ความรู้พันธกรณีว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการประชาธิปไตย กรณีเป็นความรู้เรื่องสำคัญเกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตย ที่รัฐบาลประเทศไทยและสังคมไทยต้องถือปฏิบัติเช่นเดียวทุกประเทศในโลก และมีผลบังคับใช้ต่อประชาชนทุกคนบนหลักการสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพในการเมืองระบอบประชาธิปไตย ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ จึงมีคำถามตามมาเกี่ยวกับพฤติกรรมอาชญากรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมนุษยชาติหรือ Crimes Against Humanity ที่กระทำการขัดต่อปทัสถานของสังคมประชาธิปไตย
อาชญากรรมทางการเมือง ที่ขัดหลักการประชาธิปไตยเป็นปฏิปักษ์ต่อมนุษยชาติหรือCrimes Against Humanity คือ การที่ผู้นำหรือคณะผู้บริหารประเทศและผู้เกี่ยวข้องหรือบุคคลใด กระทำการหรือเป็นเหตุให้มีการกระทำการกำจัดปฏิปักษ์หรือศัตรูคู่แข่งทางการเมือง โดยกระทำการสังหารประชาชนหรือฆ่าล้างเผ่าพันธ์ประชาชนที่เป็นปฏิปักษ์หรือเห็นต่างทางการเมือง อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่าร้ายแรง เป็นการก้าวล่วงพรมแดนเดินล้ำเส้น Norms ในสังคมประชาธิปไตย หรือ Democratic Society ของโลก
ความรู้จากนักวิชาการนักประชาธิปไตย ผู้ทรงภูมิปัญญาท่านหนึ่ง อธิบายความว่าการกระทำที่เป็นความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมนุษยชาติ Crimes Against Humanity ได้มีบทบัญญัติเอาไว้แล้ว ดังนี้
1.สนธิสัญญากรุงโรม ปีค.ศ.๑๙๙๘ ที่ก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศขึ้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม ปีค.ศ.๒๐๐๑ หรือในปีพ.ศ.๒๕๔๔ ให้มีอำนาจปฏิบัติการบนโลกใบนี้ ความผิดตามบทบัญญัติที่ ๗ ของสนธิสัญญาฉบับนี้ เป็นความผิดตามสนธิสัญญาฉบับนี้ ซึ่งความผิดนี้ มิได้ใช้เฉพาะกับศาลอาญาระหว่างประเทศเท่านั้น ที่มีสิทธิพิจารณาและพิพากษาโทษ แต่เป็นความผิด ที่ศาลนานาชาติอื่นๆ อาจหยิบขึ้นมา พิจารณาและพิพากษาโทษได้เสมอ เพราะเป็นความผิดตามสนธิสัญญา ที่ใช้ในโลกใบนี้ มีกรณีตัวอย่างคือ
กรณี พันเอกซีออนเนสต์ บาโกโซร่าผู้นำหัวรุนแรงเผ่าฮูตูกองทัพราวันดา เป็นผู้วางแผนบงการให้ชนเผ่าฮูตูหัวรุนแรงฆ่าชนเผ่าทุตซี่ ชนิิดล้างเผ่าพันธุ์ คนตายนับล้านคน ตั้งแต่ ค.ศ.1994และหลังจากพ่ายแพ้ต่อกองทัพ RPF ของพอล คาเมกา เขาก็หนีไปที่ประเทศแทนซาเนียในปี 1997 ถูกจับกุมขึ้น ศาล ICTR ของสหประชาชาติ และได้รับการพิพากษาว่าเป็นความผิดจำคุกตลอดชีวิต เมื่อ 12 ธันวาคม 2008 ต่อมามีการจับกุมผู้บริหารสื่อและวิทยุชาวราวันด้า ๒ - ๓ คน ที่เป็นชนวนยุยงให้เกิดเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในราวันดา ที่หนีไปหลบซ่อนตัว ในประเทศสวีเดน ภายหลังการ "ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในราวันด้า" และถูกทางการสวีเดนนำตัว ขึ้นฟ้องเป็นจำเลยในศาลแห่งชาติสวีเดน ในทางอาญา และศาลชั้นต้นในส่วนอาญาของสวีเดน ได้ลงโทษจำคุก ๔๐ ปีโดยไม่มีการลดหย่อนโทษ แม้แต่วันเดียว ขณะนี้คดียังอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์
กรณี พันเอกซีออนเนสต์ บาโกโซร่าผู้นำหัวรุนแรงเผ่าฮูตูกองทัพราวันดา เป็นผู้วางแผนบงการให้ชนเผ่าฮูตูหัวรุนแรงฆ่าชนเผ่าทุตซี่ ชนิิดล้างเผ่าพันธุ์ คนตายนับล้านคน ตั้งแต่ ค.ศ.1994และหลังจากพ่ายแพ้ต่อกองทัพ RPF ของพอล คาเมกา เขาก็หนีไปที่ประเทศแทนซาเนียในปี 1997 ถูกจับกุมขึ้น ศาล ICTR ของสหประชาชาติ และได้รับการพิพากษาว่าเป็นความผิดจำคุกตลอดชีวิต เมื่อ 12 ธันวาคม 2008 ต่อมามีการจับกุมผู้บริหารสื่อและวิทยุชาวราวันด้า ๒ - ๓ คน ที่เป็นชนวนยุยงให้เกิดเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในราวันดา ที่หนีไปหลบซ่อนตัว ในประเทศสวีเดน ภายหลังการ "ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในราวันด้า" และถูกทางการสวีเดนนำตัว ขึ้นฟ้องเป็นจำเลยในศาลแห่งชาติสวีเดน ในทางอาญา และศาลชั้นต้นในส่วนอาญาของสวีเดน ได้ลงโทษจำคุก ๔๐ ปีโดยไม่มีการลดหย่อนโทษ แม้แต่วันเดียว ขณะนี้คดียังอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์
2.อาชญากรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมนุษยชาติ หรือ Crimes Against Humanity ตามความของบทบัญญัติที่ ๗ ของสนธิสัญญากรุงโรม ปีค.ศ.๑๙๙๘,สนธิสัญญากรุงเจนีวา ปีค.ศ.๑๙๔๙ และสนธิสัญญากรุงเฮก ปีค.ศ.๑๘๙๙ - ๑๙๐๗ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Customary Rules of International Law อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กฏตามสนธิสัญญากรุงเฮก ผสมผสานกับกฏเกณฑ์ของสนธิสัญญากรุงเจนีวาข้างต้น โลกที่เจริญแล้วเรียกว่า "ประเพณีในการทำสงครามทางบก" หรือ "Customary Rules of War on Land" ที่เป็นกฏเหล็ก มีกรณีตัวอย่างคือ
กรณีการจับนายพลเยอรมัน และนายพล, นายพันของญี่ปุ่น ขึ้นแขวนคอมาเป็นร้อยแล้ว หลังสงครามโลกครั้งที่ สอง...และ รายล่าสุดที่โดน ก็คือ มิโลเซวิค แล็คโก มาลดิค โรโดแวน คาราสซิค ซึ่งล้วนมีตำแหน่งในกองทัพเซริบ์ทั้งนั้น ในเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ข่มขืน ข่มขืนและฆ่า ที่เกิดที่ บอสเนีย เฮอร์เซโกวีน่า ในห้วงเวลาปีค.ศ.๑๙๙๒ - ๑๙๙๔ จนองค์การสหประชาชาติ ต้องตั้งศาลพิเศษในทางอาญาขึ้นในบอสเนียฯ เป็นศาลแรก
กรณีการจับนายพลเยอรมัน และนายพล, นายพันของญี่ปุ่น ขึ้นแขวนคอมาเป็นร้อยแล้ว หลังสงครามโลกครั้งที่ สอง...และ รายล่าสุดที่โดน ก็คือ มิโลเซวิค แล็คโก มาลดิค โรโดแวน คาราสซิค ซึ่งล้วนมีตำแหน่งในกองทัพเซริบ์ทั้งนั้น ในเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ข่มขืน ข่มขืนและฆ่า ที่เกิดที่ บอสเนีย เฮอร์เซโกวีน่า ในห้วงเวลาปีค.ศ.๑๙๙๒ - ๑๙๙๔ จนองค์การสหประชาชาติ ต้องตั้งศาลพิเศษในทางอาญาขึ้นในบอสเนียฯ เป็นศาลแรก
การนำเสนอนี้ให้ความรู้ต่อประชาชนตามหลักการประชาธิปไตย ไม่ว่ารัฐบาลประเทศใดในประชาคมโลกรวมทั้งประเทศไทย ที่ก้าวล้ำปทัสถานของสังคมประชาธิปไตยของโลก ที่ละเมิดและกำลังคิดจะละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงของประชาชนในทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย โปรดระวัง! เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ศาลขององค์การสหประชาชาติได้เคยดำเนินคดีกับผู้นำทรราชและผู้เกี่ยวข้อง หรือบุคคลใดที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงของบางประเทศหลายรายมาแล้วในประวัติศาสตร์
ความรู้หลักการประชาธิปไตยและหลักกฏหมายระหว่างประเทศ เป็นความรู้สำคัญที่ประชาชนควรต้องเรียนรู้เข้าใจประยุกต์ใช้ในทางการเมืองประชาธิปไตย เป็นการเสริสร้างพลานุภาพของประชาชน
ความรู้หลักการประชาธิปไตยและหลักกฏหมายระหว่างประเทศ เป็นความรู้สำคัญที่ประชาชนควรต้องเรียนรู้เข้าใจประยุกต์ใช้ในทางการเมืองประชาธิปไตย เป็นการเสริสร้างพลานุภาพของประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น