การเมืองประเทศไทย ปี2557 เกิดการรัฐประหารโดยฝ่ายอำนาจนิยมในกองทัพ ยึดควบคุมอำนาจโค่นล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทยโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้งเสียงข้างมากโดยชอบธรรมของประชาชนไทยในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการที่คณะรัฐประหาร คสช.ออกกฏและปฏิบัติการจำกัดสิทธิเสรีภาพเสมอภาคในการแสดงออกทางการเมืองของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เป็นการก้าวล้ำพรมแดนปทัสถานประชาธิปไตยของสังคมโลก
"ดร.ธีรบูรณ์ จิรานุวัฒน์ นักวิชาการด้านกฏหมายระหว่างประเทศ ได้อธิบายในเฟสบุ๊คส่วนตัว เกี่ยวกับเรื่อง การข่มขู่ คุกคาม และ การทำร้าย หรือ การฆาตกรรม ผู้ที่มีความเห็นต่าง ในวันนี้ ทำได้หรือไม่?
คำตอบ ทำไม่ได้แน่นอน และ เขตอำนาจในการพิจารณาคดี และ พิพากษาคดี ในประเภทนี้ จะเป็น เขตอำนาจซ้อนกัน ในระหว่าง ศาลไทย กับ ศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ
จึงเกิดคำถามต่อไปว่า "เหตุเกิดแล้ว ขึ้นศาล ไหน? หรือ ศาลไหน มีเขตอำนาจพิจารณา และ พิพากษาคดี ในประเภทนี้ คำตอบ ศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ เท่านั้น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ต้องไปดาวน์โหลด Resolutions ของคณะมนตรีความมั่นคง หรือ Security Council ขององค์การสหประชาชาติ มาศึกษาเสีย
ผม ได้เรียน เตือน มาหลายครั้งแล้ว Resolutions ที่่ ่อ้างถึงคือ Resolutions ที่ 827 (1993) เมื่อดาวน์โหลดมาได้ เรียบร้อยแล้ว ให้อ่านข้อที่ 4 ให้ดีๆ เขาใช้คำว่า รัฐ "ต้องให้ความร่วมมือ หรือ Cooperative" มีความหมายว่าอย่างไร?" และ ศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ไม่ว่าในคดี Dusan Tadic หรือ Dusko Tadic หรือ คดี Sesay et. al. ที่เซียร่า เรนโอน ต่างก็มีข้อเท็จจริง ที่ คล้าย หรือ เหมือนกัน และ ไปลงเอยที่ ศาลอาญาพิเศษในส่วนอุทธรณ์ ที่ กรุงเฮก (at the Hague) เหมือนกัน
จึงเป็นคำพิพากษาที่มีบรรทัดฐานว่า "เขตอำนาจการพิจารณา และ พิพากษาในคดี ที่มีข้อเท็จจริงรูปแบบนี้ และ เป็นไปตามสนธิสัญญา ป้องปราบ Genocideฯ, 1950 - 1951 ก็ดี สนธิสัญญาว่าด้วย การทรมานฯ,1984 ก็ดี ที่ประเทศไทย ได้ให้สัตยาบันแล้ว ทั้งสองสนธิสัญญา เฉพาะ สนธิสัญญาป้องปราบ Genocideฯ, 1950 - 1951 นั้นประเทศไทยลงนามให้สัตยาบันแก่ (สนธิสัญญา) International Covenant on Civil and Political Rights, 1966 หรือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปี ค.ศ. 1966
ประเทศไทย ประกาศเข้าร่วม อยู่ใต้บังคับของ สนธิสัญญาฉบับนี้ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 หรือ ปี ค.ศ. 1996 (สนธิสัญญา) International Covenant on Civil and Political Rights, 1966 หรือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปี ค.ศ. 1966 ที่บัญญัติ เอา ความตามสนธิสัญญาป้องปราบ Genocideฯ, 1950 - 1951 ทั้งหมดไว้ใน บทบัญญัติที่ ๕ และ บทบัญญัติที่ ๖ ของ(สนธิสัญญา) International Covenant on Civil and Political Rights, 1966 หรือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปี ค.ศ. 1966 ดังนั้น ประเทศไทย จึงต้องถูกบังคับ ตามสนธิสัญญาป้องปราบ Genocideฯ, 1950 - 1951 แม้ว่า ประเทศไทย มิได้ให้สัตยาบัน ในสนธิสัญญาป้องปราบ Genocideฯ, 1950 - 1951 โดยตรง จนถึง ทุกวันนี้ นี่เป็นการบังคับใช้สนธิสัญญาป้องปราบ Genocideฯ, 1950 - 1951 โดยอ้อม อย่างได้ผลไปทั่วโลก ซึ่งความเห็นของผมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังมีความดังต่อไปนี้ :
ผมได้เรียน ชี้แจงไปกับบางท่านแล้วว่า "การคุกคาม" ถ้าทำจริงดังว่า อาจเป็นความผิดเข้าขั้นฐาน "พยายาม Genocide" หรือ "เป็นความผิดในฐาน Genocide ขั้นทำการสำเร็จ" ซึ่งเมื่อเข้าเกาะกุม ผู้ เป็นเหยื่อ จะมีความผิดฐาน การทรมานสำเร็จ ความผิดทั้งสอง หรือ สามฐานนี้ เป็น ความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ ที่ต้องสอบสวน นำตัวไปฟ้อง ในศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ เท่านั้น เทียบไปแล้ว ไม่ต่างกับ เหตุการณ์ทั้งหลาย ที่ได้เกิด ในบอสเนีย เฮอร์เซ โกวีน่า หรือ ที่ราวันด้า รวมทั้ง ในเซียร่า เรนโอน
คนไทยส่วนใหญ่ ไม่รู้ ผม ว่าเรา ไม่ควรท้าทาย องค์การสหประชาชาติ ถ้าผู้บริหาร....ชุดนี้ "ทำเอาหู ไปนา เอาตาไปไร่" จะโดนเองเป็นชุดแรก ในฐาน เป็นตัวการ หรือ ผู้กระทำการ สนับสนุน ในการทำความผิด เหล่านี้ เสียเอง
เขา จับขึ้นศาล ฟ้อง ร้อง ลงโทษ มาเยอะแล้ว ผมจึงได้นำคดีชื่อว่า "Sesay et. al. มาลงให้ศึกษากัน ในช่อง "ชุมชนแห่งเสรีภาพ (the ชุมชนแห่งเสรีภาพ (the Land of Liberty บน FB นี้ ไปค้นหาอ่านได้ครับ
เชิญเลย ก็เพราะรู้ว่า เหตุเหล่านี้ จะเกิด จึงได้เตือน พ่อแม่ พี่น้อง ประชาชน ไว้ล่วงหน้า ไงล่ะ ครับ."
แต่ในที่นีมีกรณีศึกษาการฆ่าล้าเผ่าพันธู์ในสงครามกลางเมือง ระหว่างชนเผ่าคือเผ่าฮูตุกับทุตซี่ ประเทศราวันดา
"ในปี คศ.1994 เป็นสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ็ ซึ่งก่อเหตุโดยเผ่าฮูตูกระทำต่อเผ่าทุตซี่ซึ่งประชาชนชนเผ่าทุตซี่ถูกสังหารกว่าล้านศพในครั้งนั้น ภายใต้การนำของกลุ่มทหารหัวรุนแรงและกลุ่นคนหัวรุนแรงเผ่าฮูตูในประเทศ โดยการนำของพ้นเอกซีออนเนสต์ บาโกโซร่า เป็นผู้บงการร่วมมือโดยผู้บริหารสื่อหนังสือพิมพ์แคนกูร่าและสื่อวิทยุ RTML มีสาเหตุจากปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม การรักษาผลประโยชน์ทรัพยากรและงบประมาณ การควบคุมอำนาจการปกครอง การกลัวสูญเสียอำนาจรัฐของผู้เนำเผ่าฮูตู และการไม่ยอมอ่อนข้อปรองดองทางการเมือง
ในครั้งนี้การปฺฏิบัติการของผู้นำหัวรุนแรง เป็นการทำสงครามข้อมูลข่าวสารในเชิงรุกชี้นำกลุ่มชนเผ่าฮูตูให้ก่อเหตุรุนแรงร้ายแรงฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทุตซี่ ด้วยหารวางแผนอันแยบยล กำหนดเป้าหมาย สร้างเรื่อง กล่าวหาใส่ร้าย ใช้คำพูดแห่งความเกลียดชังโจมตี ข่มขู่และตอกย้ำ ล้างสมองเปลี่ยนความคิดเป็นสัญชาตญาณเถื่อน ให้กลุ่มหัวรุนรงเผ่าฮูตู กระทำการร้ายแรงสังหารอย่างโหดเหี้ยมฆ่าล้างเผ่าะันธ์ชนเผ่าทุตซี่ โดยใช้สื่อหนังสื่อพิมพ์และสื่อวิทยุ ในการส่งผ่านข้่อมูลข้อมูลข่าวสารชี้นำตอกย้ำชี้เปาหมายให้ทำการสังหารเผ่าทุตซี่นับล้านคน
ในที่สุดกองทัพของเผ่าฮูตูก็พ่ายแพ้พต่อกองทัพของเผ่าทุตซี่ RPF โดยการนำของพอล คากาเม เป็นประธานาธิบดีของประเทศราวันดาถึงปัจจุบันนี้ การกระทำของกลุ่มผู้นำหัวรุนแรงเผ่าฮูตู เป็นกระทำที่เป็นภัยร้ายแรงอาชากรรมต่อมนุษยชาติ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามหลักการประชาธิิปไตยในปฏิญญาสากลได้ถูกจับกุมตัวและถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตโดยICTR ซึ่งเป็นศาลของสหประชาชาติ "
อุทธาหรณ์ สำหรับรัฐบาลคสชและกลุ่มการเมืองฝ่ายอำนาจนิยมในประเทศไทย นักการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ สื่อเสี้ยม และ กลุ่มประชาชนต่างๆ ที่กำลังพยายามก้าวล้ำพรมแดนปทัสถานการเมืองระบอบประชาธิปไตยของสังคมโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น