+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เกียวกับ การเคลื่อนไหวทางการเมือง


ยุทธศาตร์ประชาธิปไตยบทที่ 7 ความรู้การเคลื่อนไหวทางการเมือง พิชัยสงครามกล่าวว่า "พึงเห็นประโยชน์จึงเคลื่อน ไม่เห็นประโยชน์อย่าเคลื่อน" ในปัจจุบันเป็นสงครามการเมือง ในยุคข้อมูลข่าวสารคืออำนาจ ใครควบคุมข้อมูลข่าวสาร คนคนนั้นควบคุมการเมือง เป็นสงครามข้อมูลข่าวสารชิงประชาชน "ชนะโดยไม่ต้องรบ"

ความรู้สงครามข้อมูลข่าวสาร จากหนังสือ Power Shift ผู้เขียน Alvin Toffler. ผู้แปล ขุนทอง ลอเสรีวานิช อธิบายว่า สงครามสารสนเทศ หรือสงครามข้อมูลข่าวสาร เป็นการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร ใช้ประโยชน์ชิงความได้เปรียบในการแข่งขันทางการเมือง หรือธุรกิจเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโดยการนำเสนอต่อ สาธารณะ

พลานุภาพของข้อมูลข่าวสาร ที่ใช้เป็นกลยุทธ์ด้านข้อมูลข่าวสารในการทำสงครามการเมือง กล่าวโดยสรุป มีดังนี้

Offensive Tactics เป็นกลยุทธ์เชิงรุกคือปฏิบัติการรุกด้านการข่าว มี 2 แบบ คือ
1.Info-Tactics เป็นกลยุทธ์ข่าวลวงคือการดัดแปลงบิดเบือน หรือจัดการข้อมูลข่าวสาร ก่อนที่จะส่งผ่านสื่อออกไปสู่ประชาชน
2,Meta-Tactics เป็นกลยุทธ์ในระดับที่ลึกกว่า คือการเข้าไปจัดการกับกระบวนการผลิตข้อมูลข่าวสารตามหลัก Info-Tactics ก่อนที่นำเสนอเผยแพร่สู่สาธารณะ

Defensive-Tactics เป็นกลยุทธ์เชิงป้องกันคือการป้องกันและโค้กลับด้านการข่าว มี 2 แบบ คือ
1.Data-Tacticsเป็นกลยุทธ์ตอบโค้คือการโต้ตอบข้อมูลข่าวสารเท็จข่าวลวงด้วยข้อมูลข้อเท็จจริงแล้วส่งผ่านสื่อไปสู่ประชาชน
2.Mega-Tactics เป็นกลยุทธ์ป้องกันและโต้กลับคือการหาที่มาของแหล่งผลิตข่าวเท็จด้วยป้องกันและโต้กลับตามหลัก Data-Tactics ก่อนมีการเสนอต่อสาธารณะ

สงครามการเมืองเป็นสงครามข้อมุลข่าวสาร แบ่งรูปแบบออกเเป็น 2 ประการ คือการเคลื่อนไหวในสื่อและโลกไซเบอร์ กับการเคลื่อนไหวบนท้องถนน  มีดังนี้

ประการแรก การเคลื่อนไหวในสื่อและโลกไซเบอร์ เป็นการร่วมนำ โดยการสร้างกลุ่ม สร้างเครือข่ายและขยายเครือข่าย ช่องทางการสื่อสาร ถ่ายทอดความคิดข้อมูลความจริงต่อสาธารณะ ก่อกระแสหมุนเวียนหนุนเนื่องในโลกไซเบอร์ก่อนออกสู่ท้องถนนและบนท้องถนน มี 2 แบบ คือ 1) แบบทางตรงหรือธรรมดา เป็นการโต้ตอบสวนกลับ หรือประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก ให้ข้อมูลความรู้ความจริงต่อสาธารณะ 2)แบบทางอ้อมหรือพิศดาร เป็นการโจมตี หน่วยไซเบอร์ของฝ่ายตรงข้าม โดยการควบคุม สกัดกั้น บล็อคการเคลื่อนไหวทางไซเบอร์ เพื่อมิให้บิดเบือนข้อมูลความจริง กล่าวหาใส่ร้าย ปั่นกระแส สู่สาธารณะ

ประการที่สอง การเคลื่อนไหวบนท้องถนน เป็นการชุมนุมทางการเมืองต้องมีศูนย์การนำ เพื่อเอกภาพในการนำ แบ่งกำลังออกเป็น รวมกำลัง แบ่งกำลัง และกระจายกำลัง มีเป้าหมายชัดเจน ควบคุมพื้นที่ สกัดเส้นทาง กระจายข้อมูลข่าวสารความจริงต่อประชาชน

แกนนำเป็นผู้นำรับผิดชอบต่อมวลชนจำนวนมาก ต้องมีคุณสมบัติของแม่ทัพ การชุมนุมรวมพลังแสดงพลานุภาพมวลมหาประชาชนเสื้อแดงทางการเมือง แกนนำจะต้องคำนึงถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขไว้ล่วงหน้า กล่าวโดยสรุป

ความรู้ปัญหาพื้นฐานการชุมนุมประชาธิปไตย ในการชุมนุมทางการเมืองมี 5 ประการคือ
1. เสบียงอาหารพร้อม และเพียงพอหรือไม่ ค่าใช้จ่ายมีเท่าไร เพียงพอหรือไม่
2. ขวัญและกำลังใจของผู้ร่วมชุมนุมเป็นอย่างไร ใจเป็นหนึ่งเดียวและมากพอหรือไม่ มีจำนวนเท่าไร
3. กฎ ระเบียบ และวินัยมวลชน และระบบการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ร่วมชุมนุมเป็นอย่างไร
4. สภาพฤดูกาล และภูมิประเทศเป็นอย่างไร ชัยภูมิที่ตั้งเหมาะสมหรือไม่ นานกี่วัน
5. ประเด็นในการชุมนุมมีอะไรบ้าง สามารถสร้างแรงกดดันต่อเป้าหมายได้หรือไม่

แกนนำจะต้องพิจารณาในรายละเอียด ให้รอบคอบ ด้วยสติปัญญา ประเมินสถานการณ์ ให้ถี่ถ้วน เพราะเป็นเรื่องชัยชนะหรือพ่ายแพ้ และความเป็นหรือตาย ของมวลชน จะต้องรู้เขารู้เรา ฝ่ายตรงข้ามเตรียมการอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไร รู้ว่าอะไรควรปฏิบัติ อะไรไม่ควรปฏิบัติ พลิกแพลงตามสถานการณ์

"เล็งเห็นประโยชน์พึงเคลื่อน ไม่เห็นประโยชน์อย่าเคลื่อน"

แกนนำพึงมีความรู้ในยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย รูปแบบการเคลื่อนไหวตามพิชัยสงคราม เป็นพลานุภาพของข้อมูลข่าวสารทางการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น