ประเทศไทยมีปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2543 เป็นหนี้จากการกู้เงินนับแสนล้านบาทจาก IMF มหาอำนาจร่วมมือกันจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรการเงินระหว่างประเทศ เป็นการสร้างอาณานิคมทางเศรษฐกิจยุคใหม่ในโลก
ในสถานการณ์ทางการเมือง ประเทศไทยได้ตกเป็นอาณานิคมทางเศรษฐกิจครั้งที่1โดยถูกกองทุนต่างประเทศถล่มค่าเงินบาทเป็นเหตุให้เกิดปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในประเทศไทย รัฐบาลโดยพรรคประชาธิปัตย์ มีนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.)เพื่อบริหารจัดการหนี้สิน และสินทรัพย์ของสถาบันการเงินแต่ไม่อาจแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน ทำให้เกิดความเสียหายมหาศาลต่อประเทศไทย ต่อมารัฐบาลของพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปโดยการนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 พ.ศ.2543-2549 เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของประชาชนในระบอบระชาธิปไตย มีนโยบายเศรษฐกิจเชิงมหภาคมุ่งเน้นการบริหารความเติบโตระหว่างเศรษฐกิจภายในประเทศ และการส่งสินค้าออกต่างประเทศ สามารถแก้ไขปัญหหาเศรษฐกิจของประเทศสามารถ ชำระหนี้ให้แก่ IMF องค์กรการเงินระหว่างประเทศ ภายใน 2 ปี นับว่าเป็นการกู้ชาติให้เป็นอิสระจากการเป็นอาณานิคมทางเศรษฐกิจ
ในที่สุดเกิดวิกฤติการเมือง รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ถูกโค่นล้มโดยการรัฐประหารของคณะทหาร 19 กันยายน 2549 จัดตั้งรัฐบาลเเผด็จการอำนาจนิยม มี พลเอกสุรยุทธ์ จุฬานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตทางการเมือง และเศรษฐกิจตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แต่อย่างใด รัฐบาลปัจจุบันกู้เงินหลายแสนล้านบาทพัฒนาประเทศแต่ยังไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ ซึ่งประชาชน จะต้องแบกภาระหนี้สินจำนวนมหาศาลแทนรัฐบาลประเทศไทย กลายเป็นอาณานิคมทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 2 รัฐบาลควรใช้นโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระดับมหภาค แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทั้งระบบในระยะสั้นและระยะยาว เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางศรษฐกิจของประเทศไทยแต่จะทำได้หรือไม่ นั้นมันขึ้นอยู่กับทุนทางปัญญาของนายกรัฐมนตรีและทีมเศรษฐกิจรัฐบาลไทย
ใครก็ไม่สามารถกู้ชาติให้เป็นอิสระทางเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ถ้าสภาพบังคับใช้กฏหมายไม่เป็นธรรม การเมืองประเทศไม่มีเสถียรภาพทำให้สภาพเศรษฐกิจเสื่อมทรุด เป็นหนี้มหาศาล การเมืองประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพมั่นคงเป็นพื้นฐานเศรษฐกิจประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น