Economic Social and Cultural Rights,1966) 

สนธิสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นทั้ง”กฎหมายคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานในด้านที่เป็นพลเมือง ที่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ครอบคลุมไปทั้งหมด ที่เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ (Governed the whole spectum of human - beings)ในโลก" 

กฏกติกาประชาธิปไตยระหว่างประเทศ ประเทศไทยไปประกาศขอเข้าร่วมเป็นรัฐคู่ภาคีกับนานาชาติ และองค์การสหประชาชาติในพ.ศ.๒๕๓๙ หรือค.ศ.๑๙๙๖ และใน พ.ศ.๒๕๔๐หรือในค.ศ.๑๙๙๗ ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทย ต้องให้สัตยาบัน และเมื่อประเทศไทยให้สัตยาบันแล้วเกิดเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศผูกพันกับประเทศไทย มีผลบังคับใช้กับประเทศไทยและสังคมไทยโดยทันที โดยต้องปฏิบัติตามกฏกติกาประชาธิปไตย และสนธิสัญญาทั้งสองฉบับ ดำรงสถานะเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับ ในระบบกฎหมายไทย และดำรงสถานะในทางกฎหมาย อยู่เหนือประเทศไทยและสังคมไทย ไม่อาจลบล้างได้ด้วยการรัฐประหารยึดอำนาจควบคุมการปกครองแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะสนธิสัญญาทั้งสองฉบับ ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสนธิสัญญาในแบบพหุภาคี ที่มิใช่ลงนามเพื่อชาติใดชาติ หนึ่งในสองชาติ แต่เป็นสนธิสัญญา”ที่ใช้ความรู้ในหลักการประชาธิปไตย เป็นประโยชน์ ต่อมวลมนุษยชาติทั้งมวล โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ และสีผิว หรือถิ่นกำเนิดใด "

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นพันธกรณี ที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ สนช.และสปช.ไม่อาจฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงได้ รัฐประหารก็ไม่อาจลบล้างได้ ไม่สามารถกระทำได้ตามอำเภอใจในการกำจัดหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพเสมอภาคในด้านการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย  เพราะเป็น”พันธกรณีที่ประเทศไทยหรือทุกประเทศในโลก ต้องปฏิบัติตามกฏกติกาประชาธิปไตย ตามหลักการปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ 

ประเทศไทยหรือประเทศใดในโลกถ้าไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีทางการเมือง ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ก็อาจก่อประเด็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับ Convention Against Corruption, 2003 แก่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เป็นความผิดในทางอาญาระหว่างประเทศ และเป็น Crimes Against Humanity ด้วยในตัว คืออาชญากรรมชนิดนับอายุความไม่ได้ (ไปดูบทบัญญัติที่ ๒๕ - ๒๗ ของสนธิสัญญาที่ว่ามานี้)อันเป็นหลักการและบทบัญญัติในสนธิสัญญาดังกล่าว ที่ถือปฏิบัติเป็นกฏหมายระหว่างประเทศเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก

การมีตวามรู้ในหลักการประชาธิปไตยบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลเป็นสิทธิของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยคือพลานุภาพในการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น