การเมืองในประเทศไทย แม้ว่า คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย พร้อมมวลชนประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป อย่างถล่มทลายในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย เส้นทางไม่ใช่จะราบรื่นปูด้วยกลีบกุหลาบ แต่เป็นเส้นทางที่วิบากยิ่งในการบริหารประเทศเพราะรหัสสัญญาณที่ส่งออกมาอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นอุปสรรคท้าทายต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
สัญญาณทางการเมือง เริ่มแรกส่งมาอย่างแรงตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2554เป็นการให้ข้อคิดเห็นของฝ่ายอนุรักษ์นิยมแสดงตัวส่งสัญญาณอันตรายทางการเมือง ดังนี้
การไม่ยอมรับทางการเมือง กรรมการเลือกตั้งท่านหนึ่ง ส่งสัญญาณ กรณียังไม่รับรอง "จตุพร" หากเกิดเหตุรุนแรง ทหารจะออกมาปฏิวัติและมีหัวหน้ากลุ่มการเมืองท่านหนึ่ง กล่าวมาอีกว่า รัฐบาลจะพังภายใน 6 เดือน
การดำเนินคดีทางการเมือง กรณีแก้ไขการใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดั ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 226-227 ให้ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินว่า " อันควรเชื่อได้ว่า" อันเป็นการรองรับการตัดสินคดีการเมืองต่างๆ ซึ่งได้มีการตัดสินคดีไปแล้วก่อนหน้านั้น และที่จะมีตามมาในอนาคต ไม่มีประเทศไหนกระทำกัน เพราะให้อำนาจใช้ดุลพินิจได้ตามอำเภอใจไม่ใช่หลักกฎหมายเป็นการให้อำนาจแก่คณะตุลาการใช้กฎหมายแบบเผด็จการแทนคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ประกอบกับมีการแต่งตั้งคณะตุลาการที่ยึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นตุลาการระดับสูง
การการใช้กฎหมายในทางการเมือง การวางแผนเตรียมการใช้กฏหมายเป็นอาวุธสังหารฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง แทนการผดุงความยุติธรรมตามกฎหมาย หากไม่สำเร็จและต่อไปไม่สามารถควบคุมรัฐบาลได้ ในที่สุดใช้วิธีเดิมๆ คือรัฐประหารสัญญาณอันตราย กระแสต่อเนื่องไม่ใช่สุดท้าย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554
การแสดงพลังทางการเมืองของคณะบุคคล กรณีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ภายหลังได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยและประชาชนต้องเฝ้าระวังจับตาติดตามดูอย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ ที่กำลัง เคลื่อนไปข้างหน้า และรูปการณ์ ทางการเมืองที่กำลังจะก่อรูป เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐบาล เพื่อเป้าหมายล้มรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น