การเจรจาต่อรองทางการเมืองรัฐบาลกับแกนนำประชาชน โดยคณะนายกรัฐมนตรี กับคณะแกนนำ นปช. ทั้งสองครั้งในวันที่ 28 – 29 มีนาคม 2553 เป็นไปตามคาดหมายว่า นายกฯ ไม่ยอมยุบสภาภายใน15วัน คืนอำนาจให้ประชาชนตามข้อเสนอของแกนนำ นปช. แต่อย่างใด โดยการสนับสนุนกองทัพและพลังที่ยิ่งใหญ่กว่ากองทัพ และทุนสื่อ และทุนเอกชน ซึ่งการได้อำนาจของรัฐบาลมิใช่ได้มาตามวิถีทางแห่งการเมืองระบอบประชาธิปไตย
ผลการเจรจาทางการเมือง สองฝ่ายไม่บรรลุตามข้อตกลง หลังจากแกนนำ นปช. หยั่งเชิง ประลองกำลัง เตรียมสู้ศึก ยืดเยื้อยาวนาน ประเมินศึก หาข่าว วางแผนและยุทธวิธีในการสู้ศึกกับรัฐบาลและกองทัพ ปัจจัยที่ชี้ขาดชัยชนะของมวลชน มี5ประการ การรวมพลังของมวลชนในเมืองและชนบทให้มากที่สุด จะเป็นพลานุภาพส่งผลต่อรัฐบาล ขวัญกำลังใจของมวลมหาชนกล้าแกร่ง ไม่หวาดหวั่น มุ่งมั่นต่อประชาธิปไตย สามารถทะลวงการปิดกั้นช่องทางการสื่อสารของรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารตามจริง การประสานการต่อสู้กับแนวร่วมในสภา และนอกสภา และในระดับสากล การกุมความชอบธรรมในการต่อสู้โดยวิธีสันติอหิงสา จะชนะใจประชาชนให้เข้าร่วมกับฝ่ายประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น ในการต่องสู้ทางการเมืองของประชาชน
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน ในหลักพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า วิธีชนะโดยไม่ต้องรบ การโจมตีทางใจถือว่าเป็นเอก พึงสยบด้วยใจจะต้องทำให้พวกเขาเห็นประโยชน์ที่เป็นจริง เพื่อให้พวกเขากลับใจการสลายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล กองทัพ องค์กรอิสระ พรรคร่วมรัฐบาล กับประชาชน มุ่งประเด็นการทุจริตประพฤติมิชอบ ความไม่ชอบธรรม ความไม่ยุติธรรม ความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล และความขัดแย้งระหว่างข้าราชการกับนักการเมือง และอื่นๆ โดยการตรวจสอบ ติดตาม ตีแผ่ความจริง และนำเสนอต่อสาธารณชน นอกจากนี้ระบบอาวุธที่ไร้ความรุนแรง มีทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตามยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย
คำกล่าวนักพิชัยสงครามโบราณมีว่า รบ คือไม่รบ ไม่รบคือรบ รับเป็นโอกาสรุก รุกเกิดจากรับ มวลชนและประชาชนเตรียมสู้ศึก ยีดเยื้อในทางการเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น