วิกฤตการเมืองประเทศไทย ในเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 เมษาอุบาทว์ เริ่มเวลาประมาณ12.00น.ณ บริเวณสะพานผ่านฟ้า ราชดำเนิน ประเทศไทยมวลมหาประชาชนบาดเจ็บ เสียชีวิต ในการชุมนุมประท้วงรัฐบาลนับแสนเรียกร้องการเมืองประชาธิปไตยโดยสันติวิธีอหิงสาปราศจากอาวุธในประเทศไทย
การชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ตามรายงานในเบื้องต้นข่าวว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ ใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาน มีผู้บาดเจ็บกว่า 800 คน เสียชีวิตกว่า 20 คน มีนักข่าวสำนักรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิต 1 คนจากการที่รัฐบาลสั่งใช้กำลังทหารนับหมื่น พร้อมอาวุธร้ายแรงกระสุนจริง เข้าปราบปรามประชาชนสลายฝูงชนเช่นเดียวกับเหตุการณ์รุนแรงใช้กำลังทหารสลายฝูงชนในวันที่13 เมษายน 2552
การข่าวสายการเมืองแจ้งว่า มีนายทหารประชาธิปไตยกลุ่มหนึ่ง ทนเห็นความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลไม่ได้ได้นำกำลังเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ปราศจากอาวุธ ลอบซุ่มโจมตีหน่วยบัญชาการส่วนหน้า มีนายทหาร บาดเจ็บสาหัสหลายนาย และเสียชีวิต 1 นาย และทหารอีกหลายๆ นาย ทำให้ฝ่ายทหารสับสนเพราะขาดผู้สั่งการ ยุติปราบประชาชนเวลาประมาณ 20.00 น. นายกรัฐมนตรี และพรรคร่วมรัฐาบาลได้หมดความชอบธรรม ในการบริหารประเทศแล้ว เนื่องจากสั่งทหารทำร้ายประชาชน
รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลควรจะมีจิตสำนึกในความผิดพลาดทางการเมือง โดยการลาออกทั้งคณะ หรือยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน แต่เพราะพลังอำนาจที่เหนือกว่าอยู่เบื้องหลังยัง ไม่ถอนการสนับสนุนรัฐบาลแทนที่จะชี้แจงความจริง ในความผิดพลาดในการสั่งการของรัฐบาล และแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนแต่ กลับใช้ยุทธวิธีปั้นน้ำเป็นตัวสร้างหลักฐานเท็จ ปิดกั้นเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนใช้สื่อกระแสหลักทรราช บิดเบือนข้อมูลข่าวสารว่า มีผู้ก่อการร้ายในกลุ่มมวลชนและกล่าวหาใส่ร้ายมวลชน โฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้ประชาชนเข้าใจผิด แล้วออกมาต่อต้านผู้ชุมนุม อันจะนำไปสู่การปราบปรามทำลายขบวนการประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น