+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เกี่ยวกับ สันติวิธีไร้ความรุนแรง


ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยบทที่ 9 ความรู้ยุทธศาสตร์สันติวิธีไร้ความรุนแรง  พิชัยสงครามเจียงไท่กง  กล่าวว่าหลักการความแข็งพิชิตความอ่อนได้ ความอ่อนก็พิชิตความแข็งได้ หลักการอ่อนพิชิตแข็ง ต้องมองให้เห็นหลักการ ฟังให้รู้เรื่องราว และรับรู้ชัยชนะให้ได้ซึ่งเหยี่ยวจะโฉบเหยื่อย่อมหุบปีกและบินต่ำลง สัตว์ร้ายจะล่าเหยื่อ ย่อมหมอบซุ่ม ปราชญ์เมธีจะกระทำการใด ย่อมจักแสดงสีหน้าของความเขลา มีความรู้เหมือนไม่รู้

ความรู้ปฏิบัติการโดยวิธีไร้ความรุนแรง ปฏิบัติการวิธีไร้ความรุนแรงซึ่งเป็นหลักการประชาธิปไตย คือหลักการอ่อนพิชิตแข็ง เป็นวิธีการที่ใช้ควบ คุมการต่อสู้ และทำลายอำนาจของฝ่ายตรงข้าม ด้วยการแสดงอานุภาพโดยวิธีการที่ไม่รุนแรง เพื่อต่อต้านการกระทำของฝ่ายตรงข้ามที่ใช้ปฏิบัติการด้วยความรุนแรงกับประชาชน

กระบวนการปฏิบัติโดยวิธีไร้ความรุนแรง เป็นวิธีการต่อสู้ในสถานการณ์ของความขัดแย้ง เปรียบเสมือนการทำสงครามมากกว่าการเจรจาต่อรอง ใช้อำนาจเพื่อต่ออำนาจของฝ่ายตรงข้าม เป็นการตอบโต้อำนาจ  ของฝ่ายตรงข้ามโดยวิธีการที่ไม่รุนแรง มากกว่าใช้ความรุนแรงทางการเมือง

การปฏิบัติการ  เริ่มจาก การประเมินสถานการณ์ วางเป้าหมาย ทิศทางยุทธศาสตร์ และยุทธวิธและแนววทางปฏิบัติ การเคลื่อนไหว ต้องเก็บงำ ซ่อนเร้น ถ่อมต่ำ ผนึกแน่น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ตลอดจนการพลิกแพลงตามสถานการณ์ โดยพุ่งเป้าไปที่ความเคลื่อนไหวของศัตรู จึงจะสามารถเอาชนะศัตรู

เป้าหมาย เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยที่มีเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ จัดตั้งรัฐบาลโดยการกุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

ประเด็นสำคัญ เรื่องที่สามารถสร้างแรงกดดัน ต่อฝ่ายตรงข้าม อย่างมีพลานุภาพ ได้แก่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 การล้มเหลว ในการบริหาราชการ การทุจริต.คอร์รัปชั่น ของรัฐบาลในขณะนั้น  การบังคับใช้กฎหมายอำนวยความยุติธรรมแบบ 2 มาตรฐาน ไม่เป็นไปตาม หลักนิติธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล และการตั้งรัฐบาลไม่มีความชอบธรรม ตามหลักการประชาธิปไตย

ซุนวู กล่าวว่า อันหลักแห่งการบัญชาการ จะต้องระดมกำลังคน ยุทโธปกรณ์ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เสบียงอาหาร ต้อง เอาชนะโดยเร็ว มิยืดเยื้อ แล้วสรุป เป็นหลักการต่อสู้ทางการเมือง

ความรู้หลักการยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย เรียกว่า เป็นกฎเหล็ก ในการปฏิบัติเพื่อความแข็งแกร่ง ของมวลชน มี5ประการ ได้แก่
1.การต่อสู้เพื่อชัยชนะโดยวิธีไร้ความรุนแรง
2.เคลื่อนกำลังมวลชนต่อเมื่อเล็งเห็นผลประโยชน์
3.เมื่อเปิดศึกต้องชนะโดยเร็วเลี่ยงการทำศึกยืดเยื้อ
4.ไม่ควรระดมมวลชนชุมนุมใหญ่ ค่าใช้จ่าย เสบียง บ่อยครั้ง
5.ไม่ควรทำศึกที่ใหญ่เกินตัวที่ไม่อาจเอาชนะได้



การต่อสู้ทางการเมืองโดยสันติวิธีไร้ความรุนแรง ตามหลักการพิชัยสงคราม เป็นการบูรณาการความรู้ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย จะบังเกิดพลานุภาพในการต่อสู้ของประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น