ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยบทที่ 11 ความรู้ยุทธวิธีการเมือง พิชัยสงคราม กล่าวว่าศิลปะแห่งการทำสงคราม เน้นหนักเป็นฝ่ายกระทำ แพ้ชนะในสงครามตัดสินกันที่ ตรงนี้ จะต้องมีความรู้ในยุทธศาสตร์ยุทธวิธีเป็นฝ่ายรุกและรับในการดำเนินสงคราม
ความรู้ยุทธวิธีทางการเมือง ถางกง กล่าวว่า ยุทธวิธี 36 ยุทธวิธี แบ่งเป็น ยุทธวิธีรุกและยุทธวิธีรับ ได้แก่
ยุทธวิธีรุก ในสภาวะภาวะได้เปรียบ มี 3 ส่วน ชุดละ 6 ยุทธวิธี ได้แก่ ชุดที่ 1 เพื่อการชนะศึก ชุดที่ 2 เพื่อการเผชิญศึก ชุดที่ 3 เพื่อการโจมตี
ยุทธวิธีรับ ในสภาวะเสียเปรียบ มี 3 ส่วน ชุดละ 6 ยุทธวิธี ได้แก่ ชุดที่ 4 เพื่อการติดพัน ชุดที่ 5 เพื่อการต่อด้าน ชุดที่ 6 เพื่อการอยู่รอด
ความรู้ยุทธศาตร์ประชาธิปไตย การดำเนินยุทธวิธี เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในการปฏิบัติยุทธวิธี แนวทางปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ มี 2แบบ คือ แบบธรรมดา เป็นแบบทางตรง และเปิดเผยในสภาวะได้เปรียบในด้านมวลชนและรูปการณ์ทางการเมือง และแบบพิสดาร เป็นแบบทางอ้อมและปิดลับในสภาวะเสียเปรียบในด้านจำนวนมวลชนและรูปการณ์ทางการเมือง ทั้งสองแบบแบ่งเป็นยุทธวิธีรุก และยุทธวิธีรับหรือป้องกัน ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติ
เมื่อได้ผลสรุปจากประเมินสถานการณ์เบื้องต้นคือจุดอ่อนจุดแข็ง อุปสรรคโอกาส จะต้องมีการวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์ ประสานยุทธวิธีรุก และป้องกันในแบบธรรมดาและแบบพิศดารพลิกแพลงตามสถานการณ์ โดยหลักอ่อนพิชิตแข็ง หรือแข็งพิชิตอ่อน หรือรวมอ่อนและแข็ง ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์
การประยุกต์ใช้พิชัยสงครามด้วยความรู้ยุทธศาตร์ประชาธิปไตยในการดำเนินยุทธวิธีจะต้องประสานสอดคล้อง ธรรมดาและพิศดาร พร้อมรุกและรับดั่งฟ้าดินหมุนเวียนกันแปรเปลี่ยนไม่สิ้นสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น