การกล่าวหาทางการเมืองต่อแกนนำประชาชน รัฐบาลโดย DSI ให้อัยการสั่งฟ้อง แกนนำ นปช.มวลชนและประชาชนประชาธิปไตยและ คุณทักษิณ ชินวัตร ในคดีการเมืองมีข้อกล่าวหา ก่อการร้าย ตามคาดหมาย ในวันที่ 11 สิงหาคม 53 อัยการได้สั่งฟ้องแกนนำ 19 คน ที่ถูกคุมขัง และเลื่อนการพิจารณาว่า จะสั่งฟ้องแกนนำอีก 6 คนหรือไม่ ในการนำประชาชนชุมนุมประท้วงทางการเมืองเรียกร้องประชาธิปไตย
ประเด็นข้อกล่าวหาทางการเมืองของรัฐบาล โดยรัฐบาลไทยได้กล่าวหาแกนนำมวลชนว่า มีส่วนเกี่ยวข้องหรือร่วมกันวางแผนกระทำดังต่อไปนี้ การวางระเบิดกว่า 70 แห่ง ในกรุงเทพและจังหวัดอื่นๆ การปฏิบัติการของ “ชายชุดดำ” ในวันที่ 10 เมษายน 53 ส่งผลให้ทหารจำนวนหนึ่งเสียชีวิต การลอบวางเพลิงอาคารราว 30 อาคาร ในวันที่ 19 พฤษภาคม 53 ข้อกล่าวหาเหล่านี้มีโทษสูงสุดถึงขึ้นประหารชีวิต รัฐบาลไทยเมินเฉยต่อข้อเรียกร้องที่เราขอให้เปิดโอกาสแก่ลูกความของเรา ได้เข้าถึงพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดี เพื่อทำการตรวจสอบหลักฐานนั้นด้วยตนเอง ซึ่งสิทธิเหล่านี้ได้ถูกรับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศนั้น
ข้อโต้แย้งต่อข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้ายของแกนนำประชาชน
ข้อโต้แย้งต่อข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้ายของแกนนำประชาชน
เว็บไซต์ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ระบุว่า มีข้อสังเกตที่เป็นข้อโต้แย้ง 3 ประการคือ ประการแรก เราสงสัยหลักฐานที่รัฐบาลแสดงต่อที่สาธารณะไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่า แกนนำ น.ป.ช.เกี่ี่่ยวข้องกับการกระทำการก่อการร้ายประการที่สอง น่าสังเกตช่วงเวลาของการเกิดเหตุร้าย เหตุการณ์การลอบวางระเบิดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ ณ ธนาคารกรุงเทพสี่สาขาเมื่อคืนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 53 จนถึงทุกวันนี้ คดียังเป็นปริศนาประการที่สาม คือ การกระทำของรัฐบาลภายหลังจากการสลายการชุมนุมของมวลชนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 53 แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพยายามปกปิดอะไรที่เป็นข้อเท็จจริงหลายๆอย่าง การนำ “ผู้ก่อการร้าย”ที่แท้จริงขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม กระทำได้โดยการที่รัฐบาลต้องใส่ใจกับข้อเรียกร้องขององค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลก และเปิดโอกาสให้มีการสอบสวนที่เป็นอิสระและสมบูรณ์ภายใต้กฎหมายระหว่าง ประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ให้อำนาจอย่างล้นเหลือต่อทหารและรัฐบาล และเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ
รัฐบาล กำลังมีปัญหา ที่ปราศจากความชอบธรรมในทางการเมือง อาจเข้าข่ายละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน
การดำเนินคดีกับแกนนำมวลชน และประชาชนประชาธิปไตยเป็นคดีการเมือง จะต้องปฏิบัติ ตามหลักนิติธรรม ตามหลักกฎหมาย
การกล่าวหาทางการเมืองต่อแกนนำประชาชนที่เป็นปฏิปักษืทางการเมืองของรัฐบาลจากข้อเท็จจริงเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามหลักการสหประชาชาติ
การกล่าวหาทางการเมืองต่อแกนนำประชาชนที่เป็นปฏิปักษืทางการเมืองของรัฐบาลจากข้อเท็จจริงเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามหลักการสหประชาชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น