+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน ตอนที่3


การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ2540(3)  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 นอกจากจะมีการใช้ความรู้ในทางวิชาการออกแบบเป็นรัฐธรรมนูญที่มี ที่มา ชอบธรรม และเนื้อหา เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยแล้ว ยังมีหลักการเสริมสร้างให้พรรคการเมืองเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ และชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพบริหารประเทศ และได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีฉบับหนึ่งของโลก กล่าวได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

การเมืองการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ2540 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 มี 3 ครั้งใหญ่ๆ กล่าวสรุป โดยสังเขปได้ ดังนี้

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 6มกราคม 2544 นับว่าเป็น การเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งแรกในระบบใหม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540ซึ่งแบ่งเป็นระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งอีก400คน หนึ่งเสียงเลือกหนึ่งคน พรรคไทยรักไทย ได้รับคะแนนรวม 11,634,495คะแนน พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนรวม 7,610,789 คะแนน พรรคไทยรักไทยได้เสียงข้างมาก248คน จัดตั้งรัฐบาล โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่2จากผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6กุมภาพันธ์ 2548 ด้วยคะแนนเสียงอันเป็นประวัติศาสตร์กว่า 19 ล้านเสียง โดยได้ตำแหน่ง ส.ส.ในสภาจำนวน 376 คน แต่ต้องยุบสภา เพราะเกิดวิกฤต ทั้งๆที่มีเสียงข้างมากที่สุด

ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่2เมษายน 2549 พรรคไทยรักไทย ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ 18,993,073เสียง แต่ถูกบอยคอตการเลือกตั้ง โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ และมวลชนที่จัดตั้ง และถูกกล่าวหาว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงเลือกตั้ง เพราะหลีกเลี่ยงกฎ20%ตามรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่า ถ้ายังเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ2540ต่อไป ก็ไม่อาจได้เสียงข้างมาก และไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลของฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำมาตยาธิปไตย

กลุ่มอำมาตยาธิปไตยที่มีพลังอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เหนือกว่าฝ่ายประชาธิปไตย ได้กระทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ ยึดอำนาจจากรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทยสมัยที่3 ล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2540 แล้วได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการตั้งสภาร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งที่มาและเนื้อหาไม่ชอบธรรมตามหลักการประชาธิปไตย ไม่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ระบบพรรคการเมือง ทำให้ไม่มีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพในการบริหารประเทศ แต่กลับสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบอำมาตยาธิปไตย และสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร เป็นรัฐธรรมนูญฉบับอำมาตยาธิปไตย

การเมืองการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2550  การเลือกต้้งสมาชิิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไปวันที่ 23 ธันวาคม 2550 แบ่งเป็นแบบสัดส่วน 80 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง400คน หนึ่งเสียงเลือกหลายคน พรรคไทยรักไทยภายใต้ชื่อใหม่ คือพรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนเสียงข้างมากกลับมาเป็นรัฐบาล ได้คะแนนรวม กว่า12ล้านคน มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ให้ขาดคุณสมบัติพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ต่อมาเกิดรัฐประหาร 2 ธันวาคม 2551 โดยคณะทหารออกทีวีจี้ให้นายกรัฐมนตรียุบสภาหรือไม่ก็ลาออก และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย กรณีอัยการสูงสุด มีคำร้องให้ยุบพรรคพลังประชาชน ต่อมาได้จัดตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มอำมาตยาธิปไตย เป็นเหตุให้เกิดวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองของประชาชน ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายอำมาตยาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร เมื่อ พ.ศ.2544 พ.ศ. 2548 พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2550 รวม 4 ครั้ง เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ฝ่ายประชาธิปไตย ได้รับเลือกตั้งเสียงข้างมาก เหนือกว่าฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำมาตยาธิปไตย เป็นชัยชนะทางการเมืองในทางรัฐสภาของฝ่ายประชาธิปไตย เป็นชัยชนะของประชาชน

ประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตยของประชาชน เป็นข้อมูลความรู้ เชิงประจักษ์ว่า การต่อสู้ทางรัฐสภา ภายใต้สภาวะที่มวลมหาประชาชนคนเสื้อแดงเป็นรองในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม 

โอกาสแห่งชัยชนะในทางการเมืองของประชาชนนั้น ประชาชนต้องเขียนประวัติศาสตร์ให้ตนเอง เป็นความรู้เกี่ยวกับพลานุภาพการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนให้ลูกหลานในอนาคต




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น