จังหวะเป็นพลานุภาพของความรู้ในมนุษย์ มีจังหวะของการ พัฒนา รุ่งเรือง ถดถอย ตกต่ำ จบสิ้น นักการเมือง มีจังหวะเป็นพลานุภาพแห่งการตัดสินใจในทางการเมือง จังหวะของชัยชนะ หรือพ่ายแพ้ หรือปรองดอง เป็นความรู้ที่นักการเมืองพึงเรียนรู้ในจังหวะทางการเมือง
ความรู้เป็นพลานุภาพ ในการตัดสินใจต้องมีความรู้ว่าจังหวะคืออะไร มีจังหวะของชัยชนะและจังหวะของพ่ายแพ้ ซึ่งจังหวะของชัยชนะเป็นการกุมอำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ จังหวะของพ่ายแพ้ เป็นการสิ้นอำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ จังหวะของปรองดอง ไม่อาจสามารถเอาชนะได้ของทั้งสองฝ่ายในทางการเมือง จังหวะของการประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ หรือระหว่างสำเร็จและล้มเหลว จังหวะแต่ละจังหวะก็แตกต่างกันออก ไปแต่ละวิถีของสรรพสิ่งจังหวะที่สรรพสิ่งก้าวหน้าไป และจังหวะที่สรรพสิ่งพึงเสื่อมลง และจังหวะเป็นกลาง เป็นเรื่องที่พึงพิจารณาให้เข้าใจและแยกแยะให้ออกในอันที่จะเรียนรู้จังหวะที่เหมาะสม และจำแนกออกจากจังหวะที่ไม่เหมาะสม ที่จะมีความรู้และรู้ความแตกต่าง ท่ามกลางจังหวะของขนาดและ ความเร็วต่างๆ อันไหนเหมาะสม และอันไหนไม่เหมาะสม และจังหวะไหนจะเป็นเหตุให้สถานการณ์พลิกกลับอย่างที่สุด
พลานุภาพนักการเมือง ความรู้ในจังหวะมีความจำเป็นในทางการเมือง นักการเมือง ต้องสามารถกุมจังหวะชีวิตในสังคมการเมือง จังหวะไหน ประสบชัยชนะ จังหวะไหน ประสบพ่ายแพ้หรือจังหวะไหนเมื่องถึงทางตันไม่สามารถเดินหน้าได้ต่อไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและพลังอำนาจของชาติประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น