+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิกฤตการเมือง วิกฤตประเทศไทย



ปัญหาวิกฤตทางการเมืองในประเทศไทย ก่อให้เกิดผลกระทบในภาพกว้างต่อ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศและทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนยิ่ง ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าที่มาของปํญหาคือรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับอำมาตย์ ภายใต้รัฐประหาร 19 กันยายน 2549

วิกฤตการเมืองวิกฤตรัฐธรรมนูญ2550 เป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญประเทศไทยระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยม กับฝ่ายประชาธิปไตย กล่าวโดยสุรป ดังนี้

1. ที่มา มาจากเผด็จการอมาตยาธิปไตยโดยการทำรัฐประหาร มิใช่มีที่มาจากเสียงส่วนใหญ่โดยชอบธรรมของประชาชนตามวิถีระบอบประชาธิปไตย

2. เนื้อหาไม่เป็นไปตามหลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน และหลักการแบ่งแยกอำนาจ ตรวจสอบและถ่วงดุล ตามหลักการประชาธิปไตย แต่กลายเป็นการสืบทอดอำนาจรัฐประหารเผด็จการอมาตยาธิปไตย

3. ทำให้เกิดปัญหาความยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำของชนชั้นถ่างกว้างยิ่งขึ้น การแข่งขันทางการเมือง กลายเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นของคนในสังคม

4.กลุ่มการเมืองฝ่ยอนุรักษ์นิยมไม่ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์เสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้

5. นับวันคนในชาติจะแตกแยกขาดความสร้างสรรค์สามัคคีกัน ขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้นในสังคมไทย จนอาจกลายเป็นเหตุที่ไม่พึงปรารถนาของคนในชาติ ไม่อยากเห็นการแตกแยกล่มสลายในประเทศไทย

ทางออกจากวิกฤตการเมือง ผู้เขียนเห็นว่า เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตรัฐธรรมนูญ วิกฤตการเมืองไทย และเกิดความสมานฉันท์ในประเทศบนหลักการ ประชาชน ควรมีสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ตามวิถีระบอบประชาธิปไตย  คือ

1. ควรร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย สสร. ซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
2. ให้เป็นรัฐธรรมนูญมี ที่มาและเนื้อหา เป็นไปตามหลักการระบอบประชาธิปไตย
3. ออกแบบโครงสร้างรัฐธรรมนูญจัดสมดุลแห่งอำนาจการเมือง ให้แก่กลุ่มการเมืองต่างๆ ได่แก่ สถาบัน กลุ่มทหาร กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนักการเมือง และประชาชน

ในสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยขณะนี้ ด้วยบทบัญญัติของรํฐธรรมนูญ 2550 ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจเกินกว่าที่บัญญํธติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้รัฐสภาเสียงข้างมากไม่สารมารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 

รัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ได้ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฏร โดยได้มีประกาศพระราชกฤษฏีกาให้ยุบสภาผู้แทนราษฏร และให้กำหนดวันเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร  เป็นการทั่วไป ในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 25557

นายกฯหญิงทิ้งไพ่การเมืองยุบสภายุติด้วยเสียงมหาชนในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น