ปรากฎการณ์การเมืองในประเทศไทย ในข้อเท็จจริงในสังคมประเทศไทย เราไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่า มีการแบ่งแยกชนชั้นเป็น อภิสิทธิ์ชน กับสามัญชน ซึ่งกลุ่มชนช้้นนำควบคุมอำนาจทางการเมืองและครอบครองทรัพยากรเหนือประชาชน ก่อให้เกิดการริดรอนเสรีภาพทางการเมือง ความอยุติธรรมเหลื่อมล้ำในสังคมปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง กลายเป็นการต่อสู้ระหว่างชนช้้น เป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤติการเมืองในประเทศไทย
ในทางการเมืองของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีแผนปรองดองทางการเมือง หลังจากที่สั่งปราบประชาชนเป็นทางเลือกให้แก่รัฐบาลว่า รัฐบาลมีเป้าหมายจะเลือกการเมืองแบบปรองดองแต่เหลื่อมล้ำหรือ ปรองดอง ต้อง สมดุล ในสังคมไทย
การปรองดองทางการเมือง รัฐบาลยังไม่ยกเลิกการใช้กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินและไม่ยุติการไล่ล่าจับกุมแกนนำมวลชน การปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่า่วสารตามความจริงของประชาชนและยังคงปิดกั้นเครือข่ายสื่อสารของฝ่ายประชาธิปไตย ทีวีและวิทยุชุมชนนับร้อยสถานี หนังสือพิมพ์หลายฉบับ และเว็บไซต์กว่า2,000แห่ง การอายัดเงินในบัญชีธนาคาร และห้ามทำธุรกรรมทางเงินของแกนนำและผู้สนับสนุนนคนเสื้อแดง กระบวนการดำเนินการตามกฎหมายยังขาดความยุติธรรมและเท่าเทียมกัน เลือกปฏิบัติไม่ชอบธรรมทางการเมืองและกฏหมาย
การเหลื่อมล้ำของพลังอำนาจทางการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจ และสังคมไม่ใช่การปรองดองที่แท้จริง เป็นเพียงการสร้างภาพลวงตา ต่อสาธารณะ และสังคมโลก เพียงกลบเกลื่อนการกระทำผิดของรัฐบาล ในเหตุการณ์10เมษายนและ19พฤษภาคม 2553 ซึ่งสั่งใช้กำลังทหาร ตำรวจพร้อมอาวุธสงครามร้ายแรงสร้างสถานการณ์ปราบปรามเข่นฆ่าประชาชน มีผู้บาดเจ็บ และตายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนักข่างต่างประเทศ อันเป็นการปองร้าย ไม่ใช่ปรองดองแต่จะไม่สามารถแก้ไขวิกฤติทางการเมืองของประเทศไทย
การปรองดองต้องสมดุลคือไม่เหลื่อมล้ำ รัฐบาลควรยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศ การให้เสรีภาพสื่อและประชาชน ในการนำเสนอและรับรู้ข้อมูลข่าวสารตามความจริงต่อสาธารณะ การบริหารจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรมแก่ประชาชน การยกเลิกการอายัดเงินและห้ามทำธุรกรรมทางการเงินของฝ่ายประชาธิปไตย การดำเนินการตามกฏหมาย เป็นไปอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ การบริหารความสมดุลแห่งพลังอำนาจทางการเมือง จึงเป็นการปรองดองที่แท้จริงจะสามารถแก้ไขวิกฤติการเมืองทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของประเทศไทย
นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล จะต้องใช้ความกล้าหาญในการตัดสินใจในเชิงนโยบาย จะเลือก ปรองดอง แต่ เหลื่อมล้ำ หรือ ปรองดอง ต้อง สมดุล คือไม่เหลื่อมล้ำ แต่ยึดตามกฏเกณฑฺ์เสียงข้างมากในการเมืองระบอบประชาธิปไตย
ปรองดอง เป็นเพียงคำโฆษณาชวนเชื่อ แท้จริง เป็นเพียงภาพลวงตาว่าไม่แก้ไขหรือจริงใจว่าแก้ไขวิกฤติการเมืองประชาธิปไตยในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น