+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สิทธิอำนาจทางการเมืองของประชาชน


ประชาชนกับอำนาจทางการเมือง   ซุนวู กล่าวไว้เป็นหลักในการทำสงครามว่า รู้เขา รู้เรโดยเฉพาะตัวเราเองนั้นจะต้องทำความรู้จักให้ถ่องแท้ และต้องรู้จักศัตรูเช่นเดียวกัน จึงจะสามารถได้ชัยชัยนะ ซึ่งชัยชนะจักเกิดจากความผิดพลาดของศัตรู แต่จะสามารถพิชิตชัยได้หรือไม่อยุู่ที่ฝ่ายเรา จำต้องมีความรู้เกี่ยวกับอำนาจทางการเมืองของประชาชน


สิทธิอำนาจทางการเมืองของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติสิทธิทางการเมืองในการกำหนดเจตจำนงของตนตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล กล่าวสรุปเกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองของประชาชน ได้ดังนี้
1. สิทธิในการเลือกตั้ง ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้ง และร้องคัดค้านการเลือกตั้งในกรณีที่มีการทุจริตในการเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม

2. สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา ให้รัฐสภาพิจารณา ร่างกฎหมายของประชาชน

3. สิทธิถอดถอนบุคคล ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติออกเสียงถอดถอน ให้ออกจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทีมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการศาลยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม

4. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณา อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม และเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็วและทั่วถึง

5. การออกเสียงประชามติ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีสิทธิออกเสียงประชามติ ในกรณีการตัดสินใจดำเนินกิจการหรือโครงการที่กระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ หรือประชาชน และกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้มีการออกเสียงประชามติ

6. สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้แก่ การที่ประชาชนหรือชุมชนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น รวมกลุ่มหรือชุมนุม ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน ทรัพยากร หรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

7. สิทธิ เสรีภาพในการสื่อสาร และเสรีภาพของสื่อ กำหนดให้คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ วิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะเปิด เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวได้อย่างเท่าเทียม ให้ประชาชนมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันได้มากขึ้น รวมทั้งให้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ผ่านการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และ การสื่อความโดยวิธีการอื่นๆ

8. สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ประชาชนมีสิทธิ ต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางเป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

อำนาจทางการเมืองเป็นของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งในสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ ฝ่ายอมาตยาธิปไตยซึ่งควบคุมกลไกทางกฏหมาย ใช้กฎหมายเป็นอาวุธทางการเมืองในการควบคุมทำลายล้างพรรคเพื่อไทยที่ได้รับเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาล และมวลชน ฝ่ายประชาธิปไตย

ประชาชนควรมีความรู้ด้านกฏหมาย และการใช้กฎหมายเป็นอาวุธทางการเมือง เพื่อใช้ความรู้สติปัญญาเป็นอาวุธ ในการต่อสู้ทางการเมือง ปกป้องสิทธอำนาจทางการเมืองของประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น