+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาการเมืองประเทศไทย


การเมืองประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ฉบับอำมาตย์ ซึ่งยกร่างโดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯที่เป็นตัวแทนคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ประกาศใช้มาจนกระทั่งปัจจุบัน แต่ปรากฏว่ามีปัญหาเชิงโครงสร้างทางการเมืองกล่าวคือฝ่ายอนุรักษ์นิยมอมาตยาธิปไตยกลับไม่ยอมรับกฏเกณฑ์เสียงข้างมากตามหลักการประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และการออกแบบโครงสร้างอำนาจหน้าที่ทางการเมืองให้องค์อิสระเป็นตัวแทนคณะรัฐประหารมีอำนาจควบคุมเหนือองค์กรการเมือง  ทำให้ขาดการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจการเมืองตามทฤษฏีแบ่งแยกอำนาจของมองแตสกิเออร์  เป็นเหตุให้เกิดการก้าวก่ายอำนาจทางการเเมือง ส่งผลต่อ ปัญหาวิกฤตการเมือง และสร้างความแตกแยกให้คนในสังคมอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองประเทศไทย

ปัญหาวิกฤตการเมืองประเทศไทย ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยพรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่ยอมรับเสียงข้างมากโดยชอบธรรมตามหลักการประชาธิปไตย ก่อความโกลาหลปั่นป่วนทั้งในสภาและก่อม็อบบนท้องถนน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ประกาศพระราชกฤษฏีกาให้ยุบสภาผู้แทนราษฏรวันที่   9 ธันวาคม  2556  และกำหนดให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เห็น่ว่า มีปัญหาประเทศไทยมีวิกฤตในเรื่องหลัก 3. ด้าน คือ
.. 
1.ปัญหาด้า่นการเมืองโครงสร้างการเมือง การขาดความสมดุลในโครงสร้างอำนาจหน้าที่ระหว่างสถาบันทางการเมืองกับสถาบันการเมืองและสถาบันการเมืองกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และการเชื่อมโยงสถาบันและองค์กรดังกล่าวกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน
2. ปัญหาด้านสังคมระบบอำนาจนิยมและความยุติธรรมในสังคม เกิดจากวัฒนธรรมทางการเมือง มีที่มาจากพื้นฐานวัฒนธรรมดั้งเดิมแบบปัจเจกชนนิยมของสังคม ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมถ่างกว้างขึ้นทางชนชั้นในสังคมไทย
3.ปัญหาด้านเศรษฐกิจภาวะความเหลื่อนล้ำทางเศรษฐกิจ สังคมไทยตกอยู่ในภาวะรวยกระจกจนกระจายกับการกระจุกตัวของอำนาจอย่างไม่ได้สัดส่วน ก่อให้เกิดปัญหาส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและจัดสรรทรัพยากรด้านพลังงานอย่างไม่เป็นธรรมให้แก่ประชาชน

ทางออกจากปํญหาการเมืองของประเทศไทย คือ การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับอำมาตย์ โดยการตั้ง สสร ตามมาตรา 291 ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ีมีที่มาจากประชาชน และเนื้อหาที่มีการจัดสมดุลแห่งอำนาจตามทฤษฏีการแบ่งแยกอำนาจการเมือง ตามหลักการในระบอบประชาธิปไตย

ปฏิรูปประเทศปฏิรูปการเมือง ประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น