+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สภาประชาชน ปฎิรูปการเมืองประเทศไทย



ปฏิรูปการเมืองประเทศไทย มีคำถามว่าแนวคิดสภาประชาชนมาจากไหน คือแนวคิดในการต่อสู้เพื่อเอาชนะทางการเมืองแนวทางหนึ่งใน 2 แนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในสมัยนั้นจากกลุ่มผู้นำในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยซึ่งมี 2 แนวทางคือ แนวทางแรกการต่อสู้ติดอาวุธในป่า แนวทางที่สองการต่อสู้ทางรัฐสภา ในการยึดอำนาจรัฐประเทศไทย

การเมืองรัฐประหารโดยกองทัพหรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(คสช.)เมื่อวันที่22พฤษภาคม 2557 โค่นล้มรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยพรรรคเพื่อไทยของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นโ ดยคสช. ดำเนินการปฏิรูปประเทศในครั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หน. คสช.และนายกรัฐมนตรี ในขณะนี้ คาดหวังว่าจะเป็นการทำเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษ้ตริย์ และประชาชน 

การปฏิรูปการเมืองนั้น คสช.ควรต้องกระทำด้วยความระมัดระวังรอบคอบเพราะเป็นการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกแบบโครงสร้างการปกครองของประเทศเป็นกรอบพื้นฐานในการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย เพื่อให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ในประเทศ ร่างรัฐธรรมมนูญฉบับใหม่ควรมีการจัดสรรความสมดุลแห่งอำนาจทางการเมือง ให้กลุ่มการเมืองได้แก่กองทัพ ข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ต่างมีพื้นที่การเมืองตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จงรู้เท่าทันยุทธศาสตร์"สภาประชาชนหรือสภาเปรสซิดียม ตามระบอบคอมมิวนิสต์"ของอดีตนักคิดคอมมิวนิสต์สายแนวทางต่อสู้ทางรัฐสภาที่กลับตัวกลับใจมาช่วย กอ.รมน. ปราบคอมมิวนิสต์สายแนวทางต่อสู้ด้วยอาวุธในป่าจนได้ชัยชนะในที่สุด ซึ่งแนวคิดนี้ได้ตกทอดมาถึงบรรดาอดีตกลุ่มผู้นำนักศึกษาไทยที่เข้าป่าหลัง วันที่ 6 ตุลาคม 2519 แล้วออกมาจากป่ามามอบตัวต่อ กอ.รมน.ตามแนวทางการต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์นโยบาย "การเมืองนำการทหาร" ของรัฐบาลในขณะนั้น และต่อมาบางคนสำเร็จการศึกษาระดับสูง มีอาชีพการงานมีตำแหน่งหน้าที่สูงในสังคมและบางคนเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ 

สภาประชาชน แม้ว่าจะเป็นปฏิบัติการมีเป้าหมายกระชับอำนาจอธิปไตยของประชาชนในระบอบประชา ธิปไตย มันจะเป็นการขว้างงูไม่พ้นคอกลับมารัดคอตนเอง แต่เป็นการ"ก่อเชื้อ"เร่งปริวรรตนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขไปสู่ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย ในอนาคตก็อาจเป็นไปได้ในทางการเมือง 

แนวคิดสภาประชาชนหรือสภาเปรสซิเดียม ถ้า ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ยังมีชีวิตอยู่ เชื่อมั่นว่า ท่านจะไม่ยอมรับอย่างแน่นอนและคัดค้านจนถึงที่สุดเหมือนตอนที่ท่านได้เคยคัดค้านมาแล้วครั้งเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในสมัยนั้น เพราะท่านรู้เท่าทันและเข้าใจดีว่า ในระยะยาวแนวคิดนี้ จะเป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์


จงศึกษาบทเรียนประเทศเนปาล สภาประชาชน เป็นปฏิบัติการอมาตยาธิปไตย กระชับอำนาจอธิปไตยของประชาชนประชาธิปไตย มากกว่าเป็นการปฏิรูปการเมืองประเทศไทย ไปสู่ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัคริย์เป็นประมุข 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น