+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาสมดุลอำนาจการเมืองในประเทศไทย


การจัดสมดุลแห่งอำนาจการเมืองในประเทศไทย เป็นหลักการในระบอบประชาธิปไตยตามทฤษฎีแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออร์ โครงสร้าง อำนาจทางการเมืองตามรุัฐธรรมนูญ ซึ่งทำหน่้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน มี 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถจัดการให้เกิดความสมดุลอำนาจทางการเมืองได้ในประเทศไทย

การปะทะกันของอำนาจทางการเมือง สภาพสังคมไทยอำนาจและผลประโยชน์แต่เดิมตกอยู่ในกลุ่มชนชั้นำในสังคม เมื่อสังคมเร่ิมเปลี่ยนแปลง ปัญหาขาดการจัดการสมดุลอำนาจการเมืองตามปัจจัยพื้นฐานของสังคมไทยให้แก่กลุ่มการเมืองต่างๆ มี สถาบัน ฝ่ายกองทัพ ฝ่ายข้าราชการ ฝ่ายนักการเมือง และฝ่ายประชาชน ซึ่งไม่สมดุลแห่งอำนาจการเมืองก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตแห่งอำนาจและผลประโยชน์ วิกฤตจริยธรรมในการบังคับใช้กฏหมาย วิกฤตเศรษฐกิจ และวิกฤตศรัทธาของประชาชน เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในประเทศ และอาจเป็นไปได้ว่าในอนาคตสถานการณ์การเมืองอาจพัฒนาไปสู่ความรุนแรง ถึงขั้นไม่อาจปรองดองสมานฉันท์์ของประชาชน มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

การแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลอำนาจการเมือง  เป็นทางออกของประเทศไทย  ก่อนอื่นจะต้องยอมรับความเป็นจริงของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงในสังคมไทย ว่าโครงสร้างอำนาจทางการเมือง มี 5 ฝ่าย มีแนวคิดเชื่อมโลกเก่ากับโลกใหม่ สร้างจิตวิญญาณแห่งยุคสมัยคือจิตวิญญาณแห่งประชาธิปไตย ซึ่งควรออกแบบโครงสร้างประเทศใหม่เพื่อให้เกิดความสมดุลแห่งอำนาจในทางการเมืองการบริหารเป็นการเมืองแบบทางสายกลางโดยยกเลิกหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ2550 เป็นโครงสร้างอำนาจการทางการเมืองซึ่งสืบถอดอำนาจของคณะรัฐประหาร เป็นการขาดความสมดุลแห่งอำนาจในทางการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในทางวิชาการเห็นว่า เป็นการออกแบบโครงสร้างประเทศกลับไปสู่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใหม่ ในทางวิชาการเรียกว่า Neo-Absolute Monarchy โดยอำนาจต่างๆไม่ได้อยู่ที่สถาบัน แต่อำนาจเป็นขององค์กรระหว่างสถาบันกับฝ่ายตุลาการซึ่งมีองค์อิสระที่ดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรม ทำหน้าที่ ควบคุมกำกับดูแลฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญํติ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตแห่งอำนาจ จำต้องร่างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ โดยการบริหารจัดการความสมดุลแห่งอำนาจ โดยการออกแบบจัดการความสมดุลแห่งอำนาจทางการเมืองบนหลักการพื้นฐานธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพซี่งเป็นพื้นฐานระบอบการเมืองประชาธิปไตยของประชาชน และทุกฝ่ายต้องกลับที่ตั้งเข้าสู่กฏเกณฑ์ กติกา ในระบอบประชาธิปไตย ทั้งหมดนี้ เป็นหน้าที่ของ รัฐบาล รัฐสภา นักวิชาการทางกฎหมายปกครอง นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ นักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ นักวิชาการทางเศรษฐศาตร์ และที่เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมทั้งประชาชน

รัฐบาล สภา และประชาชนซึ่งเประชาชนป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทุกฝ่ายควรเห็นแก่ชาตบ้านเมืองจงปล่อยวาง ละกิเลสแห่งอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง เพื่อฟื้นฟูพลังอำนาจแห่งชาติของประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น