+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับการเมืองประเทศไทย




เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับการเมืองประเทศไทย ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 19.00 น.รัฐบาลไทยโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แถลงการณ์ต่อประชาชนว่า "พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชอาณาจักรไทย ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม  2559 เวลา 15.52 นั้น โดยที่ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์  2467 ตามประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2515 ไว้แล้ว รัฐบาลไทยจึงได้กราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ แห่งพระบรมมหาราชจักรีวงศ์สืบไป บัดนี้ ได้สิ้นสุดรัชสมัยของสมเด็จพระภัทรมหาราชแล้ว ขอสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลใหม่ ทรงพระเจริญ" พระองค์ทรงเป็นพ่อของแผ่นดิน ช่างโศกสลดในใจของชาวไทย

ประเทศไทยเริ่มรัชสมัยรัชกาลใหม่ ที่ 10 ตั้งแต่ 13 ตุลาคม 2559 จะเรียกพระนามเดิมสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมารไม่ได้แล้ว เรียกพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์"หลังจากเสร็จสิ้นพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ในระยะเวลา 1 ปี จะมีพระราชพิธีราชาภิเษกครองราชย์สืบสันตติวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ เฉลิมพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์"..... ตามที่พระองค์ได้ทรงตรัสอธิบายความต่อนายกรัฐมนตรี ว่า" กรณีของรัชกาลที่ 9 เป็นตัวอย่าง ท่านขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลงพระปรมาภิไธยในทุกอย่างได้เบ็ดเสร็จในวันที่รัชกาลที่ 8 สวรรคต พอสามทุ่มท่านก็เป็นพระมหากษัตริย์ และวันนั้นก็นับเป็นวันที่ 1 ปีที่ 1 ของรัชกาล แต่ต้องเรียกท่านว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ให้เรียกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ท่านเป็นพระมหากษัตริย์.... แล้วท่านก็กลับไปเรียนต่อ ผ่านไป 4 ปี ท่านศึกษาจบและเสด็จกลับประเทศไทย จึงมีการถวายพระเพลิง จากนั้น ตามด้วยการมีพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 หรือที่เรียกว่า วันฉัตรมงคล และถือเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่บัดนั้น ความเป็นจริงเราบอกว่า ทรงครองราชย์ 70 ปี เราไม่เคยนับจากวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 แต่เรานับจากวันที่ 1 ปีที่ 1 ซึ่งก็คือ 9 มิถุนายน 2489........ เพราะฉะนั้น ในกรณีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่(คือพระองค์)ก็จะเกิดตามหลักเดียวกัน"

มันเป็นหน้าที่รับผิดชอบของรัฐบาลที่จะต้องรู้และรับสนองตามพระราชดำรัสฯปฏิบัติให้ถูกต้องโปร่งใสตามกฏมณเฑียรบาล รัฐธรรมนูญ ราชประเพณี.....กรณีไม่รับสนองพระดำรัสฯถือว่าเป็นอะไร?

นวงการเมืองประเทศไทยเป็นที่ทราบดีของประชาชนว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกูราชกุมาร พระองค์ทรงมีแนวคิดแนวโน้มการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุบ ต่างจากกลุ่มเชื้อพระวงศ์และกลุ่มอำนาจและกลุมทุนและกลุ่มการเมืองอนุรักษ์นิยมที่ยึดมั่นในระบอบอำนาจนิยมอมาตยาธิปไตย ทำให้มีปัญหาเห็นต่างและขัดแย้งในเชิงอำนาจการปกครอง ส่งผลต่อการเมืองในอนาคตของประเทศไทย

การสืบราชสันตติวงศ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมารในฐานะองค์รัชทาบาทสมบูณ์ตามกฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์2467 การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเข้าอยู่หัวพระองค์ใหม่สมบูรณ์ตามกฏมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ 2467 ประกอบกับ มาตรา 23 แห่ง รธน.2550 ประกอบกับรัฐธรรนูญชั่วคราว; 2557 ในกรณีนี้ศักดิ์ของกฏหมายตามกฏมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ 2467 ซึ่งเป็นราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ย่อมเหนือกว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราว2557 ประกอบรัฐธรรมนูญ 2550 กรณีที่อาจมีบทบัญญัติบางส่วนขัดต่อโบราณราชประเพณี

รัฐธรรมนูญของประเทศไทย ฉบับที่สมบูรณ์ และ โลก ยอมรับ กับ เรา ในการโหวต ในคณะ ILC หรือ International Law Commission ของ องค์การสหประชาชาติ คือ "รัฐธรรมนูญ ฉบับประกาศ และ บังคับใช้ ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ หรือ ปี ค.ศ. 1932" ที่มีเสียงโหวตจาก "คณะกรรมาธิการคณะนี้ ที่มีอยู่ ๕ คน ด้วยคะแนนเสียง ๕ ต่อ ๐" เป็นเอกฉันท์ รัฐธรรมนูญในฉบับต่อๆมา ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ แม้จะเรียกตัวเองว่า "รัฐธรรมนูญ ก็ไม่ใช่ รัฐธรรมนูญ" เพราะล้วนแล้วแต่ มีบทบัญญัติ ที่ไปขัดกับ Grand Norms ที่ประกาศเอาไว้ ในเวลาเริ่มแรก ที่ระบอบประขาธิปไตย เกิดการลงหลักปักฐานลง ในประเทศนี้ รัฐธรรมนูญ นั้น เป็นเพียงเครื่องมือของ ระบอบในการปกครอง หรือ Regime เท่านั้น

การเปลี่ยแผ่นดินใหม่ส่งผลการเมืองประเทศไทย เป็นที่คาดหวังของประชาชนว่า เป็นอรุณรุ่่งแท้จริงของการเมืองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย และได้มีคำทำนายของโหราจารย์โบราณว่าเริ่มรัชสมัยรัชกาลที่10 ชาวศิวิไลซ์ ประชาผาสุก ประเทศรุ่งเรือง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น