ทุนทางปัญญามีความรู้เป็นพลานุภาพ ในสมัยก่อนการบริหารจัดการองค์กรภาคเอกชนให้เจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองตามหลักเศรษฐศาสตร์เดิม ปัจจัยสำคัญในการผลิต คือที่ดิน ทุน และแรงงาน แต่ปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คนและความรู้ที่เขามีอยู่ ทุนทางปัญญามีความรู้เป็นพลานุภาพเป็นทุนมนุษย์
ในยุคโลกาภิวัตน์พลานุภาพของทุน ประกอบด้วย สินทรัพย์ที่สัมผัสได้คือทุนในทางเศรษฐศาสตร์กับสินทรัพย์ทีสัมผัสไม่ได้คือทุนทางปัญญา มุ่งเน้นไปที่ผู้จัดการที่มีวิสัยทัศน์ และทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเป็นทุนทางปัญญา ที่จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร อันขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของทรัพยากรบุคคล หากบุคคลเหล่านี้ไม่มีทุนทางปัญญา องค์กรอาจประสบความล้มเหลว ถึงขั้นล่มสลายในที่สุด ในทางเดียวกันหากมีบุคคลที่มีทุนทางปัญญาสูง จะทำให้เกิดการพัฒนาองค์กร หากรักษาไว้ไม่ดี ก็อาจจะถูกองค์กรอื่นจูงใจ แย่งชิงไป เพื่อไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรนั้นๆ
การบริหารการเมืองการบริหารภาครัฐ พ.ศ. 2475-2543 รัฐบาลในขณะนั้นมุ่งเน้นความเชี่ยวชาญทางการเมืองในการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์ เป็นการสร้างภาพ แต่อำนาจและผลประโยชน์จะตกอยู่กับกับคนส่วนน้อยของประเทศ ต่างกับความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการเพราะ ประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชน
ในระหว่าง พ.ศ. 2544-2549 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทย ในขณะนั้นโดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 23 มีทุนทางปัญญาระดับโลก มุ่งเน้นความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล สามารถชำระหนี้ IMF ภายใน 2 ปี และในการบริหารนโยบายด้านอื่นๆผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับประชาชน เมื่อประโยชน์ตกอยู่กับประชาชน ก็ย่อมมีกลุ่มที่เสียประโยชน์ ประเทศกำลังจะพัฒนาไปในทางก้าวหน้า แต่เสมือนเครื่องบินที่กำลังจะทะยานจากพื้นดินไม่สามารถขึ้นสู่ฟากฟ้าได้โดยตกเสียก่อน เพราะถูกวินาศกรรม โดยรัฐประหารของคณะทหารและฝ่ายอมาตยาธิปไตย ซึ่งไม่สามารถทนรอการเปลี่ยนแปลงตามวิถีของการเมืองประชาธิปไตย
ในปัจจุบัน พ.ศ.2552 แม้ว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์จะมีความสามารถบริหารจัดการทางการเมือง เพราะสามารถจัดสรรอำนาจ และผลประโยชน์ให้ทุกพรรคการเมือง แต่ไม่มีความสามารถในการบริหารจัดการด้านนโยบาย อันให้ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับประชาชน การที่รัฐบาลกู้เงิน กว่า 8 แสนล้านบาท สูงกว่ารายได้ของชาติคิดเป็นร้อยละ 61 ของ GDP เพื่อนำมาบริหารประเทศตามนโยบายไมบเข้มแข็งเห็นว่าเป็นการแจกเงินให้กลุ่มต่างๆ และการก่อสร้างโครงการพื้นฐาน ขนาดใหญ่ๆ และด้านอื่นๆ รัฐบาลไม่คำนึงถึงรายได้ของประเทศ ซึ่งคิดจากฐานภาษี มีเพียง ร้อยละ 15 ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มก่อให้เกิดรายได้ให้แก่ประเทศ และแก้ไขปัญหาความยากจนให้แก่ประชาชน คนยากจนตั้งแต่ระดับกลางลงมาไม่สามารถเพิ่มทุน และเพิ่มรายได้ให้กับตนเองแต่อย่างใด แต่รัฐบาลกลับสร้างภาระหนี้สินของประเทศให้กับประชาชน แบกรับภาระแทนรัฐบาลอย่างมหาศาล แสดงว่า ไม่มีทุนทางปัญญาอย่างเพียงพอที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และความยากจนของประชาชน
การใช้ความรู้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ปรากฏมูลค่าเพิ่มแก่เศรษฐกิจของประเทศ แต่ปรากฏว่ามูลค่าเพิ่มกลับเพิ่มขึ้นในกระเป๋านักการเมืองของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีความรู้ที่เป็นทุุนทางปัญญาอย่างเพียงพอในการสร้างพลานุภาพมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น