ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยบทที่ 2 ความรู้พื้นที่อำนาจทางการเมือง พิชัยสงครามกล่าวว่า เราจะต้อง รู้ว่า พื้นภูมิไหน ไม่ควรข้ามเส้นเข้าไป ไม่สามารถชนะได้ เป็นพื้นที่มรณะ รู้ว่าพื้นภูมิไหนข้ามเส้นเข้าไปได้ สามารถเอาชนะได้ เป็นพื้นที่แย่งชิง รู้ว่าพื้นที่ไหนจะเสียเปรียบ พื้นที่ไหนได้เปรียบ เป็นพื้นที่ยัน ผู้เขียนเห็นว่า พื้นที่มรณะ อย่าข้ามเข้าไปเล่น ไม่ปลอดภัย เข้าไปในพื้นที่แย่งชิง ดีกว่า ไม่เสี่ยง เล่นไม่ยาก ชนะได้ พื้นที่ยัน หรือตรึง เป็นการเผชิญหน้า รุกไม่ได้ ถอยก็ไม่ได้ รักษาสถานะ รอโอกาส เป็นการเลี่ยงที่แข็งตีที่อ่อน
พื้นที่ทางยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น 4 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่บริหาร รัฐบาล และกองทัพ ข้าราชการ ตุลาการ องค์กรอิสระ พื้นที่การเมือง สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา พื้นที่ข้อมูลข่าวสาร สื่อกระแสหลัก สื่อกระแสรอง พื้นที่มวลชน ประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชนต่างๆ และนายทุน นักธุรกิจ นักวิชาการ ในขณะนี้ รัฐบาลเผด็จการอำมาตยาธิปไตย มีความพยายามปิดล้อม ทุกรูปแบบ เพื่อไม่ให้มวลชน เข้าสู่พื้นที่แห่งอำนาจทั้ง 4 พื้นที่ ได้แต่อย่างใด
ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย มี 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก เราจะต่อสู้ทางการเมืองอย่างไร เราจะต้องทะลายวงล้อมการปิดล้อมทางการเมือง และกระโจนเข้าสู่ พื้นที่แห่งอำนาจทั้ง 4 พื้นที่ โดยสันติวิธีไร้ความรุนแรง เราต้องไม่ได้ชัยชนะบนซากปรักหักพัง และซากศพของประชาชน เราต้องหลอมรวมจิตวิญญาณแห่งโลกเก่า และโลกใหม่ให้เป็นจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย นั่นคือจิตวิญญาณประชาธิปไตย ประการที่สอง เราต้องสร้างช่องทางการสื่อสารใหม่และขยายเครือข่ายการสื่อสาร ทั้งช่องทางสาธารณะ และโลกไซเบอร์ และจัดตั้งเครือข่ายมวลประชาชน ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อชัยชนะในการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของประชาชน มีเสียงข้างมากสภา และจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ ในระบอบประชาธิปไตย ขอให้เป็นฝ่ายกระทำ รุกอย่างต่อเนื่อง มวลชนจักเกื้อหนุน จักได้ชัยชนะ
ตัวอย่าง พื้นที่สื่อสาร เป็นพื้นที่ใช้สื่อสารกรณีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์บางคนยังคงกล่าวและชี้นำประวัติศาสตร์เมื่อครั้งก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์และก่อนต้นรัชกาล เป็นการมักคร่ำครวญถึงแต่อดีตที่ผ่านมา เป็นการสุ่มเสี่ยงผิดกฏหมาย ไม่คิดถึงผลเสียกระทบต่อตนและประชาชน แต่ในมุมมองของนักรัฐศาสตร์ มันเป็นเพียงวิถึแห่งอำนาจเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ผ่านมาไม่เป็นที่น่าสนใจ อย่างใดแล้วไม่มีผลต่อทางการเมืองในอนาคตของประเทศ กรณีเป็นการไม่รู้จักเลือกพื้นที่ว่า พื้นที่ใดมรณะหรือพื้นที่ใดสะดวก ไม่เล่นในพื้นที่ได้เปรียบกลับไปเล่นในพื้นที่เสียเปรียบ ไม่เล่นในพื้นที่ได้เปรียบ อย่างนี้มีแต่แพ้กับแพ้ ซึ่งกลายเป็นจุดอ่อนทางการเมืองทำให้ถูกกล่าวหาใส่ร้ายด้วยคำพูดแห่งควาเกลียดชังต่อกัน ทำให้สูญเสียพื้นที่การเมืองไม่เป็นผลดีต่อเครือข่ายฝ่ายประชาธิปไตย แม้อาจชนะเลือกตั้งเสียงข้างมากเป็นรัฐบาล แต่ไม่สามารถชิงความได้เปรียบทางการเมืองการบริหารในประเทศไทย
ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย มี 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก เราจะต่อสู้ทางการเมืองอย่างไร เราจะต้องทะลายวงล้อมการปิดล้อมทางการเมือง และกระโจนเข้าสู่ พื้นที่แห่งอำนาจทั้ง 4 พื้นที่ โดยสันติวิธีไร้ความรุนแรง เราต้องไม่ได้ชัยชนะบนซากปรักหักพัง และซากศพของประชาชน เราต้องหลอมรวมจิตวิญญาณแห่งโลกเก่า และโลกใหม่ให้เป็นจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย นั่นคือจิตวิญญาณประชาธิปไตย ประการที่สอง เราต้องสร้างช่องทางการสื่อสารใหม่และขยายเครือข่ายการสื่อสาร ทั้งช่องทางสาธารณะ และโลกไซเบอร์ และจัดตั้งเครือข่ายมวลประชาชน ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อชัยชนะในการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของประชาชน มีเสียงข้างมากสภา และจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ ในระบอบประชาธิปไตย ขอให้เป็นฝ่ายกระทำ รุกอย่างต่อเนื่อง มวลชนจักเกื้อหนุน จักได้ชัยชนะ
ตัวอย่าง พื้นที่สื่อสาร เป็นพื้นที่ใช้สื่อสารกรณีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์บางคนยังคงกล่าวและชี้นำประวัติศาสตร์เมื่อครั้งก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์และก่อนต้นรัชกาล เป็นการมักคร่ำครวญถึงแต่อดีตที่ผ่านมา เป็นการสุ่มเสี่ยงผิดกฏหมาย ไม่คิดถึงผลเสียกระทบต่อตนและประชาชน แต่ในมุมมองของนักรัฐศาสตร์ มันเป็นเพียงวิถึแห่งอำนาจเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ผ่านมาไม่เป็นที่น่าสนใจ อย่างใดแล้วไม่มีผลต่อทางการเมืองในอนาคตของประเทศ กรณีเป็นการไม่รู้จักเลือกพื้นที่ว่า พื้นที่ใดมรณะหรือพื้นที่ใดสะดวก ไม่เล่นในพื้นที่ได้เปรียบกลับไปเล่นในพื้นที่เสียเปรียบ ไม่เล่นในพื้นที่ได้เปรียบ อย่างนี้มีแต่แพ้กับแพ้ ซึ่งกลายเป็นจุดอ่อนทางการเมืองทำให้ถูกกล่าวหาใส่ร้ายด้วยคำพูดแห่งควาเกลียดชังต่อกัน ทำให้สูญเสียพื้นที่การเมืองไม่เป็นผลดีต่อเครือข่ายฝ่ายประชาธิปไตย แม้อาจชนะเลือกตั้งเสียงข้างมากเป็นรัฐบาล แต่ไม่สามารถชิงความได้เปรียบทางการเมืองการบริหารในประเทศไทย
ปรมาจารย์ทางยุทธศาสตร์ กล่าวว่า มวลมหาชนเกื้อหนุน แม้อ่อนจักแข็ง สูญเสียมวลมหาชนแม้แข็งจักพ่าย จะได้ ชัยชนะหรือพ่ายแพ้ ในการสงครามอยู่ที่ มวลมหาประชาชน
พิชัยสงครามเป็นการใช้ความรู้ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย กุมพื้นที่ชิงความได้เปรียบทางการเมืองของประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น