สภาพการเมืองประเทศไทย ที่ผ่านมามีการรัฐประหารยึดอำนาจบริหารประเทศโดยมีคณะทหารเป็นแกนนำหลัก จากข้อมูลความรู้เชิงประจักษ์ของผู้เขียนเห็นว่า รัฐประหารตั้งแต่ 2475-2551 ยึดอำนาจรัฐบาล มี 14 ครั้ง เฉลี่ย 6 ปีต่อครั้ง ที่นักวิชาการเรียกว่า วงจรอุบาทว์ในการเมืองประเทศไทย
การควบคุมอำนาจทางการเมือง คณะรัฐประหาร โดยกองทัพยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจาการการเลือกตั้เงตามระบอบประชาธิปไตย กล่าวโดยสรุปตามเหตุการณ์ มีดังนี้
การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475โดยคณะราษฏร์ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ได้ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการรัฐประหารยึดอำนาจจากกษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนถ่ายอำนาจมาสู่คณะอำมาตย์ โดยอำนาจอธิปไตยยังไม่ถึงประชาชน
การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475โดยคณะราษฏร์ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ได้ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการรัฐประหารยึดอำนาจจากกษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนถ่ายอำนาจมาสู่คณะอำมาตย์ โดยอำนาจอธิปไตยยังไม่ถึงประชาชน
รัฐประหาร 1 เมษายน 2476 โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรียึดอำนาจตนเอง
รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 โดยคณะราษฏร์ ยึดอำนาจกลับคืนจากรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน2490 โดย คณะทหารมีพลโทผิณ ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้ายึดอำนาจจากพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ แล้วมอบให้ นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 6 เมษายน 2491 โดยคณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 ยึดอำนาจจากนายควง อภัยวงศ์แล้วมอบให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้
รัฐประหาร 16 กันยายน 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะ ยึดอำนาจจากรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้วมอบให้พลเอกถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการสิ้นสุดอำนาจของคณะราษฏร์
รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล
รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา ๓ ปี ต่อมาเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 วิปโยค มีการจัดตั้งรัฐบาลพระราชทาน ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2517 รัฐบาลจากการเลือกตั้ง
รัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 โดยพล เรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหาร เข้ายึดอำนาจ การปกครองประเทศจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา19 มอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 โดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี มีการร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และจัดตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้ง
รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยการนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี มีการร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ 17 พฤษภา 35 ทมิฬ ส่งผลให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 รัฐบาลจากการเลือกตั้ง
รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549โดยมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทยสมัยที่2 ซึ่งเป็นฝ่ายประชาธิปไตยได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้งของประชาชนในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ประชุมที่องค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา คณะรัฐประหารได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการใช้กลไลของข้าราชการมีทหารเป็นแกนหลัก องค์อิสระ ตุลาการ นักวิชาการ สื่อมวลชนและมวลชนจัดตั้งของทหารอย่างเต็มรูปแบบ ตลอดจนงบประมาณอย่างมหาศาล เพื่อชิงและกุมอำนาจทางการเมืองจากฝ่ายประชาธิปไตย พรรคไทยรักไทยถูกยุบ มีการตั้งสภาร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยภายใต้ชื่อใหม่ คือพรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้งเสียงข้างมากกลับมาเป็นรัฐบาล มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ให้ขาดคุณสมบัติพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ผู้เขียนเห็นว่า เป็นการรัฐประหารเงียบยึดอำนาจจากรัฐบาลนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีพรรคพลังประชาชน โดยคณะทหารออกทีวีจี้ให้ยุบสภาหรือไม่ก็ลาออก และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย กรณีอัยการสูงสุด มีคำร้องให้ยุบพรรคพลังประชาชน ต่อมาได้จัดตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มอำมาตยาธิปไตย
จากประวัติศาสตร์การเมืองประเทศไทย ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ถ้ารัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง และเป็นตัวแทนของฝ่ายประชาธิปไตยเมื่อบริหารประเทศไปได้ระยะหนึ่ง จะถูกกระทำรัฐประหารยึดอำนาจจากกองทัพ ทำให้การเมืองประเทศไทยตกอยู่ภายใต้วงจรระบบอำนาจนิยม และภายใต้การบงการของกลุ่มอำมาตยาธิปไตยซึ่งมีพลังอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเหนือฝายประชาธิปไตย โดยมีคณะทหารเป็นแกนหลักในการรัฐประหารเป็นกุศโลบายในการครองอำนาจทางการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นวงจรอุบาทว์ที่เป็นวังวนในการเมืองประเทศไทย ไม่สิ้นสุดเป็นการตัดการสืบเนื่องของการพัฒนาการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
การแก้ไขและป้องกันปัญหานี้ คงมีมากมายหลายวิธี..แล้วแต่เหตุผลของแต่ละคน..แต่การเมืองไทย ที่เป็นประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ การกระจายอำนาจยังคงเป็นและมีแต่รูปแบบ..
ตอบลบอำนาจบริหารส่วนท้องถิ่นก็ยังน้อยนิด วิถีชีวิตของแต่ละภูมิภาคแต่ละจังหวัดยังคงถูกควบคุมด้วยระบบที่แอบแฝง..ไร้สิทธิอำนาจในการออกกฎหมายให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ทั้งด้านวัฒนธรรมและสังคม เป็นต้น
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นทุกวันนี้ แทบจะพูดได้ว่าเป็น "แบบลวง" มีอยู่ไม่จริง!/ปชต.เพื่อคนไทย
ขอบคุณที่เข้ามาแสดงความเห็นครับ
ตอบลบ