+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข้อมูลข่าวสารเป็นความรู้ พลานุภาพทางการเมือง


พลานุภาพของความรู้ข้อมูลข่าวสาร ในการทำสงครามการเมืองสงครามประชาชน  ในยุคโลกาภิวัตน์ข้อมูลข่าวสารคืออำนาจ ใครควบคุมข้อมูลข่าวสารคนคนนั้นควบคุมการเมือง เป็นสงครามข้อมูลข่าวสารชิงประชาชน   "ชนะโดยไม่ต้องรบ"ในการควบคุมประชาชนทางการเเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ความรู้สงครามสารสนเทศ ปัจจุบันเป็นโลกยุคโซเซียลมีดีย "ข้อมูลข่าวสารคืออำนาจ" ชัยชนะในสงครามข้อมูลข่าวสาร ขึ้นอยู่กับข้อมูลความจริงที่นำเสนอต่อประชาชน "การเปิดเผยความจริงสู่สาธารณะนับว่าทรงพลังยิ่ง"

การใช้ข้อมูลข่าวสารในเชิงแข่งขันจากหนังสือ Power Shift ผู้เขียน Alvin Toffler. ผู้แปล ขุนทอง ลอเสรีวานิช อธิบายว่า 

สงครามสารสนเทศ หรือสงครามข้อมูลข่าวสาร คือการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร เป็นการชิงความได้เปรียบในการแข่งขันทางการเมือง หรือการทหาร หรือการธุรกิจเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโดยการนำเสนอต่อ สาธารณะ

กระบวนการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร ประกอบด้วย 1ข้อมูลข่าวสาร...ข่าวสารเรื่องอะไร เป้าหมายของข่าวสารเป็นใคร ข่าวสารส่งจากที่ไหน ส่งข่าวมาเมื่อไร ทำไมส่งข่าวสาร ใช้วิธีส่งข่าวสารอย่างไร 2) ประเมินค่าความเป็นไปได้และผลกระทบจากข่าวสาร 3)รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับข่าวสาร 4)แนวทางใช้กลยุทธ์โต้กลับเชิงรุกหรือป้องกัน 5)สื่อสารเผยแพร่และเสนอข่าวสารต่อประชาชน

กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านข้อมูลข่าวสารมีทั้งการรุก และการป้องกัน กล่าวโดยสรุป มีดังนี้

1,.Offensive Tactics เป็นกลยุทธ์เชิงรุกคือปฏิบัติการรุกด้านการข่าว มี 2 แบบ คือ
1.1.Info-Tactics เป็นกลยุทธ์ข่าวลวงคือการดัดแปลงบิดเบือน หรือจัดการข้อมูลข่าวสาร ก่อนที่จะส่งผ่านสื่อออกไปสู่ประชาชน
1.2.Meta-Tactics เป็นกลยุทธ์ในระดับที่ลึกกว่า คือการเข้าไปจัดการกับกระบวนการผลิตข้อมูลข่าวสารตามหลัก Info-Tactics ก่อนที่นำเสนอเผยแพร่สู่สาธารณะ

2.Defensive-Tactics เป็นกลยุทธ์เชิงป้องกันคือการป้องกันและโค้กลับด้านการข่าว มี 2 แบบ คือ
2.1.Data-Tacticsเป็นกลยุทธ์ตอบโค้คือการโต้ตอบข้อมูลข่าวสารเท็จข่าวลวงด้วยข้อมูลข้อเท็จจริงแล้วส่งผ่านสื่อไปสู่ประชาชน
2.2.Mega-Tactics เป็นกลยุทธ์ป้องกันและโต้กลับคือการหาที่มาของแหล่งผลิตข่าวเท็จด้วยป้องกันและโต้กลับตามหลัก Data-Tactics ก่อนมีการเสนอต่อสาธารณะ

สงครามข้อมูลข่าวสาร เป็นการเคลื่อนไหวในสื่อและโลกไซเบอร์ เป็นการร่วมนำ โดยการสร้างกลุ่ม สร้างเครือข่ายและขยายเครือข่าย ช่องทางการสื่อสาร ถ่ายทอดความคิดข้อมูลความจริงต่อสาธารณะ ก่อกระแสหมุนเวียนหนุนเนื่องในโลกไซเบอร์ ผู้เขียนแบ่งตามหลักการรบของซุนวู เป็น 2 แบบ คือ 
1.แบบทางตรงหรือธรรมดา เป็นการโต้ตอบสวนกลับ หรือประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก ให้ข้อมูลความรู้ความจริงผ่านสื่อและโลกไซเบอร์ต่อสาธารณะ 
2.แบบทางอ้อมหรือพิศดาร เป็นป้องกันเชิงรุกกระทำต่อหน่วยไซเบอร์ฝ่ายตรงข้าม โดยการป้องกัน ควบคุมการเคลื่อนไหว มิให้บิดเบือนความจริงให้ข้อมูลเท็จและสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน

ความรู้ข่าวสารเป็นพลานุภาพ ยุคการสื่อสารไร้พรมแดน เทคโนโลยี่เปลี่ยน โลกเปลี่ยนแปลง โซเชียลมีเดีย ยุคข้อมูลข่าวสารคืออำนาจ สงครามไซเบอร์หรือสงครามข่าวสารมีบทบาทในการแข่งขันทางการเมือง การทหาร การธุรกิจ การสื่อสาร การศึกษา ในยุคปัจจุบันและอนาคต

Offensive Tacticsคือการทำสงครามสารสนเทศในเชิงรุกประกอบด้วยInfo-Tactics เป็นกลยุทธ์ ดัดแปลงบิดเบือน หรือจัดการข้อมูลข่าวสาร ก่อนที่จะส่งผ่านสื่อออกไปสู่ประชาชน และMeta-Tactics เป็นกลยุทธ์ในระดับที่ลึกกว่า คือการเข้าไปจัดการกับกระบวนการผลิตข้อมูลข่าวสารตามหลักInfo-Tactics ก่อนที่นำเสนอเผยแพร่สู่สาธารณะ

การทำสงครามสารสนเเทศในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ กลุ่มแรกกลุ่มการเมืองชนชั้นนำและเครือข่ายทุนสื่อต่างๆของฝ่ายอนุรักษ์นิยม เป็นการกระทำพยายามปิดกั้นปิดล้อมช่องทางการสื่อสารทางการเมืองของรัฐบาลสู่ประชาชน โดยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งมีการการดัดแปลง บิดเบือน จัดการนำเสนอผ่านสื่อต่อประชาชน เพื่อโน้มน้าวประชาชนให้เกลียดชังประท้วงโค่นล้มรัฐบาล กลุ่มที่สองกลุ่มการเมืองและมวลชนประชาธิปไตยเป็นการโต้กลับสงครามสารสนเทศเพื่อทะลายกำแพงการปิดล้อมควบคุมการสื่อสารจากทุนสื่อของฝ่ายตรงข้ามด้วยและข้อมูลข้อเท็จจริงข่าวสารต่างๆสามารถกระจายสู่สาธารณะได้อย่างรวด เร็วฉับพลันในวงกว้างด้วยการสร้างช่องทางการสื่อสารใหม่ และขยายเครือข่ายเพิ่มเติมในวงกว้าง เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข้อเท็จริงต่างๆของฝ่ายประชาธิปไตยออกไปสู่ประชาชน

การใช้ความรู้ข้อมูลข่าวสารโต้ตอบกลยุทธ์ดังกล่าวของฝ่ายตรงข้าม ที่ผู้เขียนเรียกว่า Defense Tactics คือการทำสงครามสารสนเทศในเชิงป้องกันโต้กลับการรุกฝ่ายตรงข้ามประกอบด้วยกลยุทธฺ์ Data-Tactics คือการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมูลข้อเท็จจริงโต้ตอบสวนกลับต่อข้อมูลเท็จข้อมูลลวงในระดับInfo-Tacticsโดยนำเผยแพร่ต่อสาธารณะอย่างรวดเร็วฉับไวและกลยุทธ์Mega-Tactics คือการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารและตอบโต้ข้อมูลข่าวสารในเชิงลึกในระดับ Meta-Tactics ทั้งนี้ให้มีการจัดทำเป็นชุดของความคิดเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารความจริงในเรื่องนั้นๆเตรียมไว้ล่วงหน้าให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ  เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว ในการโต้ตอบหักล้างข้อมูลเท็จของฝ่ายตรงข้าม เพราะการรับรู้ซึมซับข้อมูลข่าวสารของประชาชนไวมากๆ และมีแนวโน้มที่จะเชื่อข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอก่อน แม้จะเป็นข้อมูลเท็จอย่างไม่มีเหตุผลใด

ในกระแสสังคมนั้นสื่อมีอิทธิพลเพราะข้อมูลข่าวสารคืออำนาจและนำมาต่อการรับรู้ของประชาชนความรู้คืออำนาจและเป็นอำนาจของประชาชนในทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย ใครควบคุมข้อมูลข่าวสาร คนคนนั้นควบคุมการเมือง จะสามารถชิงประชาชน เป็นความได้เปรียบในทางการเมือง

สงครามสารสนเทศเป็นการใช้ความรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นพลานุภาพ ในการต่อสู้ทางการเมืองแย่งชิงประชาชน

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น