+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เกี่ยวกับ การประเมินสถานการณ์ทางการเมือง


ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยบทที 8 ความรู้การประเมินสถานการณ์ทางการเมือง  พิชัยสงครามซุนวู กล่าว่า ในการทำสงคราม สงครามเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ของบ้านเมือง เป็นเรื่อง เป็นหรือตายความ อยู่รอด หรือถูกทำลาย ต้องเรียนรู้พิจารณา ให้จงดี

ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยทางยุทธศาตร์ การประเมินว่าชัยชนะหรือพ่ายแพ้มีองค์ประกอบพึงพิจารณา ปัจจัยภายใน มีจุดอ่อน จุดแข็งในด้าน  บุคลากร งบประมาณ การจัดการ และอาวุธยุทโธปกรณ์ และ อุปกรณ์ต่างๆ ปัจจัยภายนอก มีอุปสรรค โอกาส ในด้าน อำนาจนอกระบบ ผู้สนับสนุน มวลชน สื่อมวลชน สภาพการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศ แล้วนำมาเปรียบเทียบศักยภาพและชั่งน้ำหนัก ฝ่ายเรา กับฝ่ายตรงข้าม

ความรู้ในการประเมินสถานการณ์การเมือง ในการต่อสู้ทางการเมืองนั้น ฝ่ายประชาธิปไตย ควรมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบว่า ฝ่ายไหนมีจุดแข็งและมีโอกาส จะได้ชัยชนะ หรือฝ่ายไหนแม้จะมีจุดอ่อน แต่มีโอกาส ว่าเราจะต่อสู้โดยวิธีรุนแรง หรือไม่รุนแรง เพราะเป็นเรื่องชัยชนะหรือพ่ายแพ้ และความเป็นหรือตาย ของมวลชน การแสวงหาข่าว ข่าวกรอง เป็นรากฐานของการ รู้เขา   รู้เรา

ตัวอย่าง กรณีการประเมินเปรียบเทียบพลานุุภาพของฝ่ายอำมาตย์และฝ่ายประชาชน ถึงความเป็นไปได้ในเรื่องหลัก 5 ประการคือ
1. พื้นที่อำนาจ ได้แก่ พื้นที่การเมือง พื้นที่ทางทหาร พื้นที่สื่อ และพื้นที่ประชาชน
2. กองกำลังและฝ่ายสนับสนุน ได้แก่ จำนวน ขนาด ความสำคัญ มีอาวุุธหรือไม่มีอาวุธ และกลุ่มผู้สนับสนุนเป็นกลุ่มใด เป็นใคร อยูที่ไหน
3. ทุน งบประมาณ เสบียง และอุปกรณ์ต่างๆ
4. อำนาจทางการบริหาร การบังคับใช้กฏหมาย
5. การต่างประเทศ

การวิเคราะห์เชิงแข่งขันเกี่ยวกับการได้เปรียบเสียเปรียบว่า ใครเป็นผู้ได้เปรียบ ใครเป็นผู้เสียเปรียบ โอกาสชนะหรือแพ้ อยูกับฝ่ายใด มีมากแค่ไหน เพียงไร แล้วสรุปเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งฝ่ายประชาธิปไตยอยู่ในสถานะเป็นรองค่อนข้างมาก ควรใช้ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย สันติวิธีไร้ความรุนแรง ในการต่อสู้ทางการเมือง

การดำเนินยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย ก่อนอื่นราจะต้องประเมินตนเองว่า มีความพร้อมในแนวทางไหนมากที่สุด และสามารถมองเห็นโอกาสแห่งชัยชนะ ในสถานการณ์ปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า ฝ่ายประชาธิปไตยเป็นรองในพลังทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและสังคม หากใช้การต่อสู้โดยวิธีรุนแรง เท่ากับเอาไข่ไปกระแทกหิน พ่ายแพ้ แต่ถ้าใช้วิธีไม่รุนแรง ใช้อ่อนพิชิตแข็ง ยังมีโอกาส ด้วยพลานุภาพของมวลชน เป็นโอกาสได้ชัยชนะทางการเมือง

การวางแผน กุมเป้าหมาย ทิศทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี แนวทางปฏิบัติใช้วิธีไร้ความรุนแรงจะต้องเป็นรูปธรรมชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของมวลชน ประเด็นเคลื่อนไหว ต้องสามารถสร้างแรงกดดันต่อเป้าหมายได้ อย่างมี พลานุภาพ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ไม่รู้เขา ไม่รู้เรา รบร้อยครั้ง แพ้ร้อยครั้ง

ชัยชนะหรือพ่ายแพ้ขึ้นอยู่กับความรู้ในยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยใช้ความรู้ในพิชัยสงครามในการประเมินสถานการณ์ทางการเมือง รู้เขา รู้เรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น