+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน ตอนที่1


การสิ้นสุดอำนาจการเมืองของคณะราษฏร์ โดยรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะและสืบเนื่องรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 โดยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นเผด็จการอำมาตยาธิปไตย อันเป็นสาเหตุให้เกิดเหตุการณ์การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน

ประวัติศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน  ผู้เขียนใช้เหตุการณ์ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นศูนย์กลาง แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 และหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 กล่าวสรุปโดยสังเขปดังนี้

การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 (1) ใน ช่วงเหตุการณ์ 14  ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เป็นการต่อสู้ทางการเมืองของนักศึกษาและประชาชนโดยการนำของนักศึกษา เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย การแสดงพลานภาพชุมนุมต่อสู้ทางการเมืองเรียกร้องประชาธิปไตยของขบวนการนักศึกษาและประชาชน นับแต่รัฐประหารโดยคณะทหาร 2500 โดยมีขบวนการนักศึกษา เป็นแนวหน้า มีนักศึกษาและประชาชนหลายแสนคน ทั่วประเทศรวมพลังแสดงพลานุภาพของประชาชน  ในการเดินขบวนประท้วงทางการเมืองจากสนามหลวงถึงลานพระราชวังดุสิต ถนนราชดำเนิน ดุจสายน้ำหลั่งไหลถะถั่งโถมหนุนเนื่อง ไม่ขาดสายซึ่งมีข้อเรียกร้องรัฐ ธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย แต่รัฐบาลกลับสั่ง ใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธร้ายแรงปราบปราบโดยวิธีรุนแรง มีนักศึกษาและประชาชนผู้เสียชีวิตนับร้อยคน บาดเจ็บและสูญหายนับพันคน ผลการต่อสู้ในทางการเมืองครั้งนี้เป็นชัยชนะของประชาชน ในที่สุดผู้นำรัฐบาลถูกขับออกนอกประเทศ และมีรัฐบาลพระราชทาน และตั้งสมัชชาแห่งชาติ ร่างและประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ 2517 และมีรัฐบาลจาการเลือกตั้งของประชาชน

ต่อมาเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ขบวนการนักศึกษาชุมนุมประท้วงในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อต่อต้านการกลับเข้าประเทศของ จอมพลถนอม กิตติขจรซึ่งบวชเป็นสามเณร มีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาล แต่มีการสร้างเหตุการณ์กล่าวหาใส่ร้ายขบวนการนักศึกษาว่าเป็น คอมมิวนิสต์ และต่อมามีการใช้กำลังทหารและตำรวจตระเวนชายแดน มวลชนจัดตั้งของตำรวจและทหาร ล้อมปราบ นักศึกษา ด้วยความรุนแรง โหดเหี้ยม ไร้มโนธรรมและมนุษยธรรม โดยการบัญชาการ ของนายพลตำรวจท่านหนึ่ง พระภิกษุท่านหนึ่ง นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่งและบุคคลอื่นๆ มีการแขวนคอนักศึกษาที่ต้นมะขาม ทารุณกรรมและเผาทั้งเป็นทั้งๆที่ยังไม่ตายสนิท โดยวิธีการนั่งยางเผาที่สนามหลวง ซึ่งสามารถเห็นจากภาพข่าวจากทีวี ช่อง 7 เพียง ประมาณ 15 นาที และมีข้อมูลที่ยืนยันจากนักข่าวคนหนึ่ง ที่เห็นเหตุการณ์ว่า มีการกระทำข่มขืนชำเรานักศึกษาหญิงข้างซอกตึกบัญชี จนกระทั่งเสียชีวิต และมีการตอกลิ่มนักศึกษาจนเสียชีวิตในสุดท้าย ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของนักศึกษาที่เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย คาดว่าคงจะมีเป็นจำนวนมาก เพราะมีการเก็บกวาดจนไม่เหลือซากใดๆ ทั้งสิ้น ปรากฏว่ามีนักศึกษาจำนวนหนึ่งพากันหนีเข้าป่า ไปร่วมต่อสู้ด้วยอาวุธกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ต่อมาในวันเดียวกันนั้น ก็เกิดรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ และคณะนายทหาร จปร.7 เป็นแกนหลัก เข้ายึดอำนาจ จากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี และสืบเนื่อง รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 โดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล และมีการร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2521และจัดตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ

การต่อสู้ทางการเมืองของนักศึกษาและประชาชน ที่มีขบวนการนักศึกษาเป็นแนวหน้า  โดยวิธีไร้ความรุนแรงในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่ได้รับชัยชนะในทางการเมือง แต่ประชาธิปไตยจบสิ้นลง โดยการทวงคืนของกลุ่มอำมาตยาธิปไตย เป็นการทำลายพลานุภาพของขบวนการศึกษาไทยจนสิ้นซากตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2519 ในปัจจุบันไร้พลังมิอาจเป็นแนวหน้าขับเคลื่อนพลังของมวลมหาประชาชนในทางการเมือง  ไปสู่เป้าหมายประชาธิปไตยของประชาชน

ประวัติศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับการต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการนักศึกษาและประชาชน โดยการนำของนักศึกษา  มิได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น