ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยบทที่ 15 บูรณาการความรู้ศาสตร์และศิลปทางการเมือง พิชัยสงครามเป็นความรู้ในสงครามการเมือง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่อาจปฎิเสธได้ว่า เป็นการต่อสู้ระหว่างแนวคิดเก่าอนุรักษ์นิยมกับแนวคิดใหม่ประชาธิปไตย ก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ในประเทศมีผลต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศโดยเฉพาะสภาพความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่ความมั่นคง และการพัฒนาในด้านต่างๆของประเทศอย่างมหาศาล ไม่คุ้มค่าใดๆ พลังอำนาจของชาติเสื่อมทรุด เป็นจุดอ่อนของประเทศ การสมานฉันท์ปรองดองทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย จึงจะนำประเทศรอดพ้นจากวิกฤติในประเทศ
ความรู้ด้านพิชัยสงครามเป็นศาสตร์และศิลป ปัญหามีอยู่ว่าเราจะบูรณาการศาสตร์และศิลป ไปสู่การปฏิบัติในทางการเมืองอย่างไร สรุปเป็นกรอบแนวคิดดังนี้ 1)สถานการณ์ทางการเมือง 2)วางเป้าหมาย 3)วิเคราะห์ความเป็นไปได้ 4)เปรียบเทียบ รู้เขา รู้เรา 5)กำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธี 6)ติดตามประเมินผล 7)แก้ไขปรับปรุง แปรผันตามสถานการณ์
ในสถานการณ์หนึ่งอาจจะต้องใช้ความรุนแรง แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยใดๆ บทความที่เขียนขึ้น ปราศจากอัตวิสัยอย่างใดวิเคราะห์ด้วยแนวคิดวิภาษวิธี ทฤษฎีทางการเมืองและตำราพิชัยสงครามโบราณและสมัยใหม่ ประกอบกับสถานการณ์ในปัจจุบันแล้ว จึงสรุปเป็น ความคิดรวบยอดในการต่อสู้ทางการเมืองโดย สันติวิธีไร้ความรุนแรง เพื่อการนำเสนอให้เป็นที่เข้าใจของคนทั่วไป มองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งและสามารถนำไปปฏิบัติได้ในสถานการณ์จริงๆ
โมเดลความรู้พิชัยสงคราม ยุทธศาสตร์สันติวิธี จะสืบค้นได้จาก อินเตอร์เน็ต หรือหนังสืออื่นๆ ขอขอบคุณ ผู้แปล สำนักพิมพ์ หนังสือ (แปล)ที่ใช้ประกอบการเขียนบทความ จนเสร็จสมบูรณ์ The Prince, เทคนิครัฐประหาร, อำนาจและยุทธวิธีไร้ความรุนแรง, พิชัยสงครามจีน 7 เล่ม 36 กลยุทธ์, ศิลปะการใช้กลยุทธ์, เป็นการเสริมความรู้ ติดอาวุธทางปัญญา ให้ประชาชน
โบราณาจารย์ทางพิชัยสงครามกล่าวว่า จงสู้รบด้วยใช้สติปัญญา สอดคล้องกับวัฎฎจักรแห่งธรรมชาติ กล่าวคือ
ดิน ยามตั้งรับ จงสงบนิ่งเหมือนภูเขาและล้ำลึกดั่งหุบเขา
ไฟ ยามรุก จงโหมกระหน่ำดุจประกายไฟไหม้ลาม ทุ่ง
ลม ยามเคลื่อน จงเคลื่อนไหวรวดเร็วเช่นสายลม ไม่ทิ้งร่องรอย
น้ำ ยามรบ จงอ่อนหยุ่นเสมือนน้ำ พลิกแพลงตามสถานการณ์
ความว่าง เป็นศูนย์กลาง สงบสยบเคลื่อนไหว เล็งเห็นประโยชน์พึงเคลื่อน ไม่เ ห็นประโยน์อย่าเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย ผู้ชาญพิชัยยุทธ์ ย่อมรู้และเข้าใจในสภาวะความมีอ ยู่และความแปรเปลี่ยนของธาตุทั้ง5ซึ่งเป็นวัฏฏจักรธรรมชาติในยามสู้รบจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างป ระสานสอดคล้องกลมกลืนเป็นหนึ่งเ ดียวดุจธรรมชาติ ในยามตั้งรับรับอย่างมั่นคง รอเป็นโอกาสรุกอย่างเป็นฝ่ายกระทำอย่างต่อเนื่อง แปรผันอย่างไม่สิ้นสุด
โบราณาจารย์ทางพิชัยสงครามกล่าวว่า จงสู้รบด้วยใช้สติปัญญา สอดคล้องกับวัฎฎจักรแห่งธรรมชาติ กล่าวคือ
ดิน ยามตั้งรับ จงสงบนิ่งเหมือนภูเขาและล้ำลึกดั่งหุบเขา
ไฟ ยามรุก จงโหมกระหน่ำดุจประกายไฟไหม้ลาม
ลม ยามเคลื่อน จงเคลื่อนไหวรวดเร็วเช่นสายลม ไม่ทิ้งร่องรอย
น้ำ ยามรบ จงอ่อนหยุ่นเสมือนน้ำ พลิกแพลงตามสถานการณ์
ความว่าง เป็นศูนย์กลาง สงบสยบเคลื่อนไหว เล็งเห็นประโยชน์พึงเคลื่อน ไม่เ
ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย ผู้ชาญพิชัยยุทธ์ ย่อมรู้และเข้าใจในสภาวะความมีอ
ความรู้ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย เป็นการใช้ความรู้จากพิชัยสงครามในการต่อสู้ทางการเมืองโดยสันติวิธีไร้ความรุนแรงชัยชนะจะได้มาด้วยการต่อสู้ทางปัญญา ความรู้คือพลานุภาพของประชาชนนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น