+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศึกชี้ชะตาการเมืองไทย(2)


การเมืองประเทศไทย ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้รัฐสภาระงับการลงมติวาระที่3ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 เกี่ยวกับการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ไว้ เป็นการชั่วคราวเนื่องจากสมาชิกพรรคฝ่ายค้านได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ร้องกล่าวหาว่ารัฐสภากระทำการล้มล้างการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 68 วรรคแรกซึ่งนักวิชาการทั่วไปเห็นว่า ฝ่ายตุลาการใช้อำนาจก้าวก่ายฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่เป็นไปตามหลักตรวจสอบและถ่วงดุลตามทฤษฏีแบ่งแยกอำนาจ ในระบอบการเมืองประชาธิปไตย
 
การผันแปรทางการเมืองในประเทศไทย การผันแปรของสถานการณ์เป็นเหตุให้ไม่อาจโละทิ้งรัฐบาลประชาธิปไตย 4 ประการ คือ ประการแรก รัฐสภาลงมติคัดค้านการก้าวก่ายอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติของฝ่ายตุลาการ ประการที่สอง นักวิชาการด้านกฏหมายและรัฐศาสตร์ โจมตีคัดค้านและอภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการก้าวก่ายอำนาจรัฐสภาของศาลรัฐธรรมนูญ ประการที่สาม มวลชนรวมพลังแสดงพลานุภาพรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประการที่สี่ การเมืองระหว่างประเทศ นางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้เชิญนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมตรีไปเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างปรเะเทศของกลุ่มอาเชียน ณ ประเทศกัมพูชาโดยไม่มีกำหนดการไว้ล่วงหน้า ในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะได้อ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 13 กรกฏาคม 2555

สถานการณ์การเมือง ในขณะนี้ทำให้ตัวแปรที่เป็นปัจจัยหลักสนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการณ์โละทิ้งเนื่องจาก การพลิกผันทางการเมืองระหว่างประเทศและนายกรัฐมนตรีไม่ได้อยู่ภายในประเทศไทย

ภารเมืองภายใต้องค์กรอิสระ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันศุกร์ ที่ 13 กรกฎาคม 2555 โดยสังเขป ได้ว่า
1.กรณีบุคคลกระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามคำร้องของผู้ร้อง นั้น ผู้ร้องมีสิทธิ์ร้องโดยตรงต่อศาลได้อีกทางหนึ่งไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุดเพียงทาง เดียวตามมาตรา ๖๘ วรรคสอง

2.การแก้ไข ม.291 เพื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญโดยให้ สสร.ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้น อาจเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในอนาคตตามมาตรา 68 วรรคแรก ไม่อาจกระทำได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกระทำได้โดยแก้ไขได้เป็นรายมาตรา ถ้าจะแก้ไขทั้งฉบับต้องทำประชามติโดยอ้างเหตุผลว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ผ่านการทำประชามติมาแล้ว

โดยความเคารพคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 13กรกฏ่คม2555จากสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างฝ่ายอมาตยาธิปไตย กับฝ่ายประชาธิปไตยในขณะนี้ นักวิชาการหลายฝ่ายวิเคราะห์ในเชิงวืชาการ สรุปความว่า

1.ศาลตัดอำนาจอัยการสูงสุดแต่เพิ่มอำนาจให้ศาลเอง เพื่อเปิดทางนำไปสู่ปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งลับของฝ่ายอมาตยาธิปไตย ซึ่งมีผู้เขียนบทความกล่าวอ้างออกมาในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง คือ รหัส  68 77 7
2.ศาลวางแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประการ ประการแรก แก้ไขทั้งฉบับต้องทำประชามติ ประการที่สอง แก้ไขได้เป็นรายมาตราอันเป็นการวางทุ่นทางกฎหมาย ให้เป็นไปด้วยความยากลำบากหากรัฐสภาฝืนดันลงมติต่อวาระที่3 ศาลก็จะสั่งยุบพรรคการเมือง ตาม มาตรา ๖๘ วรรคสาม

รหัส 68 77 7 หมายถึง การดำเนินการทางกฏหมายตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 68 มาตรา 77 และมาตรา 7
มาตรา 68  เป็นกรณีกระทำการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 77 เป็นกรณีแนวนโยายด้านความมั่นคงแห่งรัฐ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของรัฐบาลจะต้องพิทักษ์รักษาไว้ตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 7 เป็นกรณีนายกรัฐมนตรีพระราชทาน
เป็นรหัสสังหาร โละทิ้งสภา ทั้งระบบ ยุบพรรค ล้มรัฐบาล  จัดตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น