+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีปรองดองทางการเมืองในประเทศไทย



การเมืองแบบประเทศไทย ประชาธิปไตยเป็นระบอบการเมืองที่ยอมรับในกฏเกณฑ์เสียงข้างมากของประชาชน แต่ในประเทศไทย ตามจริงแล้วรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชนไม่มีอำนาจที่แท้จริงในการบริหารบ้านเมือง เพราะฝ่ายอมาตยาธิปไตยยังกุมอำนาจควบคุมกำลังทหารและระบบข้าราชการปรากฏว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของประชาชนได้ถูกล้มล้างมาแล้ว  3 รัฐบาลจากคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

การเมืองภายใต้องค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ว่าจะเป็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการเลือกตั้ง คณะกรรมการ ปปช. ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมได้รับการคัดเลือกตามวิถีที่ ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ได้รับคัดเลือกมาเพื่อทำหน้าที่สืบถอดอำนาจ และควบคุมการบริหารงานของรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยแทนคณะรัฐประหาร จึงมีประเด็นที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการยุติธรรมสองมาตรฐาน การพิจารณาที่อาจขัดกับหลักการกฎหมายและหลักการประชาธิปไตย

แก้ไขการเมืองแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 เพื่อ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กลายเป็นระเบิดเวลา ทำให้รัฐบาลถูกกล่าวหาจากพรรคฝ่ายค้านว่ากระทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตามมาตรา 68

ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอ ลงมติวาระ 3 ไว่เป็นการชั่วคราว น่าจะเป็นการก้าวก่ายอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ และจะเริ่มพิจารณาในวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 

ประวัติศาสตร์มีสิทธิ์ซ้ำรอย อาจจะมีการโละทิ้ง หมายถึงกำจัดทั้งระบบ ทุบสภา ยุบพรรคเพื่อไทย ล้มรัฐบาล เป็นการรัฐประหารโดยคณะตุลาการ แล้วตั้งรัฐบาลของฝ่ายอมาตยาธิปไตย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว บทบัญญัติว่าด้วยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนู สมควรได้รับการแก้ไขให้เป็นไปตามกระบวนการของประชาธิปไตยโดยอาศัยอำนาจของรัฐสภาตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญ ในประเด็น ดังนี้

1.คณะกรรมการสรรหาและวิธีสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
2.วาระการดำรงตำแหน่งนั้นๆ
3.อำนาจหน้าที่ต่างๆ
4.เรื่องอื่นๆที่ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจในระบอบประชาธิปไตย

การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย 2550 ซึ่งเป็นผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่ว่าจะเป็นบทบัญญัติใดที่เกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของอำนาจทั้ง3อำนาจ ได่้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ รวมทั้งองค์กรอิสระแล้ว พรรคการเมืองซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายอมาตยาธิปไตยคัดต้านไม่อาจยอมได้เพราะกระทบกับอำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ของฝ่ายอมาตยาธิปไตย

การปรองดองเป็นเพียงเกมลวงเพื่อจุดชนวนไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ การเมืองไม่มีการปรองดอง ม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สถานการณ์สงครามการเมืองประเทศไทย

2 ความคิดเห็น: