+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รัฐธรรมนูญโครงสร้างการเมืองประเทศไทย


โครงสร้างการเมืองประเทศไทย รัฐธรรมนูญเป็นการกำหนดโครงสร้างการเมืองประเทศโดยปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับที่ 18 แบับอำนมาตย์ ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550โดยคณะรัฐประหาร 19 กันยายน  2549  ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2540 ฉบับประชาชน เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดของประเทศไทย

องค์กรการเมืองประเทศไทย  รัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ กล่าวโดยสรุป ดังนี้
รัฐธรรมนูญ  ที่ผ่านๆมา ก่อน 2540 บัญญัติให้รัฐสภามี 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฏรมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน เป็นฝ่ายประชาธิปไตย วุฒิสภามาจากการแตงตั้ง โดยมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการฯ ประกอบด้วย ผู้นำเหล่าทัพ นายทหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุติอื่นๆ เป็นฝ่ายอมาตยาธิปไตย

รัฐธรรมนูญ 2540 บัญญัติให้รัฐสภามี   2 สภา คือสภาผู้แทนราษฏรมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ทำให้ผู้นำเหล่าทัพ นายทหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุติอื่นๆ ไม่มีที่นั่งทางการเมืองในรัฐสภา

รัฐธรรมนูญ 2550 บัญญัติให้รัฐสภามี  2 สภา คือสภาผู้แทนราษฏรมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน และแต่งตั้งโดยคณะกรรมการสรรหาฯ สัดส่วน 50/50 ถ้าแก้ไขให้วุฒิสภามีที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ทำให้บุคคลดังกล่าวข้างต้นไม่มีที่นั่งทางการเมืองในรัฐสภา ที่สำคัญ กระทบต่ออำนาจระดับสูง

ปัญหาวิกฤตการเมืองไทย  ผู้เขียนเห็น่ว่าเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญในเชิงโครงสร้าง มีปัญหา  2 เรื่อง คือ เรื่องแรก ปัญหาความสมดุลโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ ของสถาบันทางการเมือง กับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และอำนาจอธิปไตยของปวงชน เรื่องที่สอง ปัญหาระบบอำนาจนิยมและความยุติธรรมในสังคมเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองมีพื้นฐานจากวัฒนธรรมไทยทำให้ขาดการจัดสรรสมดุลอำนาจทางการเมืองให้แก่กลุ่มต่างๆในสังคมประเทศไทย

การเมืองในประเทศไทย มีพื้นฐานระบบอำนาจนิยม ที่ประชาชนไม่มีสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคในทางการเมืองแต่ในปัจจุบันประชาชนมีจิตวิญญาณเสรี รู้ในสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคในทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น