การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน การชุมนุมทางการเมืองของมวลชนเรียกร้องประชาธิปไคยโดยวิธีสันติอหิงสาไร้ความรุนแรงตั้งแต่ 12 มีนาคม 53 - 19 พฤษภาคม 53 ที่บริเวณผ่านฟ้า ราชดำเนิน และสี่แยกราชประสงค์ รวมกว่า 60 วันข้อเรียกร้องของมวลชนให้รัฐบาลยุบสภาทันที คืนความยุติธรรม และไม่ปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารของประชาชนเป็นข้อเรียกร้องของคนไทยที่ไม่มากเกินไป ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และหลักการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
การเจรจาทางการเมืองของประชาชน เพื่อหาทางออกอย่างสันติวิธีระหว่างรัฐบาลและแกนนำมวลชนไม่อาจจะตกลงกันได้เพราะรัฐบาลเข้าสู่อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม ตามระบอบประชาธิปไตโดยข้อเสนอปรองดองของรัฐบาลเป็นการวางเป้าหมายเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย.53 ไม่ใช่เป็นข้อเสนอทางการเมือง แต่เป็นข้อเสนอทางการทหารที่จะรักษาอำนาจของรัฐบาล พร้อมบังคับใช้กฏหมายและกำลังทหารหลายกองพล เป็นหน่วยที่ขึ้นตรงกองทัพบก ตลอดจนมวลชนของรัฐบาล เพื่อกดดันมวลชนประชาธิปไตยให้ยอมรับข้อเสนอของรัฐบาลโดยปราศจากเงื่อนไขในขณะเดียวกัน รัฐบาล ไม่ยอมยกเลิก กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง และไม่เลิกการปิดกั้นสื่อ อันเป็นช่องทางการสื่อสารความจริงแก่ประชาชนซึ่งสื่อของคนเสื้อแดงที่ถูกปิดกั้นมี ทีวี วิทยุชุมชนนับ 100 สถานีเว็บไซต์กว่า 1,000 แห่ง และหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ เป็นการที่รัฐบาลปิดหูปิดตา ปิดกั้น การรับรู้ข่าวสารของของประชาชน พร้อมสร้างสถานการณ์รุนแรง กล่าวหาให้คนเสื้อแดงเป็นพวกผู้ก่อการร้าย ภายใต้โมเดลคนเสื้อแดงล้มสถาบันกษัตริย์ โดยข้อเท็จจริงข้อกล่าวหาของรัฐบาลไม่น่าจะเป็นความจริงอย่างใด
ในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพเสมอภาคทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่เป็นสิ่งที่เรียกร้องมากเกินไป เพราะพวกเขาเป็นคนไทยเหมือนกันเป็นการเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย นี่เป็นสภาพความจริง ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมที่ไร้เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ในประเทศไทย
แกนนำนปช.ได้พยายามยื่นหนังสือถึงองค์กรสิทธิมนุษยชนและเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อให้องค์กรโลกเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขวิกฤตทางการเมือง มิให้ประชาชนถูกสังหารล้างเผ่าพันธุ์ประชาธิปไตยแต่ในสถานการณ์นั้น ปราศจากความเข้าใจในเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย จากองค์กรโลก
การใช้ความรุนแรงทางการเมืองต่อประชาชน วันที่ 18 พ.ค.53 วุฒิสภาได้มีความพยายามแก่ไขวิกฤตทางการเมืองของประเทศ จึงแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 5 คน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจรจาทางการเมืองปรากฏว่ารัฐบาลไม่ยอมเจรจาโดยสันติวิธีแต่กลับได้ใช้กำลังทหารจำนวนมาก พร้อมอาวุธสงครามร้ายแรงเข้าปราบสลายการชุมนุมของมวลชน ซึ่งเป็นประชาชนคนธรรมดาไม่ใช่กองกำลังติดอาวุธใดๆอย่างรุนแรงในรอบ 2 ตั้งแต่เย็นวันที่ 13 พ.ค.-19 พ.ค.53เป็นเหตุให้มีผู้ชุมนุมผู้บาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก กว่า 60 คน และบาดเจ็บกว่า 600 คน เป็นนักข่าวต่างประเทศ 2 คน ตลอดจนบังเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของเอกชนและทางราชการ ทั้งใน กรุงเทพฯและต่างจังหวัด การปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงของรัฐบาล รวม 2 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บกว่า 2,000 คน และตาย กว่า 100 คนเป็นนักข่าวต่างประเทศ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และแคนาดา รวม 3 คนภาพต่างๆได้รับการเผยแพร่ข้อเท็จจริงไปยังต่างประเทศ
แกนนำ นปช. และมวลชน ถูกจับกุมคุมขัง ถูกกระทำเหมือนไม่ใช่คนไทยภายใต้การบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง เป็นการปฎิบัติการทางทหารยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องไล่ล่าจับกุม แกนนำมวลชนในต่างจังหวัดและปิดกั้นสื่อวิทยุชุมนุมทุกสถานี และหนังสือพิมพ์ของฝ่ายประชาธิปไตยทุกฉบับ พร้อมอายัดบัญชีเงินฝากธนาคารของแกนนำ และผู้สนับสนุนน่าจะเป็นการถือโอกาสกำจัดผู้นำทางการเมืองของประชาชน ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองการกระทำของรัฐบาลเป็นการปฏิบัติ ภายใต้การใช้กฏหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง และการปฏิบัติการทางทหารในครั้งนี้ เป็นการใช้อำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จอาจเข้าข่ายละเมิดหลักการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
แกนนำ นปช. และมวลชน ถูกจับกุมคุมขัง ถูกกระทำเหมือนไม่ใช่คนไทยภายใต้การบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง เป็นการปฎิบัติการทางทหารยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องไล่ล่าจับกุม แกนนำมวลชนในต่างจังหวัดและปิดกั้นสื่อวิทยุชุมนุมทุกสถานี และหนังสือพิมพ์ของฝ่ายประชาธิปไตยทุกฉบับ พร้อมอายัดบัญชีเงินฝากธนาคารของแกนนำ และผู้สนับสนุนน่าจะเป็นการถือโอกาสกำจัดผู้นำทางการเมืองของประชาชน ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองการกระทำของรัฐบาลเป็นการปฏิบัติ ภายใต้การใช้กฏหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง และการปฏิบัติการทางทหารในครั้งนี้ เป็นการใช้อำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จอาจเข้าข่ายละเมิดหลักการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
สงคราม สันติภาพ การต่อสู้ทางการเมือง เป็นการแสดงพลานุภาพของประชาชน คงดำเนินจนกว่าจะได้ ประชาธิปไตยที่มีรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น