+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปรองดอง พ้ายแพ้หรือชัยชนะทางการเมืองของประชาชน


ชัยชนะทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งส.ส เป็นการทั่วไป. ที่ผ่านมา วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฏาคม 2554 พรรคเพื่อไทย ฝ่ายประชาธิปไตยได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ เป็นชัยชนะทางการเมืองเหนือพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยม  พรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากเกินครึ่งของ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นของประชาชน

กฏเกณฑ์เสียงข้างมากตามหลักการประชาธิปไตย จากชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง สัญญาณเริ่มส่งมาอย่างแรงตั้งแต่วันที่  11 กรกฎาคม2554เพราะมีคณะบุคคลออกมาแสดงตัวส่งสัญญาณไม่ปรองดองเพราะฝ่ายอำมาตย์คิดว่าเป็นความพ่ายแพ้สูญเสียอำนาจทางการเมืองเนื่องจากใครที่เป็นรัฐบาลมีอำนาจจัดสรรอำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ เพราะมีอำนาจกำหนดนโยบายและใช้ทรัพยากรในการบริหารประเทศ ให้เป็นประโยชน์มากหรือน้อยต่อประชาชน ดังนั้น การเลือกตั้งเป็นความพ่ายแพ้อย่างท่วมท้นของฝ่ายอำมาตย์ต่อฝ่ายประชาชน แต่กลับออกมาปฏิเสธไม่ยอมรับกฏเกณฑ์เสียงข้างมากตามหลักการประชาธิปไตย เพราะคงมั่นใจว่า พวกตนควบคุมกลไกอำนาจทางกฏหมายและทางทหารที่เหนือว่าฝ่ายประชาธฺปไตย ในเมื่อถ้าใช้กกต.สกัดกั้นการเข้าสู่ตำแหน่งของฝ่ายประชาธิปไตยไว้ไม่ได้เพราะไม่อาจต้านแรงต่อต้านกระแสของประชาชนที่ต้องการประชาธิไตย ในเบื้องต้นจะปล่อยให้เป็นไปตามวิถีของประชาธิปไตย รอโอกาสจังหวะปล้นอำนาจคืนจากประชาชน เป็นวงจรอุบาทว์ทางการเมืองไทย  ปัจจุบันรูปแบบของการปล้นอำนาจของประชาชน มี 3 แบบ คือ ประการแรกการใช้กฎหมายจะเป็นอาวุธที่สำคัญในการทำลายล้างเพราะคณะบุคคลทุกองคาพยพในทางกฏหมาย อยู่ใต้การควบคุมของอำมาตย์ ประการที่สองใช้มวลชนฝ่ายอำมาตย์ออกมาชุมนุมสร้างความขัดแย้งทางการเมืองและใช้สื่อกระแสหลักชี้นำสังคมก่อวิกฤตทางการเมืองสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาล ประการที่สาม รัฐประหารทั้งไม่ใช้กำลังและใช้กำลังโดยเริ่มแต่กดดันไม่ยอมรับอำนาจการเมืองและใช้เคลื่อนกำลังกองทัพกดดันเข้าควบคุมอำนาจรัฐบาล

ปรองดองเป็นชัยชนะหรือพ่ายแพ้ของประชาชน ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานั้นมั่นใจ ฝ่ายอำมาตรย์จะไม่ปรองดองกับรัฐบาลเพราะเป็นความพ่ายแพ้ทางการเมืองแต่จะรักษาสถาพความขัดแย้งทางการเมืองเพื่อกดดันรัฐบาลและ รอโดกาสสังหวะโดยการรัึฐประหารล้มล้างรัฐบาล ประชาชนควรศึกษาการล่มสลายของฝ่ายประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 และการเคลื่อนตัวของสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันอย่างรู้เท่าทันในเหตุการณ์ และรูปการณ์ต่างๆร่วมกันคิด พัฒนาการต่อสู้โดยวิธีไร้ความรุนแรง เพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยของประชาชน เป็นหน้าที่ของมวลชน ในการพิทักษ์รักษาประชาธิปไตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น