ความรู้การเมืองประชาธิปไตยของไทย การปฏิวัติ2475โดยคณะราษฏร์ เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475 นับแต่นัั้นเริ่มต้นมาประชาธิปไตยในประเทศไทยก้าวไปไม่ถึงปลายทาง จากปราฏการณ์ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ยาวนานทำให้ประชาชนมีความรู้ว่า การเข้าควบคุมอำนาจทางการเมืองของกลุ่มชนชั้นนำเป็นวงจรพิเศษทางการเมืองวนเวียนไม่สิ้นสุด รัฐประหาร รัฐบาลโดยคณะทหาร ร่างรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ทำให้เกิดการสะดุดหยุดลง และขาดการสืบเนื่องการพัฒนาการเมืองระบอบประชาธิปไตย
การรัฐประหารโค่นประชาธิปไตยในไทย ตั้งแต่ 2475 - 2552 รัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล 14 ครั้ง เฉลี่ย 6 ปีต่อครั้ง จะเกิดจากคณะทหารเป็นแกนหลัก บางครั้งก็แย่งอำนาจซึ่งกันและกัน เพราะการเมืองเป็นเรื่องการจัดสรรพลังอำนาจและผลประโยชน์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ยังมีการแบ่งชนชั้นระหว่าง อภิสิทธิ์ชนกับสามัญชนในสังคมไทยเป็นการต่อสู้ทางแนวคิดแนวคิดเก่าอนุรักษ์ นิยมอำมาตยาธิปไตยเป็นผู้ควบคุมพลังอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม กับแนวคิดก้าวหน้าประชาธิปไตยของประชาชนซึ่งประชาชนเป็นผู้ควบคุมพลังอำนาจ ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม มาเคียเวลลีนักทฤษฎีการเมืองกล่าวว่า เมื่อประชาชนได้รผลประโยชน์ก็จะทำให้ชนชั้นนำเสียผลประโยชน์ เป็นการแบ่งปันส่วแบ่งที่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจในระบอบประชาธิปไตย
ความรู้ประชาธฺิปไตยพลานุภาพประชาชน เหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 มีความสำคัญต่อการต่อสู้ทางการเมืองเป็นพลานุภาพประชาชนประชาธิปไตยในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ในการชุมนุมต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของขบวนการนักศึกษาและประชาชนนับแต่รัฐ ประหารโดยคณะทหาร 2500 โดยมีขบวนการนักศึกษา เป็นแนวหน้า มีนักศึกษาและประชาชนกว่า 5 แสนคนทั่วประเทศ รวมพลังแสดงพลานุภาพในการเดินขบวนประท้วงจากสนามหลวงถึงลานพระราชวังดุสิต ถนนราชดำเนิน ดุจสายน้ำหลั่งไหลถะถั่งโถมหนุนเนื่องไม่ขาดสายซึ่งมีข้อเรียกร้องรัฐ ธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย แต่รัฐบาลกลับสั่งใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธร้ายแรงปราบปราบโดยวิธีรุนแรง มีผู้เสียชีวิตนับร้อยคน บาดเจ็บและสูญหายนับพันคน ผลการต่อสู้ครั้งนี้เป็นชัยชนะของประชาธิปไตย ในที่สุดผู้นำรัฐบาลถูกขับออกนอกประเทศ และมีรัฐบาลพระราชทาน และตั้งสมัชชาแห่งชาติ ร่างและประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ 2517 ผู้เขียนเห็นว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยฉบับหนึ่ง ที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศไทย
ประวัติศาสตร์ความรู้พลานุภาพประชาธิปไตย ชัยชนะของประชาชนในทางการเมือง 14 ตุลา 16 นี่เป็นชัยชนะของประชาธิปไตยครั้งสำคัญป็นครั้งแรกครั้งเดียวในการเมืองไทย ที่ขบวนนักศึกษาประชาชน แสดงพลานุภาพอันยิ่งใหญ่ของมวลชนและประชาชนประชาธิปไตย ในการต่อสู้ทางการเมืองโดยวิธีสันติ ไร้ความรุนแรง จนได้รับชัยชนะ ต่อฝ่ายอนุรักษ์นิยมอมาตยาธิปไตย
ประชาชนควรได้มีความรู้ว่าพลานุภาพของประชาชนเป็นชัยชนะของประชาธิปไตย
ประชาชนควรได้มีความรู้ว่าพลานุภาพของประชาชนเป็นชัยชนะของประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น