+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปล้นอำนาจการเมืองประชาชน


อำนาจทางการเมืองของประชาชน เป็นอำนาจอธิปไตยในระบอบประชาชิปไตย สาเหตุที่เหมือนกันของความเสื่อมถอยของการเมืองระบอบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศตะวันตกคือการปล้นอำนาจอธิปไตยของประชาชนในการเมืองระบอบประชาธิปไตย

การควบคุมอำนาจการเมืองของประชาชนในประเทศไทย  จากเว็บไซต์ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม อธิบายว่า ลักษณะระบบอำนาจนิยมเฉพาะในยุค 50 สิ่งสำคัญแรกสุดในมุมมองของประชาคมโลกต่อการแก้ปัญหาความไม่มั่นคงในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการใช้วิธีการทางการเมืองอย่างแรกคือการต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ และเมื่อไม่นานมานี้คือลดอิทธิพลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสหรัฐสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินอย่างมากต่อกลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทย แม้ว่าในเวลานั้นรัฐบาลไทยจะใช้ระบบอำนาจนิยมปกครองประเทศ แต่ก็ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดสนใจกดดันให้ประเทศไทยไปสู่แนวทางการเมืองประชาธิปไตย และในประเทศไทยนั้นพื้นฐานการใช้ระบบอำนาจนิยมทางการเมือง”มีกุศโลบายที่ซับซ้อนกว่าประเทศรัสเซียหรือกัวเตมาลา ประเทศเหล่านี้การควบคุมอำนาจรัฐตั้งอยู่บนพื้นฐานของเงินและกองทัพอย่างชัดเจน แต่ในประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อ ในสิ่งที่เหนือธรรมชาติและกระบวนการผลิตทางความเชื่อมาอย่างต่อเนื่อง หน้าที่หลักของระบบการศึกษาไทยและสถาบันทางศาสนาคือการสั่งสอนประชาชนให้เชื่อว่า ความเหลื่อมล้ำทางอำนาจและรายได้นั้น คือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ”และคำกล่าวนั้น ทำให้เชื่อว่ากลุ่มอำมาตย์เหล่านั้น มีสิทธิตามธรรมชาติที่จะทำอะไรก็ได้เพราะได้ทำกรรมที่ดีกว่า และกระทำคุณงามความดีที่มากกว่าคนทั่วไป

โศกนาถกรรมที่เกิดขึ้นใน4ปีที่ผ่านมาอาจจะเผยให้เห็นว่า กลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทยสามารถรักษาอำนาจของกลุ่มตนโดยการใช้วิธีการสุดขั้วและจนตรอกอย่างการทำรัฐประหารยึดสนามบิน ปิดกั้นข่าวสารอย่างรุนแรงคุมขังนักโทษทางการเมืองหลายร้อยคน ใช้อำนาจฉุกเฉิน สังหารหมู่ประชาชนเท่านั้น และยังมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการโฆษณาชวนเชื่อว่า จะมีการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง เหตุผลที่วิธีการเหล่านี้มีความจำเป็นเพราะกระบวนสร้างตวามเชื่อแก่ประชาชนได้ล้มเหลว ประชาชนไม่เชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่ออีกต่อไป และหลายคนต้องการที่จะทวงประเทศของพวกเขาคืนกว่าสองทศวรรษผ่านมาแสดงให้เห็นว่าประชาธิปไตยใช้ได้ผลกับประเทศกำลังพัฒนา ไม่เป็นไปอย่างที่ชาวตะวันตกหวั่นเกรง แต่ข้อเท็จจริงคือจุดสูงสุดของคลื่นประชาธิปไตย ในต้นยุค 90 ได้ถอยหลังลงคลองแสดงให้เห็นว่าความเชื่อในเรื่องจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ไม่เป็นความจริง ซึ่งความเสื่อมของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาคมโลกได้เห็นในสองทศวรรษที่ผ่านมาย้ำให้เห็นเราต้องระมัดระวังอย่างจริงจังว่าไม่มีชัยชนะใดที่ถาวรในทางการเมืองในโลก

การเมืองประชาธิปไตยจะปฏิเสธประชาชนไม่ได้ เมื่อเราได้ความเป็นประชาธิปไตยมา เราจะต้องปกป้องเสรีภาพนั้นอย่างจริงจังประชาชนไทยกำลังจารึกประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพและ ประชาธิปไตยอันยาวนานหน้าใหม่โดยทวงคืนอำนาจรัฐจากกลุ่มอำมาตย์เผด็จการอำนาจนิยมและนี่จะเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้ประชาคมโลกเห็นว่า กระบวนการการทวงคืน และเรียกร้องสิ่งเหล่านั้นทำกันอย่างไร ประชาธิปไตยจะปฏิเสธการเลือกตั้งไม่ได้ ปฏิเสธประชาชนไม่ได้และต้องฟังเสียงประชาชน ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย เมื่ออำนาจรัฐถูกปล้น มวลชนและประชาชนประชาธิปไตยจะทำอย่างไรภายใต้สภาวะที่เป็นรองในด้านการเมือง การบริหาร การทหาร เศรษฐกิจและสังคม





1 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ