การเมืองประเทศไทย ประชาธิปไตยในโซ่ตรวนแห่งพันธนาการ ตามรัฐธรรมตนูญ 2550 ฉบับอำมาตย์ เมื่อ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 เวลา 20.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงคำประกาศเรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎร ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง11 กรมประชาสัมพันธ์ ภายหลังจากที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชกฤษีกายุบสภาโดยผลบังคับใช้หลังประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 10 พ.ค.นี้ และ จะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 ก.ค. 2554
ในทางการเมือง นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ เห็นว่าการยุบสภาหมายถึงการสิ้นสุดลงของรัฐบาล แต่สำหรับตน มันเป็นการเริ่มต้นใหม่สำหรับประชาชน และการเดินหน้าของประเทศไทย ในการแก้ปัญหาภายใต้กระบวนการประชาธิปไตย ตนจึงดำเนินการยุบสภาด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง การสิ้นสุดของรัฐบาลไม่ได้หมายความว่างานของรัฐบาลจะสิ้นสุดลง
การยุบสภาเป็นวิถีการเมืองประชาธิปไตย กรณีผู้เขียนมีความเห็น 2 ประการ ประการแรก การครองอำนาจของฝ่ายอำมาตย์สืบเนื่องจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มาถึงทางตัน เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม โดยเฉพาะปัญหาด้านการเมือง ไม่สามารถสร้างความปรองดองในประเทศไทย เพราะมีการปราบปรามประชาชน ซึ่งการเดินขบวนชุมนุมของประชาชนจำนวนหลายแสนคน เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยโดยการใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธในเหตุการณ์ วันที่ 13 เมษายน 2552 และเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนและ19 พฤษภาคม 2553 ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากนั้น และกรณี ยังอยู่ในศาลอาญาระหว่างประเทศ ประการที่สอง นายกรัฐมนตรี และพรรคร่วมรัฐบาล อาจจะมีความมั่นใจในความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายรัฐบาล เพราะสามารถควบคุมสื่อ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และระบบบริหารของรัฐ เป็นการได้เปรียบในเชิงนโยบายที่จะคงชัยชนะในทางการเมือง ทำให้ขาดเสรีภาพ และเสมอภาคตามวิถีทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย
การยุบสภาเป็นวิถีการเมืองประชาธิปไตย กรณีผู้เขียนมีความเห็น 2 ประการ ประการแรก การครองอำนาจของฝ่ายอำมาตย์สืบเนื่องจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มาถึงทางตัน เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม โดยเฉพาะปัญหาด้านการเมือง ไม่สามารถสร้างความปรองดองในประเทศไทย เพราะมีการปราบปรามประชาชน ซึ่งการเดินขบวนชุมนุมของประชาชนจำนวนหลายแสนคน เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยโดยการใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธในเหตุการณ์ วันที่ 13 เมษายน 2552 และเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนและ19 พฤษภาคม 2553 ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากนั้น และกรณี ยังอยู่ในศาลอาญาระหว่างประเทศ ประการที่สอง นายกรัฐมนตรี และพรรคร่วมรัฐบาล อาจจะมีความมั่นใจในความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายรัฐบาล เพราะสามารถควบคุมสื่อ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และระบบบริหารของรัฐ เป็นการได้เปรียบในเชิงนโยบายที่จะคงชัยชนะในทางการเมือง ทำให้ขาดเสรีภาพ และเสมอภาคตามวิถีทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย
แม้ว่าการเลือกตั้งทัี่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 จะเป็น การเมืองประชาธิปไตยในโซ่ตรวนแห่งพันธนาการ มวลชนประชาธิปไตย จะต้องบุกตีฝ่าผนังทองแดง กำแพงเหล็กข้ามไปให้ได้ในวงจรอุบาทว์ทางการเมืองไทย ประเทศไทยจะมีวันอรุณรุ่งแห่งประชาธิปไตย เป็นโอกาสแห่งชัยชนะทางการเมืองของประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น