+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ชะตากรรมการเมืองประเทศไทย



ความรู้การเมืองในประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองในประเทศไทย การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475  จากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยคณะราษฏรจาก พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน พ.ศ.2557 เวลาผ่านมากว่า  82 ปี และนับตั้งแต่รัฐประหาร 2490 โดยกองทัพเข้าควบคุมอำนาจการปกครอง เป็นต้นมาจนปัจจุบัน การเมืองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ก้าวไปไม่ถึงไหนยังซอยเท้าย่ำสะดุดอยู่กับที่ ด้วยวงจรที่เรียกว่า วงจรรัฐประหารการเมืองไทย เฉลี่ย ทุก 6 ปี อันเป็นการก่อให้เกิดปัญหาการพัฒนาการเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย และปัญหาการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย

การเมืองไทยเริ่มสภาวะวิกฤตประชาธิปไตยในทศวรรษที่ผ่านมา  รัฐบาลพรรคไทยรักไทย มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 มีนโยบายประชานิยมที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ2540ฉบับประชาชนถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดของประเทศไทย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับประโยชน์จากนโยบายประชานิยม หานเฟยกล่าวไว้ว่าเมื่อมีผู้ได้ประโยชน์ย่อมมีผู้เสียประโยชน์  กล่มชนชั้นนำอำนาจนิยมไม่พอใจและคัดค้านนโยบายประชานิยมของรัฐบาล ก่อสถานการณ์สร้างวิกฤตการเมืองในประเทศ ใช้การสื่อสารชี้นำด้วยคำพูดแห่งความเกลียดชังต่อกันสร้างความแตกแยกในสังคมไทย  การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยกองทัพเข้าควบคุมอำนาจการปกครองจากรัฐบาล ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ได้รับความสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองอำนาจนิยม คณะรัฐประหาร(คมช.) จัดตั้งรัฐบาลมีพลเอกสุรยุทธ์ จุฬานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่24 พร้อมคณะรัฐมนตรีบริหารประเทศ ต่อมาประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับอำมาตย์ และจัดให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปทั้งประเทศ

ในการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ2550 ได้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมาจากการเลือกตั้งเสียงข้างมากของประชาชน จัดตั้งรัฐบาลมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 แต่ปรากฏถูกถอดถอนข้อหาฐานกระทำผิดใช้เวลาไปเป็นพิธีกรทำอาหารออกรายการทีวี โดยศาลรัฐธรรมนูญซึ่งข้อกล่าวหานี้มีที่เดียวในโลก จากนั้นพรรคเพื่อไทยมีมติให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 แทนนายสมัคร สุนทรเวช แต่ก็ถูกรัฐประหารเงียบโดยกองทัพและศาลรัฐธรรมนูญ แล้วมีการจัดตั้งรัฐบาลกลุ่มชนชั้นนำที่ได้รับเลือกตั้งเสียงข้างน้อยฝ่ายอนุรักษ์นิยม คือพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล

พรรคประชาธิปัตย์ มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่27 แต่ปรากฏในขณะนั้น กลุ่มมวลชนประชาธิปไตยชุมนุมทางการเมืองโดยสันติวิธี เรียกร้องรัฐบาลให้ยุบสภา คืนอำนาจประชาชน แต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ใช้ความรุนแรงปราบปรามสลายการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากรวมทั้งนักข่าวต่างประเทศ ภายหลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฏาคม 2554

ในการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่3กรกฏาคม2554นั้น ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งได้เสียงขัางมากจากประชาชนในสภาจัดตั้งรัฐบาลมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่28 แม้ชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากจากประชาชนของประเทศเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ ก็ไม่อาจมีอำนาจอย่างเต็มที่ในการควบคุมการเมืองการบริหารและการยุติธรรมได้ตามกฏหมาย ทำให้รัฐบาลขาดเสถีนรภาพทางการเมือง เป็นปัญหาในการบริหารการพัฒนาประเทศ แต่กลุ่มการเมืองชนชั้นนำไม่ยอมรับตวามพ่ายแพ้และกฏเกณฑ์เสียงข้างมากตามหลักการประชาธิปไตย ก่อเหตุสถานการณ์วิกฤตการเมืองในประเทศโดยกลุ่มการเมืองกปปส.พร้อมมวลชนเสื้อสีหลากสีหลายหมื่นถึงแสนและหลายแสนคน รวมพลังชุมนุมทางการเมืองประท้วงขับไล่รัฐบาล มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนพฤษภาคม 2557พร้อมก่อเหตุรุนแรงยึดสถานที่ราชการ ปิดถนนหลายสาย และสังหารประชาชน  รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง เพื่อควบคุมสถานการณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปรากฏว่ากองทัพใส่เกียร์ว่างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาล ศาลและองค์กรอิสระมีปัญหาในการปฏิบัติตามกฏหมาย กลุมกปปส.ถือเป็นโอกาส.ก่อเหตุรุนแรงร้ายแรงขับไล่รัฐบาล เพื่อสร้างเงื่อนไขรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมาก โดยชอบธรรมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย

ต่อมารัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยกองทัพประกาศกฏอัยการศึกล้มล้างรัฐธรรมนูญ2550เข้าควบคุมอำนาจการปกครอง จากรัฐบาลพรรคเพื่อไทย คณะรัฐประหาร (คสช.)จัดตั้งรัฐบาล มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 และคณะรัฐมนตรีบริหารประเทศไทย คณะรัฐประหาร(คสช.) จัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อปฏิรูปประเทศใน 11 ด้าน และยกร่างรัฐธรรมนูญ"ฉบับปฏิรูป"

การออกแบบโครงสร้างการเมืองประเทศไทย การร่างรัฐธรรมนูญ"ฉบับปฏิรูป" ถ้ามีวิตถุประสงค์เพื่อควบคุมอำนาจทางการเมืองของประชาชน ที่มีเนื้อหาขาดการจัดสมดุลอำนาจตรวจสอบและถ่วงดุลขององค์กรการเมือง ไม่แบ่งปันอำนาจและทรัพยากรพลังงานให้แก่ประชาชน ก่อให้เกิดสภาวะความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรมในสังคม จะนำมาซึ่งความขัดแย้งรอบใหม่อย่างรุนแรงทางการเมืองในอนาคต กระทบต่อการพัฒนาในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปจะเป็นตัวกำหนดชะตากรรมการเมืองประเทศไทยในอนาคตว่า จะไปในทิศทางใด ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองถ้าเกิดวิกฤตในประเทศรอบใหม่อย่างนี้เรียกว่าเสียของหรือลดความขัดแย้งทางการเมืองและสร้างความปรองดองในประเทศไทย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น