ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยบทที่ 12 ความรู้ระบบอาวุธที่ไร้ควารุนแรง พิชัยสงคราม กล่าวว่า แข็งย่อมชนะอ่อน แต่อ่อนสามารถชนะแข็ง อำนาจและยุทธวิธีไร้ความรุนแรง เขียนโดยยีน ชาร์ป ผู้แปล ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และคมสันต์ หุตะแพทย์ อธิบายไว้ว่า ระบบอาวุธที่ไร้ความรุนแรงในทางการเมือง เป็นการใช้วิธีไร้ความรุนแรง ตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่ใช้วิธีรุนแรง เราต้องมีความรู้ในระบบอาวุธที่ไร้ความรุนแรง และเลือกใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมือง เป็นการกระทำ ที่ปราศจากอาวุธ ที่ใช้ในสงครามเรียกว่า ศาตราวุธที่ไร้ความรุนแรงเป็นอาวุธทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ระบบความรู้ศาสตราวุธที่ไร้ความรุนแรง เป็นการกระทำในทางสันติวิธึโดยปราศจากอาวุธ ได้แก่การประท้วงและการโน้มน้าว คำประกาศ หรือแถลงการณ์อย่างเป็นทาง การการสื่อสารต่อสาธารณชน ข่าวสารคืออำนาจ โดยใช้ข้อมูลจริง(Fact News) ต่อต้านข้อมูลเท็จ(Fake News) ของรัฐบาลในประเทศและต่างประเทศ การใช้ตัวแทนกลุ่ม การปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์ การชุมนุมในพื้นที่ต่างๆอย่างกว้างขวาง การจัดขบวนเดินการสร้างแรงกดดันต่อปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคล การตรวจสอบและสอบสวนกลับและเปิดโปงพฤติการณ์ต่อสาธารณะ การเสริมสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตย ศาตราวุธที่ไร้ความรุนแรง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
การไม่ให้ความร่วมมือและแทรกแซงทางการเมือง ได้แก่ การคว่ำบาตรทางการเมือง
การปฏิเสธอำนาจฝ่ายตรงข้าม การดื้อแพ่งและไม่ปฎิบัติตามคำสั่งและกฎหมาย
การตอบโต้การกระทำและเปิดโปงพฤติการณ์การตรวจสอบ และดำเนินการทางกฎหมาย
การบังคับโดยไร้ความรุนแรงการควบคุมจำกัดพื้นที่
การตรวจสอบการทำงานของฝ่ายตรงข้าม
เพื่อเป็นการควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
การไม่ให้ความร่วมมือและแทรกแซงทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ไม่ใช้บริการและไม่ซื้อสินค้า
การนัดหยุดงาน และการนัดหยุดงานในเชิงสัญลักษณ์การหยุดยั้งกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจ การเลือกสนับสนุน การสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่
การยึดพื้นที่ทางเศรษฐกิจโดยไม่ใช้ความรุนแรง การสร้างตลาดใหม่
และการสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจใหม่เพื่อเป็นการตัดการสนับสนุนทรัพยากรทาง
ด้านเศรษฐกิจ
การไม่ให้ความร่วมมือและแทรกแซงทางสังคม ได้แก่ การคว่ำบาตร ทางสังคม ไม่ร่วมสมาคมกับบุคคล อัปเปหิบุคคลไม่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรม ประเพณีกับองค์กรและสถาบันทางสังคม การสร้างแบบแผนทางสังคมขึ้นมาใหม่แตกต่างจากระบบเก่า การจัดตั้งระบบการสื่อสารชนิดใหม่ในระดับ ที่กว้างพอที่จะท้าทายระบบการสื่อสารและสื่อเก่า เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ซึ่งถูกควบคุมโดยฝ่ายตรงข้าม เพราะการควบคุมการสื่อสารเป็นการควบคุมการเมืองไม่ให้เกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในประชาชน
การให้ความรู้ข้อมูลข้อเท็จจริงให้เข้าใจในข่าวสาร โดยรัฐบาล และระบบราชการ ทุกระบบ ต้องขึ้นอยู่กับการยินยอมเชื่อฟัง การช่วยเหลือ และความร่วมมือจากประชาชน แต่ถ้าประชาชนเหล่านี้เห็นว่ารัฐล้มเหลวประชาชนเดือดร้อน พวกเขาย่อมมีความสามารถในการจำกัด หรือเพิกถอน การมีส่วนร่วม และการยินยอมเชื่อฟัง ทุกๆระบบ ถ้าการเพิกถอนนั้น กระทำโดยประชาชน เป็นจำนวนมากๆ ถ้าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามกฏหมาย ที่สุดในช่วงเวลาที่ยาวนานพอควรแล้ว รัฐบาลนั้น ก็อาจจะมาถึงจุดพังทลายได้ วิธีแก้ไขปัญหารัฐบาลจะต้องแก้ไขปัญหาต่างๆไม่ใช้ความรุนแรงแต่ใช้วิธีการตามหลักการประชาธิปไตย
พิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า แข็งสามารถชนะอ่อน และอ่อนสามารถชนะแข็ง ความรู้ในระบบอาวุธที่ไร้ความรุนแรงในทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย และเลือกใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เป็นการใช้อ่อนพิชิตแข็ง เมื่อตกอยู่ในสภาวการณ์ที่เป็นรองฝ่ายตรงข้ามในทางการเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น