ในการชุมุนมต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน วันที่ 28 มี.ค.53 เวลา 08.00 น. แกนนำ นปช. จัดกำลังมวลชนและประชาชน นับแสนคน ไปชุมนุมทางการเมือง ที่หน้า กองพัน ร.11รอ.ซึ่งเป็นที่พำนักและที่ทำงานชั่วคราวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อกดดันรัฐบาลร่างทรงเผด็จการให้ยุบสภา คืนอำนาจให้แก่ประชาชน เป็นที่มาของการเจรจาทางการเมือง ระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ แกนนำ นปช เพื่อหาทางปรองดองทางการเมือง
.
การเจรจาต่อรองทางการเมือง เป็นการเจรจาระหว่าง คณะของนายกรัฐมนตรี กับแกนนำ นปช. ฝ่ายละ 3 คน ในวันที่ 28 มี.ค. 53 เวลา 16.00 น. และในวันที่ 29มี.ค.53 เวลา 18.00 น. บางคนอาจจะเห็นว่า การเจรจาประสบความล้มเหลว แต่มีความเห็นว่าผลของการเจรจาแกนนำ นปช. ได้รับผลสำเร็จในการเจรจา 2 ประการคือประการแรก แกนนำ ได้มีโอกาสแสดงให้เห็นสาเหตุ ของการประท้วงของมวลชนประชาธิปไตยว่ามาจากใช้อำนาจของเผด็จการการรัฐประหาร19ก.ย.49 เป็นการเผยแพร่ความจริงให้แก่ประชาชนได้รับทราบความจริง ตามความเป็นจริงไม่ว่าจะเป็นความไม่ชอบธรรม ความไม่ยุติธรรม การปฎิบัติ2มาตรฐาน และอื่นๆของรัฐ ผ่านสื่อกระแสหลักฟรีทีวี และสื่ออื่นๆให้แก่คนในสังคมไทยและต่างประเทศในภาวะที่ถูกรัฐบาลปิดกั้นทางช่องทางการสื่อสารประการที่สอง ผลการเจรจาทั้งสองวัน ยังไม่ได้ข้อยุติ ปรากฏว่า ฝ่ายแกนนำยังยืนยันให้นายกฯยุบสภาภายใน 15 วันแต่นายกฯได้ยอมลดจุดยืนจากเดิมมีเวลาอีก 1 ปี เศษ ครบวาระ ลงมาเหลือ 9 เดือนแสดงว่าการเจรจาของแกนนำทั้ง 3 คน ได้ผลในระดับหนึ่งไม่ได้ล้มเหลวอย่างใด เป็นไปตามคาดหมายว่านายกฯ ไม่ยอมยุบสภาตามข้อเสนอของแกนนำอย่างแน่นอนเพราะยังหลอกตัวเองว่าเข้ามาด้วยความชอบธรรมโดยกองทัพและพลังที่ยิ่งใหญ่กว่ากองทัพมีความมั่นใจในพลังสนับสนุนที่ควบคุมกองทัพและพรรคร่วมรัฐบาล
แนวทางการเจรจาต่อรองทางการเมือง มีเป้าหมายคือการสมานฉันท์ วิน-วิน วิธีเจรจา ทั้งสองฝ่ายต่างต้องลดจุดยืนของตนลงมาตรงกลางที่รับได้ทั้งสองฝ่ายจึงจะบรรลุข้อตกลงของการเจรจา หากต่างฝ่ายยังยืนหยัดอยู่เป้าหมายของตนก็ไม่อาจบรรลุเป้าหมายใดๆ การเจรจาหากมีขึ้นต่อไป เพิ่อให้ได้ข้อตกลงร่วมกันนั้น ก่อนการเจรจารัฐบาลต้องยกเลิกกฎหมายความมั่นคง และถอนกำลังทหารทั้งหมดเพื่อเป็นการแสดงว่ารัฐบาลมีความจริงใจที่จะเจรจา เป็นการผ่อนคลายความตรึงเครียด เป็นการสร้างบรรยากาศให้เกิดความสมานฉันท์ ในประเทศทั้งสองฝ่ายมีประเด็นที่ควรพิจารณาว่า ประเด็นแรก ระยะเวลาใดจึงจะเหมาะสมทั้งสองฝ่าย ควรพิจารณาเวลา ระยะ 15 วัน กับ 9 เดือน ระยะเวลาที่เหมาะสม น่าเป็น 4 - 6 เดือน อาจมากหรือน้อยกว่าแต่อยู่ที่ข้อตกลงร่วมกันว่าจะเป็นประการใด ประเด็นที่สองในระหว่างนี้ ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นผลิตผลของเผด็จการหรือไม่ประการใด ถ้าไม่มีการแก้ไขก็ดำเนินการเฉพาะประเด็นแรก แล้วมีการเลือกตั้งหลังยุบสภา หากมีการแก้ไขต้องกระทำบนข้อตกลงร่วมกัน ในประเด็นที่สำคัญๆ อะไรบ้าง แล้วควรให้แกนนำและมีอาจารย์ ด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการในฐานะผู้แทนมวลชนเสื้อแดง มีการกำหนดแผน ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการและติดตามผลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าได้ข้อตกลงร่วมกันแล้วให้ทั้งสองฝ่ายลงสัตยาบันร่วมกันเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามข้อตกลงทางการเมืองของรัฐบาลกับประชาชน
คำกล่าวมีว่าเราไม่อาจเปลี่ยนแปลงอดีตได้ แต่เราสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าได้ แกนนำและประชาชนต้อง ตัดสินใจในการดำเนินการทางการเมืองต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น