วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของสังคมการเมืองกับสังคมการเมืองในเชิงจิตวิทยา โดยวัฒนธรรมทางการเมืองใดที่สังคมการเมืองต้องการก็มักถูกปลูกฝังให้เป็นความคิด, อุดมการณ์, ความเชื่อ ฯลฯ ของสมาชิกในสังคมการเมืองนั้นๆ
"อัลมอนด์และเวอบาร์" นักรัฐศาสตร์ แบ่งวัฒนธรรมการเมืองออกเป็น3แบบคือ
2)วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า(subject political culture) คือวัฒนธรรมทางการเมืองที่บุคคลในสังคมสนใจการเมืองบ้าง แต่เข้าใจการเมืองในลักษณะที่ยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง ดังนั้น จึงไม่สนใจที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง
3)วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม(participant politic1)วัฒนธรรมทางการเมืองแบบดั้งเดิมจำกัดวงแคบ (parochial political culture) คือวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลที่ไม่รู้และไม่สนใจการเมือง และไม่คิดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเมือง คนที่มีความคิดแบบนี้จึงไม่คิดที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ทำให้ประชาชนมีสำนึกทางการเมืองต่ำ ขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองal culture) คือวัฒนธรรมทางการเมืองที่บุคคลสนใจการเมืองและตระหนักว่าการเมืองมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเขาในทุกด้าน พวกเขาจึงกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีกิจกรรมทางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
วัฒนธรรมการเมืองประเทศไทย ตามหลักของอัลมอนด์และเวอบาร์ วัฒนธรรมการเมืองไทยมาจากพื้นฐานวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย คือประการแรกวัฒนธรรมการเมืองแบบปัจเจกชนนิยมหรือคนไทยไม่ชอบรวมกลุ่ม..ประการทึ่สองวัฒธรรมการเมืองแบบอำนาจนิยมหรือสยบต่ออำนาจ... ประการที่สามวัฒนธรรมการเมืองแบบไม่มีส่วนรวมหรือคนไทยไม่สนใจการเมือง ซึ่งวัฒนธรรมดั้งเดิมไทยเป็นพื้นฐานวัฒนธรรมการเมืองไทยเป็นปัญหาอุปสรรคการพัฒนาทางการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
การพัฒนาการเมืองไทย 4.0 ควรออกแบบวัฒนธรรมการเมืองใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยและในเบื้องต้นจะต้องแก้ปัญหาวัฒนธรรมการเมืองไทยโดยไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย คือ1)ระบบปัจเจกนิยมที่อยู่อย่างอิสระไร้พลังกลุ่มทางการเมือง 2)ระบบชราธิปไตยควบคุมอำนาจการเมืองไทยตั้งแต่รัฐประหาร2549/2557และ3)ไม่มีส่วนร่วมคือคนไทยไม่สนใจการเมืองว่ามีผลกระทบต่อวิถีชีวิตทุกด้าน เพื่อพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยในประเทศไทย
การสร้างวัฒนธรรมการเมืองไทย 4.0 โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยได้แก่1)มีวิถีประชาธิปไตยคือเกิดการรวมกลุ่มมีพลังในทางการเมือง 2)มีสิทธิพลเมืองคือสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ในทางการเมืองเศรษฐกิจสังคม และ3)มีส่วนร่วมคือมีส่วนร่วมทางการเมืองเพราะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
ทั้งนี้ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาการเมืองระบอบประชาธิปไตยโดยมีธรรมาภิบาลการเมืองการบริหารการยุติธรรมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีกษัตริย์เป็นประมุข
สภาพคนไทย วัฒนธรรมปัจเจกชนตัวใครตัวมัน อำนาจนิยมสยบต่ออำนาจ ไม่สนใจมีส่วนร่วมการเมือง อันมีผลกระทบวิถีชีวิตคนไทย ซึ่งการไม่สนใจการเมืองนี่เป็นจุดอ่อนคนไทย ที่ขาดพลังทางการเมืองต่อรองกับผู้มีอำนาจ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศและประชาชน
การเมืองประเทศไทย ควรต้องมีการพัฒนาวัฒนธรรมการเมืองเป็นเบื้องต้นจากวัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้าเป็นแบบวิถีประชาธิปไตย จึงจะสามารถพัฒนาการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยสากล มีกษัตริย์เป็นประมุขที่รัฐบาลโดยประชาชน ของประชาชน เพื่อประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น