+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประชาชนสร้างพลานุภาพทางการเมือง


อำนาจการเมืองของประชาชน รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับอำมาตย์ มีที่มาและเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตยไม่โยงยึดกับอำนาจทางการเมืองของประชาชน ก่อปัญหาทางการเมืองหลายประการเพราะการจัดสรรพื้นที่อำนาจของกลุ่มการเมืองไม่สมดุล ไม่วางเป้าหมายสูงสุด และแนวทางปฏิบัติของแต่ละฝ่าย ไปสู่ธรรมาภิบาลในการบริหารและการเมือง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง อย่างรุนแรง บ้านเมืองระส่ำระสาย พลังอำนาจของชาติเสื่อมทรุดในด้านการเือง เศรษฐกิจ และสังคม

ประชาชนสร้างพลานุภาพทางการเมือง  ในสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมือง การทำนุบำรุงบ้านเมืองลำดับแรก คือแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับอำมาตย์ ให้เป็นประชาธิปไตยจัดแบ่งพรมแดนแห่งอำนาจของแต่ละกลุ่มการเมือง ได้แก่ สถาบัน กองทัพ ข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ให้เกิดสมดุลในพื้นที่อำนาจทางการเมือง วางเป้าหมายสูงสุด และแนวทางปฎิบัติ ของทุกๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระ ต่างก็ต้องมุ่งเน้นไปสู่ ธรรมาภิบาลเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อความมี สงบสันติของประเทศ

การรุกทางการเมืองของประชาชน ในขณะนี้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีข้อเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและสร้างความปรองดองในชาติ เห็นว่าเป็นกลนยุทธ์กลบเกลื่อนความล้มเหลวในการบริหารราชประเทศ หรือว่าเป็นการถ่วงเวลาในการเป็นรัฐบาล ประชาชนต้องสร้างพลานุภาพทางการเมือง ในการติดตามตรวจสอบรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมกระทำอยางต่อเนื่องเป็นการรุกในทางการเมืองของประชาชน

แกนนำมวลชนพร้อมประชาชนใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ทางการเมืองในการรณรงค์ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็น ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการยืมเหตุการณ์ทางการเมืองสร้างพลานุภาพของประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น