+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เกี่ยวกับ การต้านรัฐประหารของประชาชน


ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยบทที่ 14 ความรู้การต้านรัฐประหารของประชาชน คูร์สิโอ มาลาปาเต เขียนหนังสือ เทคนิครัฐประหาร กล่าวว่าในการทำลายเสรีภาพโดยรัฐประหาร วิธีการใดๆ ย่อมใช้ได้ฉันใด ในการพิทักษ์เสรีภาพ วิธีการใดๆ ก็ย่อมจะใช้ได้เช่นเดียวกันโดยต้านรัฐประหาร ฝ่ายต่อต้านจะต้องป้องกันตัวเองต่อยุทธวิธีของฝ่ายรัฐประหาร ไม่ใช่ต่อนโยบายของฝายนั้น ข้อขัดแย้งบางประเภทไม่อาจประนีประนอมกันได้และจะลุล่วงได้โดยอาศัยการต่อสู้เท่านั้น ฝ่ายต้านรัฐประหารจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจกับทุกฝ่ายในทางการเมืองและควบคุมมิให้มีการสร้างเงื่อนไขและสถานการณ์รุนแรงทางการเมืองอันจะนำไปสู่การรัฐประหาร


ความรู้การต้านรัฐประหารของมวลชน ในวิถีการเมืองประชาธิปไตย เป็นการใช้ยุทธศาสตร์การเมืองสันติวิธีไร้ความรุนแรงเพื่อยับยั้งความรุนแรงตามหลักการประชาธิปไตยในการต้านรัฐประหารใช้หลักการอ่อนพิชิตแข็ง  รู้เขารู้เรา คือ รู้เขา การเรียนให้รู้วิธีการรัฐประหาร เป็นอย่างไร รู้เรา การเรียนให้รู้วิธีต่อต้านรัฐประหารได้อย่างไร ประยุกต์ใช้ในการต้านรัฐประหารของประชาชน

โมเดลพิชัยสงตราม รู้เขารู้เรา คือ รู้เขา เป็นการศึกษาโมเดลรัฐประหารของประเทศต่างๆ เพื่อให้รู้เทคนิครัฐประหารทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศ  รู้เรา  เป็นการศึกษาโมเดลต่อต้านรัฐประหาร ของประเทศต่างๆ โดยสันติวิธีไร้ความรุนแรง เป็นวิธีการประชาธิปไตยที่ใช้ควบคุมการต่อสู้ และทำลายอำนาจของฝ่ายตรงข้ามด้วยการแสดงอานุภาพโดยวิธีการที่ไม่รุนแรงเพื่อต่อต้านการกระทำของฝ่ายตรงข้ามที่ใช้ปฏิบัติการด้วยความรุนแรง

เทคนิคการต้านรัฐประหารโดยยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย กล่าวคือ
1.ขจัดเงื่อนไข การขจัดเงื่่อนไขรัฐประหาร การสร้างความสมดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างสถาบันทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ พรรคร่วมรัฐบาล และในพรรครัฐบาล ตลอดจนสมดุลของอำนาจในกองทัพเพื่อให้กองทัพสนับสนุนประชาธิปไตย เป็นหน้าที่ของรัฐบาล
2.รับฟังสัญญาณ การสดับตรับฟัง สัญญาณแนวโนมรัฐประหาร แรกเริ่ม การโยกย้าย การแสดงพลัง การซ้อมรบ การเคลื่อนย้ายกำลัง อำพรางเป้าหมายที่แท้จริง มวลชนจัดตั้ง เคลื่อนไหว การใช้สื่อ บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ต่อประชาชน เพื่อก่อเหตุรุนแรงในสังคม ไม่เคารพกฎหมาย เป็นอนาธิปไตย
3.สร้างความเข้าใจ การสกัดกั้นรัฐประหาร โดยการใช้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายและประชาชน ในสังคมในวงกว้างเป็นสากล โดยการขยายช่องทางการสื่อสาร การเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยสื่อและไซเบอร์ ให้ทราบถึงแผนการรัฐประหาร และรวมพลังในการต่อต้านรัฐประหาร
4.ชุมนุมประท้วง การประท้วงโดยสันติวิธีก่อนและหลังรัฐประหารในการปฏิเสธรัฐประหาร และสนับสนุนรัฐบาล   หลีกเลี่ยงการเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์รุนแรงเสียเอง หรือหลงกลติดกับดักอย่าเข้าร่วมในสถานการณ์รุนแรง ที่ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้สร้างขึ้น อันนำไปสู่สถานการณ์รุนแรงทางการเมือง
5.การต่างประเทศ การส่งผ่านข้อมูลข่าวสาร ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อชาวโลกและ แจ้งต่อสหประชาชาติ และขอความสนับสนุนจากสถานทูตประเทศมหาอำนาจและประเทศต่างๆ ร่วมมือบอยคอตการกระทำรัฐประหาร อันเป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตย

การเรียกร้องประชาธิปไตยและต้านรัฐประหาร แกนนำและมวลชนต้องศึกษาพิชัยสงคราม และนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์เห็นประโยชน์พึงเคลื่อน ไม่เห็นประโยชน์อย่าเคลื่อน

จินดา จิตนเสรี กล่าวไว้ว่า การกระทำรัฐประหารไม่น่าจะเกิดขึ้นในยุคนี้เพราะโอกาสเปลี่ยนแปลงรัฐบาลยังมีอยู่ตามรัฐธรรมนูญตราบนั้น รัฐประหาเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาเพราะรัฐประหารเป็นแบบแผนที่เลว  ขัดต่อกฎหมายไม่เพียงแต่เป็นปฏิปักษ์ต่อหลักประชาธิปไตยยังเป็นแบบอย่างจูงใจให้คนทะเยอทะยานคิดกระทำรัฐประหารกันไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งความมั่นคงปลอดภัยและความสงบสุขของประชาชน ก็จะไม่มียากที่จะวิวัฒน์ไปสู่ความมีเสถียรภาพและความสมบูรณ์ของระบอบประชาธิปไตย

การใช้ความรู้ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย เทคนิครัฐประหาร และต้านรัฐประหาร "จดจำและใช้เป็นพิชัยสงคราม" ในการต้านรัฐประหาร โดยสันติวิธีไร้ความรุนแรง  เพื่อพิทักษารักษาไว้ซึ่งระบอบการเมืองประชาธิปไตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น