+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เกี่ยวกับ การรัฐประหารและต้านรัฐประหาร


ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยบทที่ 13 ความรู้การรัฐประหารและต้านรัฐประหารของรัฐบาล  จากการศึกษาหนังสือ เทคนิครัฐประหาร ของคูร์สิโอ มาลาปาเต ปรากฏว่าเป็นโมเดลการรัฐประหารในประเทศไทย เริ่มแต่ พ.ศ. 2475-2551 ผู้เขียนเห็นว่ารัฐประหารที่ทำสำเร็จ มีมาแล้ว 14 ครั้ง เฉลี่ย 6 ปีต่อครั้ง ที่ไม่สำเร็จอีกหลายครั้ง ถ้าครั้งแรกให้เครดิตว่าเป็นการปฏิวัติ ก็เป็น ปฏิวัติ 1 ครั้ง รัฐประหาร 13 ครั้งนับว่ายังอยู่ในลำดับต้นๆของโลกภายใต้วงจรอุบาทว์ทางการเมือง เป็นวังวนไม่สิ้นสุดกล่าวคือรัฐประหารโดยคณะทหารประกาศใช้รัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งระบบรัฐสภาประชาธิปไตย และจัดตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้งเป็นกุศโลบายทางการเมืองของคณะทหารในการยึดอำนาจจากรัฐบาล แล้วปล่อยอำนาจคืนให้แก่ประชาชน ทำให้ขาดการสืบเนื่อง ในการพัฒนาการเมืองระบอบประชาธิปไตย

การรัฐประหารล้มล้างประชาธิปไตย กรณีรัฐประหาร 19 กันยายน 2549  กองทัพรัฐประหารเป็นการใช้กำลังทหารยึดอำนาจรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตย ที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากจากประชาชนตามรัฐธรรมนูญ /2540 ฉบับประชาชน เพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองเป็นระบบเผด็จการอำนาจนิยม ซึ่งไม่เป็นไปตาม หลักการประชาธิปไตย ในการที่รัฐบาลจะต่อต้านรัฐประหารเป็นความชอบธรรมของรัฐบาลที่ต้องใช้ความรู้ในหลักพิชัยสงคราม เทคนิครัฐประหาร เงื่อนไขรัฐประหาร รูปแบบและโมเดลรัฐประหาร รู้เขารู้เรา 

ความรู้ในเทคนิครัฐประหาร  เทคนิครัฐประหารคือกระบวนการรัฐประหาร โดยมีการวางแผน และสร้างสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง โดยเริ่มจากการทำสงครามข้อมูลข่าวสาร ใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นประโยชน์ในแบบเชิงรุก Offensive-Tactics ประกอบด้วยการดัดแปลงข่าว (Info-Tactics)และการสร้างข่าว (Meta Tactics) ก่อนที่จะส่งผ่านสื่อต่างๆออกไปสู่ประชาชน สร้างความเข้าใจผิดให้แก่ประชาชน ต่อรัฐบาลในขณะนั้น การควบคุมช่องทางการสื่อสารคงการโจมตีไว้ต่อบุคคลและรัฐบาล มีการระดมทุนจากกลุ่มทุนและบุคคลต่างๆ ปลุกระดมมวลชน เคลื่อนไหวเดินขบวนประท้วงรัฐบาล เพื่อก่อให้เกิดความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ในประเทศ การใช้กำลังทหารโดยอำพรางเป้าหมายในการเคลื่อนย้าย สับเปลี่ยนกำลังทหารเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล หรือการใช้หน่วยทหารเคลื่อนที่เร็ว รุกเข้าจู่โจมยึดอำนาจจากรัฐบาล ประชาธิปไตยและควบคุมอำนาจทางการเมืองที่เป็นอำนาจอธิปไตยของประชาชน

ความรู้ในเงื่อนไขรัฐประหาร  เงื่อนไขของการรัฐประหารที่ใช้เป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ฝ่ายอำนาจนิยมโดยกองทัพกระทำรัฐประหารยึดอำนาจล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากโดยชอบธรรมจากประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จากการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ข้ออ้างของฝ่ายรัฐประหารที่กล่าวอ้างเป็นประจำกลายเป็นสูตรสำเร็จของการรัฐประหารในประเทศไทย สรุปโดยสังเขป ดังนี้
1.การแย่งชิงพื้นที่อำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมควบคุมอำนาจและครอบครองทรัพยากรมาต่อเนื่องยาวนาน เมื่อพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งต่อฝ่ายประชาชนประชาธิปไตย จึงไม่ยอมรับในกฏเกณฑ์สียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย มีข้อกล่าวหาที่รับไม่ได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์และยุติธรรม
2.การสร้างเงื่อนไขร้ฐประหารของฝ่ายอำนาจนิยมโดยการใช้กลไกทางการเมืองและราชการในการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความขัดแย้งวิกฤตการเมือง ที่มิได้เกิดขึ้นและเป็นไปตามวิถึธรรมชาติทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
3.การก้าวล้ำพรมแดนของอำนาจตามรัฐธรรมนูญของฝ่ายการเมืองที่กระทำต่อฝ่ายข้าราชการประจำและกองทัพและองค์กรอิสระที่ใช้อำนาจในทางตุลาการ ซึ่งเป็นการการขัดกันของอำนาจและผลประโยชน์ ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายการเมือง และฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจำและกองทัพ
4.การล้มเหลวในการบริหารราชการของรัฐบาล การทุจริต และคอร์รัปชั่นของภาคการเมือง ภาครัฐและภาคเอกชนในเชิงนโยบาย การมีวาระซ่อนเร้นในการใช้งบประมาณของประเทศ ซึ่งฝ่ายการเมืองเป็นผู้สั่งการ แต่ฝ่ายข้าราชการประจำเป็นผู้ปฏิบัติกลายเป็นแพะรับบาป
5.การก่าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการประจำของฝ่ายการเมือง ทำให้ข้าราชการที่เคยเป็นรากฐานอันเข้มแข็ง กลายเป็นรากฐานอันคลอนแคลนของประเทศ

รูปแบบการรัฐประหาร มี 2 แบบ คือการรัฐประหารโดยใช้กำลังทหารยึดอำนาจเป็นรัฐบาลของคณะทหาร
และการรัฐประหารเงียบโดยคณะทหารสร้างแรงกดดันเปลี่ยนแปลงรัฐบาล

ผลกระทบจากการรัฐประหาร โดยสรุปดังนี้
1.ประเทศไม่ได้รับความไว้วางใจและขาดความน่าเชื่อถือ ในทางการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเหตุให้เกิดการคัดค้านต่อต้านจากประเทศประชาธิปไตยในโลก
2.พลังอำนาจแห่งชาติของประเทศไทยเสื่อมทรุด ในด้านการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจ และสังคม ก่อให้เกิดความไ่ม่เสมอภาคและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
3.ประชาชนในชาติแตกแยก บ้านเมืองระส่ำระสาย ขวัญกำลังใจของราษฏรตกต่ำ ขาดปรองดองสงบสันติ เป็นปัญหาสภาพสังคมจิตวิทยาในประเทศ
4.การเมืองไร้เสถียรภาพ เนื่องจากมีการรัฐประหารโดยเฉลี่ยทุก 6 ปีต่อครั้ง ทำให้ขาดความสืบเนื่องในการพัฒนาการเมืองในการวิวัฒน์ไปสู่ ระบอบประชาธิปไตยอย่างสากลประเทศ
5.รัฐประหารเป็นการสร้างบาดแผลให้กับประเทศไทยกลายเป็นคนขึ้โรคแห่งเอเชีย ไม่อาจใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วได้อย่างเต็มที่เชิงแข่งขันในการบริหารการพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศชั้นนำในเอเชีย

รัฐบาลต้องกระทำการต้านรัฐประหาร  คูร์สิโอ มาลาปาเต จากหนังสือเทคนิครัฐประหารกล่าวไว้เป็นความรู้ต้านรัฐประหาร เกี่ยวกับ  ปัญหาเรื่องของการพิชิตรัฐ และการป้องกันรัฐไม่ใช่ปัญหาการเมือง หากเป็นปัญหาเทคนิค และศิลปะในการป้องกันรัฐก็เป็นศิลปะที่มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับศิลปะในการพิชิตรัฐ ในการทำสงครามการเมือง เป็นสงครามข้อมูลข่าวสารใช้ข้อมูลสารสนเทศในเชิงป้องกัน-โต้ตอบ Defensive-Tactics ประกอบด้วย ข้อมูลจริง(Data-Tatics)และแก้ข่าว-เข้าถึง(Mega-Tactics) ในการต้านรัฐประหารของรัฐบาล มีเทคนิคต้านรัฐประหาร.โดยใช้ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย ดังนี้

1.การขจัดเงื่่อนไขรัฐประหาร การสร้างความสมดุลแห่งอำนาจทางการเมืองระหว่างสถาบันทางการเมือง พรรคร่วมรัฐบาล และในพรรครัฐบาล ตลอดจนสมดุลของอำนาจในกองทัพเพื่อให้กองทัพสนับสนุนประชาธิปไตย
2.การควบคุมพื้นที่ ป้องกันทำเนียบและรัฐสภา ซึ่งเป็นศูนย์อำนาจบัญชาการของรัฐบาลมิให้ถูกยึดโดยฝ่ายรัฐประหาร   
3.การควบคุมการข่าว การหาข่าวและข่าวกรอง เกาะติดการเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐประหาร และเครือข่ายต่างๆ เพื่อประเมินสถานการณ์ในขณะนั้นๆ
4.การควบคุมตรึงกำลัง สกัดกั้นและทำลายยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ดลอดจนการเคลื่อนไหวกองกำลังของฝ่ายรัฐประหาร ตัดไฟแต่ต้นลม
5.การใช้กฏหมายเป็นอาวุธ การบังคับใช้กฏหมาย ดำเนินคดีกับพวกผู้นำผู้ก่อการรัฐประหาร จับโจร จับหัวโจก 
6.การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารทางการเมือง และเปิดโปงการกระทำของฝ่ายรัฐประหารแก่ประชาชนและชาวโลก
7.การรวมพลังทั้งในสภาและนอกสภา การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารโดยการประชุมรัฐสภา การแสดงพลานุภาพของประชาชนนอกสภา และการรวมพลังต้านรัฐประหารโดยเรียกร้องต่อประเทศมหาอำนาจและสหประชาชาติ

การให้ความรู้ประชาธิปไตยแก่ประชาชน รัฐประหาร Juntaเป็นแบบแผนปฏิบัติที่ขัดแย้งกับวิถีการเมืองระบอบประชาธิปไตย  เป็นสิ่งไม่จำเป็นเมื่อยังสามารถเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย     และผลกระทบจากการรัฐประหารในการพัฒนาด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคมรวมทั้งคุณภาพชีวิตของประชาชนภายใต้การบริหารของรัฐบาลJunta เพื่อเป็นการป้องกันรัฐประหารในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น