+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ การเมืองของประชาชน พลานุภาพแห่งชาติ


ความรู้ การเมืองของประชาชนเป็นพลานุภาพแห่งชาติ  การเมือง ประชาชน ผู้เขียนเห็นว่า เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในปัจจัยแห่งอำนาจของชาติ ประกอบด้วยการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประชากร ทรัพยากร และสารสนเทศ ซึ่งถ้าประชาชนเข้มแข็งคือไม่โง่ ไม่จน ไม่เจ็บ และการเมืองมีเสถียรภาพในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือความรู้ของประชาชนจะเป็นพลานุภาพทางการเมืองที่สำคัญในการเสริมสร้างพลังอำนาจของประเทศชาติ มีศักยภาพเชิงแข่งขันกับนานาประเทศ ในยุคโลกาภิวัตน์

ความรู้การเมืองกับประชาชน  การเมืองเป็นเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ ถ้าอำนาจและผลประโยชน์ตกอยู่กับประชาชน เป็นชนชั้นล่าง ย่อมทำให้คนรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงเสียอำนาจและผลประโยชน์ ใครควบคุมอำนาจทางการเมืองก็มีอำนาจจัดสรรทรัพยากร คนรวยจึงพยายามรักษาอำนาจและผลประโยชน์ ความรวยไม่ได้นำมาซึ่งประชาธิปไตย แต่กลับทำให้เกิดความกลัว จะเสียอำนาจและผลประโยชน์ พยายามทุกวิธีที่จะรักษาอำนาจและผลประโยชน์ โดยไม่คำนึงว่าการได้อำนาจทางการเมือง จะเป็นไปตามครรลองประชาธิปไตยหรือไม่ ความรู้ของประชาชนนำมาซึ่งประชาธิปไตยเพราะรู้ว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ ทางการเมือง ควรได้รับการจัดสรรผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันและยุติธรรม ทำให้มีเสถียรภาพทางการเมืองประชาธิปไตยพลานุภาพของประชาชน

พลานุภาพของประชาชน จากข้อมูลงานวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับพลานุภาพของประชาชน กล่าวสรุปไว้ว่า สังคมไทยคนส่วนใหญ่ของประเทศประสบภาวะ 3 ประการโง่ จน เจ็บ หรือ ความไม่รู้ รายได้น้อย สุขภาพไม่ดี คนไทยกว่า 80 % เป็นคนจนของประเทศและมีคนเพียง5-10%ของประเทศเท่านั้นที่มั่งคั่งร่ำรวยในประเทศ

โง่ จน เจ็บ เป็นเครื่องมือในทางการเมือง ผู้เขียนได้สรุปจากการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองในหลายประเทศ มีแนวคิด 2 ประการ ดังนี้

1.การนำไปใช้เป็นเครื่องมือที่จะคงไว้ซึ่งอำนาจเผด็จการอมาตยาธิปไตย เพราะภาวะ 3 ประการ เป็นจุดอ่อนของประชาชน ซึ่งคือจุดอ่อนของประเทศในการพัฒนทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รูปแบบการเมืองการบริหาร รูปแบบเศรษฐกิจ และรูปแบบสังคม มิได้เป็นการพัฒนาจุดอ่อนของประชาชนได้แก่ ความรู้ รายได้ และสุขภาพ อย่างแท้จริง แต่เพื่อใช้เป็นกุศโลบายในการควบคุมประชาชน มีคำกล่าวว่าจนจึงไม่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็นประชาธิปไตยจึงจน

2.การนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อพัฒนาภาวะจุดอ่อนของประชาชน3ประการ คือพัฒนาให้มีความรู้และเทคโนโลยี สามารถเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อนำไปสร้างรายได้ และจัดให้มีสวัสดิการบริการด้านสุขภาพ กลายเป็นทุนทางปัญญาของประเทศเพราะประชาชนเป็นรากฐานของประเทศ ซึ่งความร่ำรวยไม่ได้สร้างประชาธิปไตย แต่ความรู้สร้างประชาธิปไตย โดยเฉพาะความรู้เป็นพื้นฐาน เพราะความรู้ คือพลานุภาพของประชาชนจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปสู่ระบอบ ประชาธิปไตยของประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น