ข้อเรียกร้องทางการเมือง เรื่องนี้สำนักกฏหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟี โดยเว็บไซต์ของโรเบอร์ต อัมสเตอร์ดัม ระบุว่าได้จัดทำข้อเรียกร้องทางการเมืองให้ขับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นรัฐบาลชองประเทศไทยออกจากสหพันธ์เสรีนิยมสากลต่อประธานสหพันธ์เสรีนิยมสากล
ในข้อเรียกร้องทางการเมือง กล่าวว่า เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้ขึ้นสู่อำนาจเมื่อเดือนธันวาคมปี 2551 โดยคำตัดสินของศาลไทย ที่พิพากษาให้การเลือกตั้งปีก่อนหน้านั้นเป็นโมฆะ และพรรคได้ดำเนินการทำลาย การเมืองระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพการพูด สิทธิทางการเมืองพลเรือน และนโยบายคุ้มครองชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย
การกระทำทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ จากหลักฐานต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อแนวทางเสรีนิยม ของพรรคประชาธิปัตย์ที่มีอยู่มากมาย จึงขอเรียกร้องให้สหพันธ์เสรีนิยมสากลขับพรรคประชาธิปัตย์ ออกจากเป็นสมาชิกภาพ ด้วยเหตุผลดังนี้
ประการแรก พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำลายเสรีภาพแห่งการแสดงออกอย่างเป็นระบบ การฟ้องร้องฝ่ายตรงข้ามโดยใช้กฎหมายอันเข้มงวดอย่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้จากสถิติการดำเนินคดีเหล่านี้ ในปี 2552 การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารทางเลือกอื่น รวมถึงสถานีทีวีฝ่ายตรงข้าม วิทยุชุมชนหลายสถานี และเวปไซต์อีกกว่า50,000แห่งถูกสั่งปิดโดยรัฐบาล
ประการที่สอง พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการใช้ความรุนแรง ออก "ใบอนุญาตสังหาร"ให้กับกองทัพไทย เพื่อให้กองกำลังความมั่นคงใช้ในการปราบปรามประชาชน เป็นผลทำให้ประชาชนผู้ไม่มีอาวุธเสียชีวิตกว่าร้อยราย และบาดเจ็บอีกราวสองพันราย หลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศและระบบกฎหมายไทยที่ปกป้อง ประชาชน
ประการที่สาม Human right watch ได้กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์แสดงให้เห็นถึง พฤติกรรมที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนและระบบกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ใช้อำนาจเผด็จการผ่านทางกฎหมายที่ไม่มีความชอบธรรม อย่างพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อระงับสิทธิพลเรือนและสิทธิการเมืองซึ่งเป็นสิทธิที่ ประกันไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการทำลายระบบนิติรัฐไม่ต่างจากการทำรัฐประหาร
ประการที่สี่ พรรคประชาธิปัตย์ได้แสดงความไม่ประสงค์ที่จะปกป้องสิทธิของชนกลุ่มน้อยที่ ถูกดำเนินคดีทางการเมืองในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นประเทศที่พวกเขาถูกดำเนินคดีทางการเมืองและทรมาน เมื่อถูกประชาคมโลก วิจารณ์ สมาชิกสภาราษฎรจากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอบโต้ว่าประเทศไทยไม่มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกระบวนของข้าหลวง ใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เพราะประเทศไทยไม่ได้ลงนามร่วมในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ว่าด้วยการปกป้อง สิทธิของผู้ลี้ภัย
ประการที่ห้า พรรคมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) ซึ่งเป็น กลุ่มที่ต้องรับผิดชอบต่อการยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลา 3 เดือน และยึดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นเวลา 1 อาทิตย์ และการยั่วยุทำให้เกือบจะเกิดสงครามระหว่างไทย-กัมพูชาในหลายครั้งตั้งแต่ปี 2551 นอกจากจะนิยมลัทธิคลั่งชาติ ต่อต้านแนวคิดแบบประชาธิปไตยแล้ว สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์หลายคนยังเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตร ภายใต้การนำรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์กลุ่มพันธมิตรไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำอันรุนแรงในความพยายามล้มรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง
การกระทำและแนวความคิดทางการเมือง พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อแนวทางเสรีนิยม จากหลักฐานดังกล่าว เราขอเรียกร้องให้สหพันธ์เสรีนิยมสากลขับพรรคประชาธิปัตย์ออกจากการเป็น สมาชิกอย่างเร่งด่วน เพราะการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ จะทำให้องค์การสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศประณาม สหพันธ์เสรีนิยมสากล การกระทำของพรรคยังเป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายของสหพันธ์เสรีนิยมสากลที่พยายามเผยแพร่แนวทางเสรีนิยมทั่วโลก
นอกจากการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ที่พยายามจะกำจัดฝ่ายตรงข้ามแรัฐบาลยังคงอยู่ในช่วงดำเนินการดังนั้นการกดดันจากประชาคมโลกจะช่วยนำแนวทางเสรีนิยมประชาธิปไตยกลับมาสู่ประเทศไทย
การเล่นเกมอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ ไมปฏิบัติตามวิถีครรลองประชาธิปไตย เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเมือง ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ