+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความรู้การตลาดพลานุภาพทางการเมือง


ความรู้หลักการตลาดการเมือง(Marketing Politics)  คือการประชาสัมพันธ์รณรงค์หาเสียงในทางการเมือง โดยการใช้ความรู้ด้านการตลาดในทางธุรกิจเป็นการสร้างพลานุภาพโน้มน้าวจิตใจประชาชน ให้มานิยมชมชอบและลงคะแนแนเลือกตั้งในตัวบุคลาการทางการเมือง หรือพรรคการเมืองในการเมืองระบอบประชาธฺปไตย

การเลือกตั้ง(Election) เป็นวิถีการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ในทางการเมืองในการเลือกตั้งผู้แทนไปปกครองประเทศ ในการเลือกตั้งเป็นการต่อสู้ทางการเมือง จะต้องมีความรู้พลานุภาพโน้มน้าวจูงใจประชาชน มีเป้าหมายคือชัยชนะในทางการเมือง มีองค์ประกอบ  2  ประการคือ


1.กฎหมาย ระเบียบ เป็นข้อห้าม ข้อปฏิบัติ และโทษตามกฎหมายในการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง ได้แก่ค่าใช้จ่ายทั้งหมด วัสดุอุปกรณ์ จำนวนป้าย ขนาดของป้าย การทำลายป้ายหาเสียง การซื้อเสียง การใส่ร้ายป้ายสี การจัดหรือร่วมงานเลี้ยงต่างๆ การยื่นแสดงค่าใช้จ่ายทั้งหมด และอื่นๆ ซึ่งสำคัญที่สุดห้ามมิให้ผู้ใดกระทำผิดกฏหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หากผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามกฏหมาย

2.เทคนิคการโฆษณาหาเสียง แบ่งเป็น 2 ประการ ประการแรก การรณรงค์หาเสียง แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่.. ระยะแรก การประชาสัมพันธ์โน้มน้าวจิตใจ โดยภาพรวมทั่วไป.. ระยะที่สอง การกระตุ้นเตือนตอกย้ำในนโยบายและบุคลากรทางการเมือง ที่นำเสนอต่อประชาชน.. ระยะที่สาม การเร่งเร้าเน้นย้ำ จูงใจให้เลือกหมายเลขของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง การซุ่มตัวอย่างคะแนนนิยม (Poll) เป็น 3 ระยะก่อนวันเลือกตั้ง เพื่อตรวจสอบคะแนนนิยมของประชาชนในตัวผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ประการที่สอง การใช้สื่อในการหาเสียง ได้แก่ ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต ป้ายโฆษณา แผ่นปลิว ชุมนุมปราศรัย รถโฆษณา เดินพบปะประชาชน และ อื่นๆ ใช้มันอย่างบูรณาการ แต่ต้องระวังค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่าเกินที่กำหนดไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง 

แนวทางสร้างพลานุภาพโน้มน้าวประชาชน คือการนำหลักการตลาดมาใช้หาเสียงเลือกตั้งประกอบหลักบริหารคุณภาพของเดมมิ่ง หรือ PDCA คือ..การวางแผน(plan)กำหนดเป้าหมายพื้นที่และบุคคล.. ลงมือทำ(Do)ขั้นตอนการปฏิบัติ ได้แก่ ระยะเวลา การใช้สื่อ และอุปกรณ์ต่างๆในการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง และอื่นๆ.. การตรวจสอบ(Check)ประเมินผลคะแนนเสียงว่ามีเท่าไร..แก้ไขปรับปรุง(Action)ลดจุดอ่อนเสริมจุดแข็งสร้างโอกาสชัยชนะ ทั้งหมดนี้กระทำก่อนวันเลือกตั้ง ในการโน้มน้าวจูงใจของพรรคการเมือง นักการเมือง เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปลงคะแนนให้แก่พรรคการเมือง และผู้สมัครในวันเลือกตั้ง ซึ่งพรรคการเมือง นักการเมือง และประชาชนควรเรียนรู้และทำความเข้าในกฏหมายเลือกตั้งโดยเฉพาะพรรคการเมืองและนักการเมือง มิให้ตกหลุมติดหล่มกับดักทางการเมืองจนถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองและยุบพรรคการเมืองเช่นในประวัติศาสตร์ 

การตลาดการเมือง เป็นความรู้ในการทำกิจกรรมทางการเมืองที่มีพลานุภาพ ในการโน้มน้าวจูงใจประชาชนสร้างโอกาสแห่งชัยชนะแก่พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น