การเมืองประเทศไทย ภายหลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 เปลี่ยนแปลงการปกครองจากการปกครองระบอบราชาธิปไตยเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นเวลา 85 ปี แต่ทำไมการเมืองประเทศไทยไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเปรียบเทียบการเมืองระบอบเผด็จการกับระบอบประชาธิปไตย มีความแตกต่างที่พื้นฐานทางความคิดเกี่ยวกับการมองสภาวะธรรมขาติของมนุษย์ แล้วผลออกมาเป็นการสร้างรูปแบบรัฐ ในการปกครองประเทศ
การเมืองระบอบเผด็จการ มีการมองแบบทุทรรศนีย์คือมองโลกในแง่ร้ายไม่เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนูษย์ เป็นสภาวะสงคราม ประชาชนทุกคนต้องเชื่อฟังและทำตาม ความขัดแย้งเป็นการบ่อนทำลายถือว่าเป็นศัตรูแห่งรัฐ สร้างแนวความคิดเชิงเดียว ไม่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารรัฐประชาชนไม่มีส่วนร่วมตัดสินใจในชะตากรรมของประเทศ
การเมืองระบอบประชาธิปไตย มีการมองแบบสุทัศนีย์คือมองโลกในแง่ดีเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติตามกฏกติกาในสังคม ยอมรับความคิดหลากหลายและความขัดแย้งเป็นพัฒนาการสร้างนวตกรรทางความคิด ประชาชนมีสิทธิเสนอความเห็นต่อรัฐ และรับฟังความคิดเห็นในการบริหารรัฐ ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจในชะตากรรมของประเทศ
วัฒนธรรมทางการเมืองไทย สังคมไทยมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่โบราณแบบปัจเจกชนนิยม ไม่รวมกลุ่ม มีความเคารพเชื่อฟังต่อผู้อาวุโสและผู้มีอำนาจในสังคม มีการแบ่งแยกชนชั้น เป็นข้อจำกัดทางสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ของสังคมไทย ซึ่งกลายเป็นปัจจัยทางการเมืองคือวัฒนธรรมทางการเมืองอำนาจนิยมแบบชนชั้น ขัดแย้งกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เป็นพหุนิยม มีการรวมกลุ่ม เคารพในศักด์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประกอบกับการวางแผนสืบทอดอำนาจต่อเนื่องยาวนานของระบอบอำนาจนิยมเพื่อเป็นการขัดขวางพัฒนาการต่อเนื่องของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ภายใต้วงจรการเมืองที่เรียกว่า "วงจรอุบาทว์ทุก 4 ปี" โดยใช้กองทัพควบคุมอำนาจการบริหารการปกครองประเทศ จนกระทั่งปัจจุบัน จึงมีคำกล่าวว่า ประเทศไทยทันสมัยแต่ไม่พัฒนา เป็นการก้าวไม่ทันยุคโลกาภิวัตน์ ศตวรรษที่ 21
ประเทศไทยไม่อาจพัฒนาการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ภายหลังปฏิวัติ 2475 ระบอบอำนาจนิยมทหาร (อมาตยาธิปไตย) จึงยังอยู่ไม่ตายในประเทศไทยเป็นแห่งเดียวในโลกปัจจุบัน แต่เผด็จการทหารในไทยไม่เคยประสบความสำเร็จในการบริหารรัฐ ปัญหาในการบริหารรัฐคือ การบังคับใช้อำนาจไม่ให้ความสำคัญต่อหลักนิติธรรมตามกระบวนการกฏหมายซึ่งเป็นเสาหลักธรรมาภิบาลบริหารรัฐ ไม่เห็นความสำคัญของสาธารณะคือความยุติธรรมแก่ประชาชน ไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน อันไม่อาจสร้างพลังอำนาจแห่งชาติและความยั่งยืนในการพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนความมั่นคงและผาสุกให้แก่ประชาชน ไม่สามารภพัฒนาก้าวทันนานาประเทศ และมีปัญหาสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากล สหประชาชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น