ปฏิรูปการเมืองปฏิรูปประเทศไทย คือการออกแบบโครงสร้างการเมืองการปกครองประเทศ โดยคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานของสังคมไทยกับปัจจัยสังคมโลกาภิวัตน์ การปฏิรูปการเมือง เป็นพื้นฐานการพัฒนาในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย
การปฏิรูปประเทศไทย แนวคิดของผู้เขียน เป็นการปฏิรูปในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ดังสมการ-:
การปฏิรูประเทศ = การเมือง (ราชาธิปไตย+เสรีประชาธิปไตย) + เศรษฐกิจ (พอเพียง+ก้าวหน้า) + สังคม(ไม่แบ่งชนชั้น+เท่าเทียมกัน)
การปฏิรูปประเทศไทยไม่ควรลืมรากเหง้าทางด้านประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นจิตวิญญาณของประเทศ สามารถถอดสมการปฏิรูปประเทศ ตามแนวคิดของผู้เขียนได้ดังนี้
การปฏิรูประเทศ = การเมือง (ราชาธิปไตย+เสรีประชาธิปไตย) + เศรษฐกิจ (พอเพียง+ก้าวหน้า) + สังคม(ไม่แบ่งชนชั้น+เท่าเทียมกัน)
การปฏิรูปประเทศไทยไม่ควรลืมรากเหง้าทางด้านประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นจิตวิญญาณของประเทศ สามารถถอดสมการปฏิรูปประเทศ ตามแนวคิดของผู้เขียนได้ดังนี้
ปฏิรูปด้านการเมือง เป็นการเมืองแบบทางสายกลาง คือปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แม้ว่าหลักการของมองแตสกิเออร์ "การตรวจสอบและถ่วงดุล"ของอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจ คือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ เป็นหลักปฏิบัติในการเมืองระบอบประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงตามปัจจัยพื้นฐานของสังคมไทยจะต้องมีการจัดสรรสมดุลทางการเมืองให้แก่กลุ่มการเมืองต่างๆ ได้แก่ สถาบัน กลุ่มกองทัพ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนักการเมือง และกล่มประชาชน ซึ่งตามโครงสร้างของอำนาจ แบ่งเป็น 7 ฝ่าย ประกอบด้วย สถาบันกษัตริย์ ผ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายข้าราชการ องค์กรอิสระ และประชาชน โดยกำหนดไว้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ
ปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ เป็นการรวม แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดเศรษฐกิจก้าวหน้าแบบ (Dual Track) จะสามารถสร้างความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ระดับรากหญ้าปัจเจกชน ชุมชน และประเทศ พร้อมทั้งการสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจภายในประเทศกับการส่งออกสินค้าซึ่งเป็นแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ในส่วนนี้ดำเนินการได้โดยกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาล
ปฏิรูปด้านสังคม เป็นการไม่แบ่งชนชั้นไม่สองมาตรฐาน บนหลักการสิทธิ เสรีภาพและเสมอภาค ในด้านการเมืองการปกครอง การบังคับใช้กฏหมาย การอำนวยความยุติธรรมที่เสมอภาค เท่าเทียมกันตามกฏหมาย การให้และรับบริการแก่ประชาชน การพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยภาครัฐ
การปฏิรูปประเทศไทยในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ควรอยู่บนแนวคิดหลักการหลอมรวมจิตวิญญาณแห่งโลกเก่ากับจิตวิญญาณโลกใหม่ เป็นจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย คือจิตวิญญาณประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น